Distinctiveness Strategy เมื่อ Ford เอาจุดขายเก่ามาเล่าให้ใหม่ จนใครๆก็ว้าว

Distinctiveness Strategy เมื่อ Ford เอาจุดขายเก่ามาเล่าให้ใหม่ จนใครๆก็ว้าว

Distinctiveness Strategy หรือกลยุทธ์การขายของเก่ายังไงให้ใหม่ ในเมื่อสินค้าหรือบริการที่มีอยู่ในมืออาจเป็นเรื่องที่ใครๆก็มีกันมานานแล้ว เหมือนรถยนต์ Ford EcoSport ที่เพิ่งมีระบบ anti-skid หรือป้องกันการลื่นไถลของรถ งานหนักเลยตกอยู่กับเอเจนซี่ที่ต้องหาทางสื่อสารเรื่องธรรมดาให้กลับมาน่าสนใจอีกครั้งครับ

Ford EcoSport รถอเนกประสงค์ขนาดย่อมสำหรับใช้ในเมืองเพิ่งใส่เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่ไม่เคยมีในรุ่นตัวเองเข้ามา นั่นก็คือเทคโนโลยี Anti-Skid ที่สามารถป้องกันการลื่นไถลเวลาที่ต้องเบรกและบังคับทิศทางรถยนต์ไปพร้อมกัน

ปัญหาสำคัญของโจทย์ทางการตลาดของ Ford EcoSport ในครั้งนี้คือ จุดขายที่ใส่เข้ามาใหม่นั้นใหม่สำหรับ Ford EcoSport แต่ไม่ได้ใหม่หรือน่าสนใจอีกต่อไปในตลาดรถยนต์ เพราะใครๆเขาก็มีกันมานานแล้ว

งานนี้จะไปนั่งโทษใครก็ไม่ได้ เพราะรถยนต์ผลิตออกมาพร้อมขายแล้ว ปัญหานี้เลยตกอยู่กับทีมงานการตลาดและเอเจนซี่ (ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นเอเจนซี่มากกว่าทีมงานการตลาด) ที่ต้องหาทางขายจุดขายที่แสนจะธรรมดาในตลาดให้คนสนใจเหมือนใหม่อีกครั้ง

และก็เป็นโชคดีของทีมมาร์เก็ตติ้งที่เอเจนซี่สามารถหาทางออกให้ได้ ด้วยการใช้สิ่งที่คนสนใจอยู่แล้ว สอดแทรกสิ่งที่ต้องการขายเข้าไป จนกลายเป็นแคมเปญการตลาดที่มีชื่อว่า No Squeak Broadcast ครับ

ผมอยากให้คุณดูคลิปวิดีโอแคมเปญ No Squeak Broadcast ข้างล่างนี้ให้จบก่อน แล้วคุณจะร้องอ๋อในทันทีว่าแคมเปญนี้มันฉลาดหลักแหลมอย่างไร

Distinctiveness Strategy: Ford EcoSport – No Squeak Broadcast

คุณจะเห็นว่าแคมเปญ No Squeak Broadcast ของ Ford EcoSport นี้เล่าจุดขาย Anti-Skid ผ่านเรื่องที่แสนจะธรรมดาแต่เราทุกคนกับมองข้าม นั่นก็คือเสียงรองเท้าเบรกเอี๊ยดๆเวลาถ่ายทอดสดบาสเก็ตบอล ด้วยการทำให้มันเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมากขึ้นว่า ในเกมการแข่งขันบาสเก็ตบอลนัดนี้จะมีช่วงสำคัญหนึ่งนาทีที่จะไม่มีเสียงรองเท้าเอี๊ยดๆเหมือนเคย

แล้วเสียงรองเท้าเอี๊ยดๆบนสนามบาสนั้นมันเกี่ยวกับจุดขาย Anti-Skid ที่ป้องกันการลื่นไถลแต่อย่างไร

ก็เพราะเสียงเอี๊ยดๆนี่แหละที่เป็นตัวแทนของการเบรกอย่างกระทันหัน และเสียงเบรกนี้ก็มีความคล้ายคลึงกับเวลาที่รถต้องเบรกแต่อาจไม่สามารถบังคับทิศทางได้อย่างไงล่ะครับ

Distinctiveness Strategy Ford EcoSport - No Squeak Broadcast
Distinctiveness Strategy Ford EcoSport - No Squeak Broadcast

ฟังดูอาจเหมือนแถๆไปหน่อย แต่ดูๆไปผมว่าก็มีความเข้ากันที่ลงตัวไม่น้อยนะครับ และที่สำคัญคือกีฬาบาสเก็ตบอลนี่เป็นกีฬายอดนิยมอันดับ 3 ของคนบราซิล รองจากแค่ฟุตบอลและบาสเก็ตบอลเท่านั้นเองครับ

ดังนั้นด้วยการ Collaboration กันระหว่างบาสเก็ตบอลและ Ford EcoSport ด้วยการเอาบริบทที่ใกล้เคียงกันมาส่งเสริมกัน หรือ Contextual tactics ก็ทำให้คนที่ไม่เคยสนใจฟีเจอร์ที่แสนจะธรรมดาอย่าง anti-skid สามารถหันมาสนใจ Ford EcoSport ได้ไม่ยากจริงๆครับ

ที่สำคัญคือระหว่างการถ่ายทอดสดบาสเก็ตบอลที่ชาวบราซิลชอบดูนั้น อย่างที่ผมบอกว่าจะมีช่วง 1 นาทีที่เสียงเอี๊ยดๆของรองเท้าที่ถูกับพื้นสนามบาสจะถูกดูดออก และในช่วงหนึ่งนาทีนั้นก็จะมีทั้งแบนเนอร์และโฆษกก็ช่วยขายของให้ด้วย บางคนอาจจะบอกว่าน่ารำคาญ แต่สำหรับบางคนก็อาจจะมองว่าน่าสนใจไม่น้อยก็ได้ครับ

ทั้งหมดนี้คือการใช้สิทธิพิเศษของ Ford ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่ เพราะเดิมที Ford ก็เป็น sponsored กีฬาบาสเก็ตบอลและการถ่ายทอดสดให้คนบราซิลอยู่แล้วครับ ดังนั้นแคมเปญนี้ของ Ford ถือว่าเป็นการใช้ asset เดิมที่มีได้อย่างคุ้มค่ามาก เพราะไหนๆก็จ่ายเงินค่า sponsored ไปตั้งเยอะแล้ว จะมัวแค่เอาป้ายโลโก้แบรนด์ตัวเองติดไว้ข้างสนามอย่างเดียวทำไมจริงมั้ยครับ

สุดท้ายคุณจะเห็นว่า บางอย่างที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวกันมาก่อน อย่างกีฬาบาสเก็ตบอล กับระบบ anti-skid ในรถยนต์ Ford EcoSport ยังสามารถเข้ากันได้ดีแบบนี้ การตลาดในวันนี้จะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่าย ขึ้นอยู่กับว่าใครมองเห็นโอกาสใหม่ๆจากเรื่องธรรมดาที่ทุกคนมองข้ามกันมาตลอดเหมือนกันครับ เหมือนที่ Ford EcoSport มองเห็นจนกลายเป็นแคมเปญ No Squeak Broadcast นี้ และนี่คือกลยุทธ์แบบ Distinctiveness Strategy ครับ

Distinctiveness Strategy Ford EcoSport - No Squeak Broadcast
Distinctiveness Strategy Ford EcoSport - No Squeak Broadcast

อ่านแคมเปญการตลาดของรถยนต์อื่นๆต่อ https://www.everydaymarketing.co/category/business/automobile/

Source: https://campaignsoftheworld.com/technology/ford-ecosport-no-squeak-broadcast/

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่