Filter Bubble สื่อสารกับ Gen Millennium อย่างไรให้ปัง

Filter Bubble สื่อสารกับ Gen Millennium อย่างไรให้ปัง

ช่วงนี้เราจะเห็นกระแสการปกป้องข้อมูล หรือการรั่วไหลของข้อมูลกำลังเป็นประเด็นไปทั่วโลก ไม่ว่าจากทั้ง Cambridge Analytica หรืออื่นๆ รวมถึงปัญหา Filter Bubble ที่ตามมาจากการใช้อินเทอร์เน็ต

ว่าแต่ Filter Bubble คืออะไร ต้องขออธิบายตรงนี้ก่อน

Fiter Bubble คือยิ่งคุณเล่นเน็ตมากเท่าไหร่ เล่นโซเชียลมีเดียมากเท่าไหร่ บรรดา google หรือ facebook ก็จะยิ่งรู้จักคุณมากขึ้นครบ ทีนี้พอเค้ารู้แล้วว่าคุณชอบอ่านเรื่องแบบไหน หัวข้ออะไร หรือกดไลก์ คอมเมนท์ แชร์ กับเพื่อนหรือดาราคนไหน คุณก็จะยิ่งเห็นสิ่งเหล่านั้นมากขึ้นเรื่อยๆ มันทำเวลาคุณกลับมาเข้าอินเทอร์เน็ตอีกครั้ง ไม่ว่าจะเล่นเวป หรือเฟซบุ๊กก็ตาม คุณก็จะเห็นแต่สิ่งที่คุณชอบมากขึ้นเท่านั้น

Filter Bubble
Filter Bubble

เอาง่ายๆครับ คนสองคนเสริชคำเดียวกันแต่ถ้ามีไลฟ์สไตล์การเล่นเน็ตไม่เหมือนกัน ก็จะเจอผลลัพธ์ที่ต่างกันครับ

Filter Bubble

สมมติว่าผมที่ชอบเรื่องการลงทุน กับเพื่อนอีกคนที่ชอบเรื่อง NGO แล้วเราเสริชกูเกิ้ลหาคำว่า น้ำมัน หรือ ปตท เหมือนกัน ผมกับเพื่อนคนนี้จะเจอหน้าผลลัพธ์การค้นหาจากกูเกิ้ลที่ต่างกันครับ

Filter Bubble

กูเกิ้ลจำได้ว่าผมชอบการลงทุน ก็จะเอาข่าวเกี่ยวกับการลงทุนในน้ำมัน หรือ ปตท มาให้ผมเห็นเป็นอันดับแรกๆ ส่วนเพื่อนผมที่ชอบเรื่อง NGO รักษ์โลก ก็จะเห็นข่าวพวก CSR ของบริษัทน้ำมัน หรือแย่หน่อยก็จะเป็นข่าวพวกน้ำมันรั่ว หรือข่าวฉาวๆของบริษัทน้ำมันเหล่านั้น

Filter Bubble

นี่คือตัวอย่าง Filter Bubble ที่ยกมาให้พอเห็นภาพครับว่า สุดท้ายแล้วอินเทอร์เน็ตไม่ได้ทำให้เรารู้ว่าโลกกว้าง แต่มันทำให้เรายิ่งดำดิ่งลงไปในโลกของเราจนยากจะถอนตัวได้

Filter Bubble

ทีนี้พอเข้าใจความหมายของคำว่า Filter Bubble แล้วใช่มั้ยครับ งั้นผมขอกลับมาต่อที่แคมเปญนี้จากค่ายมือถือในโรมาเนียที่ชื่อว่า Telekom Romania

Telekom Romania นี้มีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ในอันดับ 3 แต่สัดส่วนของตัวเองค่อยๆลดน้อยลงไปเรื่อยๆจากจำนวนผู้ใช้ที่ค่อยๆลดลงเพราะย้ายไปใช้ค่ายอื่น ก็เลยต้องการจะเพิ่มจำนวนผู้ใช้โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ดูจะคุ้มค่ากับการลงทุนมากที่สุด

เลยเกิดเป็นแคมเปญที่ชื่อว่า Swap de Vloggeri หรือ Vloggers’ Swap ในภาษาอังกฤษ ด้วยการให้บรรดา Vlogger หรือพวก YouTuber นั้นมาสลับร่าง…สร้างคอนเทนท์กัน

พออ่านถึงตรงนี้ลองดูตัวอย่างจากในคลิปจะทำให้เข้าใจมากขึ้นครับ

พอคนสองคนมาสลับเนื้อหาและแนวทางของตัวเอง หรือบางคนก็ถึงขนาดสลับ channel หรือแฟนเพจกันชั่วคราวเลยก็มี ทำให้บรรดาคนที่ติดตามหรือแฟนคลับของเน็ตไอดอลเหล่านั้นได้แปลกใจ และออกไปจากพื้นที่เดิมๆบนอินเทอร์เน็ตที่คุ้นเคย ได้ไปเจอกับ YouTuber คนใหม่ๆบ้าง

Filter Bubble



ทั้งหมดนี้เป็นการทำลายกรอบของ Filter Bubble ด้วยการให้คนออกไปค้นหาเนื้อหาใหม่ๆ ทำให้ระบบไม่สามารถเรียนรู้เราได้ง่ายๆเหมือนเดิมอีกต่อไป

แล้วเมื่อเราออกไปเสพย์เนื้อหาใหม่ๆ เราก็จะได้รับฟีดใหม่ๆไม่ว่าจะบน Social Network ของเรา หรือเวลาเสริชกูเกิ้ลก็ตาม

แคมเปญนี้เลยได้รับความร่วมมือจากบรรดาคนดังบนออนไลน์มากมายมาร่วมสนุก ร่วมผลักดันประเด็นเรื่องนี้ด้วย พออ่านมาถึงตรงนี้อาจมีคำถามว่า แล้วค่ายมือถืออย่าง Telekom Romania ได้อะไรล่ะ คำตอบคือได้ครับ เพราะทางค่ายนี้ออกแพคเกจใหม่ให้อัพโหลดได้ไม่จำกัด

เพราะอย่าลืมว่าถ้าบรรดา Vlogger หรือ YouTuber จะอัพโหลดนั้นต้องใช้ค่าอัพโหลดมากแค่ไหน แล้วปกติก็น่าจะไม่ได้ถึงขั้นให้อัพโหลดได้ไม่จำกัดด้วย

แต่ที่สุดสำคัญที่สุดคือการจุดประเด็นจากสิ่งใกล้ตัวของวัยรุ่น คนที่ชอบติดตามคนดังออนไลน์ที่ตัวเองชอบ ทำให้ได้ออกไปค้นพบอะไรใหม่ๆ ออกจากกรอบเดิมๆ

ผลก็คือแคมเปญนี้เข้าถึงกลุ่ม millennials ในโรมาเนียมากถึง 85% เกิดยอดวิวมาถึงเกือบ 10ล้านครั้ง แล้วก็ได้คอมเมนท์ดีๆกลับมามากมายกว่า 30,000 ความเห็น ที่สำคัญที่สุดสำหรับธุรกิจคือมียอดการย้ายมาใช้สูงถึงสองเท่าจากปกติ

แคมเปญดีๆคือแคมเปญที่กระตุ้นให้สังคมได้ตระหนักคิด และเดินไปข้างหน้า ต้องชื่นชมทาง Telekom Romania และ Leo Burnett Bucharest ที่ทำแคมเปญนี้ขึ้นมาครับ

https://vimeo.com/268349874

ติดตามเรื่องราวการตลาดวันละตอน สดใหม่ทุกวันได้ที่ : https://www.everydaymarketing.co/

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน