Hackvertising ถ้าเบี้ยวนัดดื่มเบียร์งั้นไปเคลียร์กันที่ศาล – The Legally Binding Beer Contact

Hackvertising ถ้าเบี้ยวนัดดื่มเบียร์งั้นไปเคลียร์กันที่ศาล – The Legally Binding Beer Contact

The Legally Binding Beer Contract แคมเปญการตลาดแบบ Hackvertising หรือ Hijack + Marketing ของเบียร์แบรนด์ Norrlands Guld ที่จับ Insight เพื่อนชอบเบี้ยวนัดดื่มเบียร์กันง่ายๆ ด้วยการส่งข้อความผ่านออนไลน์เป็นประจำ ด้วยการจับมาทำสัญญาที่มีผลทางกฏหมาย บอกให้รู้ว่าถ้านายเบี้ยวไม่มางั้นไปเคลียร์ค่าเสียหาย เสียเวลาในศาลก็แล้วกัน

Digital Insight นักดื่ม นัดง่ายก็เบี้ยวง่าย

The Legally Binding Beer Contract แคมเปญการตลาดแบบ Hackvertising หรือ Hijack + Marketing ของเบียร์แบรนด์ Norrlands Guld ที่จับ Insight เพื่อนชอบเบี้ยวนัดดื่มเบียร์กันง่ายๆ ด้วยการส่งข้อความผ่านออนไลน์เป็นประจำ ด้วยการจับมาทำสัญญาที่มีผลทางกฏหมาย บอกให้รู้ว่าถ้านายเบี้ยวไม่มางั้นไปเคลียร์ค่าเสียหาย เสียเวลาในศาลก็แล้วกัน

ด้วยความที่อะไรๆ ก็ออนไลน์ ทำให้การติดต่อสื่อสารกันในวันนี้เป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน แต่ก่อนการจะนัดกันทีอาจจะต้องโทรเข้าเบอร์บ้าน ซึ่งคนยุคใหม่อาจสงสัยว่า “เบอร์บ้าน” คืออะไร? ครั้นจะได้คุยกันทีก็ต้องบังเอิญอยู่บ้านหรืออยู่ใกล้โทรศัพท์พร้อมๆ กัน เพราะสมัยก่อนหนึ่งเบอร์ต่อหนึ่งบ้าน แต่พอมาสมัยนี้หนึ่งคนอาจมีมากกว่าหนึ่งเบอร์ด้วยซ้ำครับ

และนั่นก็ทำให้การจะนัดดื่มกินกันระหว่างเพื่อนเป็นเรื่องง่าย ถ้าเราอยากจะชวนเพื่อนไปดื่มหลังเลิกงานคืนนี้ ก็แค่ส่งข้อความผ่าน LINE หรือ Messenger ออกไป แล้วก็ไม่ต้องสนใจไปทำอย่างไร กลับมาสนใจอีกทีตอนที่ได้ Notification แจ้งเตือนว่าเพื่อนเราส่งกลับมาว่าอย่างไรก็พอ

และด้วยความง่ายในการนัดนั้นเองก็ทำให้การยกเลิกนัดก็ง่ายยิ่งกว่าทุกยุคสมัย จากเดิมทีต้องโทรหาไปให้ทันก่อนเพื่อนจะออกจากบ้าน แล้วก็ลุ้นว่าถ้าเพื่อนรับสายแล้วจะถูกต่อว่าหรือด่ากลับมามั้ย แต่ในวันนี้ต่อให้อยู่ระหว่างทางก็สามารถส่งข้อความไปหาโดยไม่ต้องกดดันว่าเพื่อนจะปฏิเสธคำปฏิเสธเราหรือไม่

และจาก Insight การนัดง่ายก็เบี้ยวได้ง่ายนี้เองทำให้หลายคนอาจจะไปถึงร้านแล้วเพิ่งมารู้ว่าเพื่อนตัวดีเบี้ยวหรืออ้างว่าไม่ว่างเลยไม่ยอมมา ส่งผลให้ยอดขายเบียร์ในร้านกระทบตาม เพราะการดื่มคนเดียวนั้นมันชืดไม่สนุกเท่ากับการดื่มสองคนที่ทำให้อัตราการดื่มเบียร์เพิ่มสูงขึ้นเพราะอรรถรสการสนทนาของเพื่อนนี่แหละครับ

ก็เลยมีเบียร์แบรนด์หนึ่งเกิดปิ๊งไอเดียขึ้นมาจาก Insight นี้ว่า ถ้าในยุคดิจิทัลนี้การปฏิเสธเบี้ยวนัดดื่มระหว่างเพื่อนเป็นเรื่องง่ายเกินไป งั้นเรามาเล่นใหญ่ทำให้เป็นเรื่องยากที่วุ่นวาย เอาให้มันเป็นเรื่องทางกฏหมายในระดับที่ต้องใช้ทนายและศาลเลยแล้วกัน

The Legally Binding Beer Contract ถ้าเบี้ยวนัดดื่มเบียร์งั้นไปเคลียร์กันที่ศาล

The Legally Binding Beer Contract แคมเปญการตลาดแบบ Hackvertising หรือ Hijack + Marketing ของเบียร์แบรนด์ Norrlands Guld ที่จับ Insight เพื่อนชอบเบี้ยวนัดดื่มเบียร์กันง่ายๆ ด้วยการส่งข้อความผ่านออนไลน์เป็นประจำ ด้วยการจับมาทำสัญญาที่มีผลทางกฏหมาย บอกให้รู้ว่าถ้านายเบี้ยวไม่มางั้นไปเคลียร์ค่าเสียหาย เสียเวลาในศาลก็แล้วกัน

แคมเปญการตลาดนี้เกิดขึ้นที่ประเทศสวีเดน เมื่อแบรนด์เบียร์อย่าง Norrlands Guld ทำให้การเบี้ยวนัดระหว่างเพื่อนนั้นยุ่งยากมากขึ้นเพราะสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในศาลได้แบบง่ายๆ

เมื่อดิจิทัลทำให้ทุกอย่างสามารถทำด้วยตัวเองได้ง่าย ก็เลยถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการทำสัญญาทางกฏหมาย ที่จากเดิมอาจจะต้องจ้างทนายราคาแพงมาช่วยร่าง แต่ในวันนี้สามารถร่างสัญญาที่มีผลทางกฏหมายด้วยตัวเองแบบง่ายๆ ด้วยมือถือเครื่องเดียวที่ออนไลน์ได้ก็พอ

แคมเปญการตลาด The Legally Binding Beer Contract นี้ถูกออกแบบมาให้การนัดดื่มเบียร์กันไม่ใช่แค่การแชทปากเปล่า แต่ถ้าใครกลัวเพื่อนเบี้ยวนัดก็แค่เข้ามากรอกรายละเอียดการนัดระหว่างคุณกับเพื่อน ระบุวันและเวลาที่จะไป จากนั้นก็ยืนยันตัวตนทางออนไลน์ด้วยเทคโนโลยี Identification แบบง่ายๆ ระหว่างเพื่อนที่จะนัด เพียงเท่านี้คุณก็จะได้สัญญานัดดื่มเบียร์ระหว่างกันที่มีผลทางกฏหมายอย่างจริงจัง ที่สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้หากใครคนหนึ่งเบี้ยวนัดไม่ยอมมา

ซึ่งถ้าใครเบี้ยวแล้วเพื่อนไม่พอใจ ก็สามารถเอาเอกสารนี้ไปยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายหรือค่าเสียเวลากับศาลได้จริงๆ เป็นมูลค่าประมาณ 2,000 บาท คิดไปคิดมาก็น่าสนใจว่า ถ้าเราทำให้คนตกลงรับนัดเราได้มากๆ ก็น่าจะฟ้องเรียกค่าเสียหายได้มากพอจะเป็นอาชีพได้เลยหละมั้งครับเนี่ย

หลงัจากแคมเปญการตลาดแบบ Hackvertising นี้ถูกปล่อยออกไปก็กลายเป็น Viral Marketing กระจายออกไปทั่วประเทศแถมยังมีโผล่ออกไปพูดถึงในอีกหลายประเทศนอกสวีเดนด้วยซ้ำ

ผลลัพธ์ที่น่าสนใจของแคมเปญ The Legally Binding Beer Contract นี้คือมีคนเข้ามาที่เว็บไซต์ของแคมเปญนี้สูงกว่า 200,000 ครั้งในช่วงเปิดตัว และก็มีการสร้างสัญญากันเบี้ยวนัดดื่มเบียร์ระหว่างกันมากกว่า 30,000 ครั้งเลยทีเดียว

เอาตัวเลขมาคำนวนเร็วๆ เท่ากับว่าเว็บนี้มี Conversion rate สูงถึง 15% เชียวนะครับ ไม่ได้มาเล่นๆ เลยจริงๆ

แต่ที่น่าสนใจไปกว่านั้นในแง่ของ Marketing & Sales คือ ยอดขายของเบียร์แบรนด์นี้ Norrlands Guld เพิ่มขึ้นจากปีก่อนในช่วงเวลาเดียวกันถึง 19% ส่วนในแง่ของ Branding เองก็ถูก Mentions ถึงบนออนไลน์เพิ่มขึ้นกว่า 390% เลยทีเดียวครับ (ข้อดีของการใช้ Social listening tool ตรวจจับว่ามีใครพูดถึงแบรนด์เราเมื่อไหร่บ้าง)

วิเคราะห์ส่งท้ายกับแคมเปญการตลาดแบบ Hijack Marketing นี้สำเร็จได้เพราะเทคโนโลยีพร้อม

The Legally Binding Beer Contract แคมเปญการตลาดแบบ Hackvertising หรือ Hijack + Marketing ของเบียร์แบรนด์ Norrlands Guld ที่จับ Insight เพื่อนชอบเบี้ยวนัดดื่มเบียร์กันง่ายๆ ด้วยการส่งข้อความผ่านออนไลน์เป็นประจำ ด้วยการจับมาทำสัญญาที่มีผลทางกฏหมาย บอกให้รู้ว่าถ้านายเบี้ยวไม่มางั้นไปเคลียร์ค่าเสียหาย เสียเวลาในศาลก็แล้วกัน

แคมเปญ Hackvertising ถ้าเบี้ยวนัดดื่มเบียร์งั้นไปเคลียร์กันที่ศาล – The Legally Binding Beer Contact นี้จะไม่ประสบความสำเร็จเลยถ้าเทคโนโลยีพื้นฐานอย่างการยืนยันตัวตนแบบดิจิทัลทางออนไลน์ยังไม่พร้อม โชคดีที่ประเทศสวีเดนเองมีคนใช้แอป Mobile BankID เพื่อยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมต่างๆ ทางออนไลน์สูงกว่า 80% และนั่นก็เลยทำให้ใครๆ ก็ตามที่มีมือถือและออนไลน์ได้สามารถร่วมแคมเปญนี้ได้แบบสบายๆ ไม่ต้องแอปใดเพิ่ม ไม่ต้องติดตั้งอะไรใหม่

นี่คือการคิดแคมเปญการตลาดอย่างเข้าใจเทคโนโลยี หรือจะบอกว่าเป็นการฉลาดใช้ Creativity ในการหยิบจับสิ่งรอบตัวให้กลายเป็นโอกาสในการเพิ่มยอดขายหรือทำให้คนจดจำแบรนด์เราได้ครับ

สุดท้ายนี้ถ้าถามว่าการลงทุนทำแคมเปญการตลาดนี้เบียร์แบรนด์ Norrlands Guld จะได้อะไร?

The Legally Binding Beer Contract แคมเปญการตลาดแบบ Hackvertising หรือ Hijack + Marketing ของเบียร์แบรนด์ Norrlands Guld ที่จับ Insight เพื่อนชอบเบี้ยวนัดดื่มเบียร์กันง่ายๆ ด้วยการส่งข้อความผ่านออนไลน์เป็นประจำ ด้วยการจับมาทำสัญญาที่มีผลทางกฏหมาย บอกให้รู้ว่าถ้านายเบี้ยวไม่มางั้นไปเคลียร์ค่าเสียหาย เสียเวลาในศาลก็แล้วกัน

สัญญาฉบับนี้จะถูกร่างขึ้นให้ฟรีก็ต่อเมื่อคุณนัดกับไปที่ร้านขายเบียร์ของใครล่ะ? ก็ต้องเป็นร้านที่มีเบียร์ Norrlands Guld ขายเป็นหลักอยู่แล้วจริงไหมครับ

ต่อให้คนนัดจะเลือกไม่ไปร้านที่เป็นคู่ค้ากับเบียร์แบรนด์นี้ในท้ายที่สุด แต่อย่างน้อยเค้าก็ได้รู้จักแบรนด์มากขึ้น ได้รู้จักร้านที่มีเบียร์แบรนด์นี้ขายมากขึ้น และในท้ายที่สุดผลลัพธ์สุดท้ายก็ต้องตกไปที่เจ้าของแบรนด์ผู้ลงทุนทำให้คนไม่เบี้ยวนัดได้ไม่มากก็น้อยแน่ๆ

แม้เราจะกวาดทุกคนมาเป็นลูกค้าเราไม่ได้ แต่อย่างน้อยก็ดีกว่าเราไม่ลงมือทำอะไรเลยแล้วปล่อยให้ลูกค้าค่อยๆ จางหายจากเราไปใช่ไหมครับ

ถ้าใครมีเพื่อนชอบเบี้ยวนัด จะลองเข้าไปทำเอกสารสัญญาที่มีผลทางกฏหมายผูกมัดเพื่อนไว้ก็ได้นะครับ หรือถ้าจะมีแบรนด์ใดในไทยเอาไปประยุกต์ใช้ก็คงจะสนุกน่าดู รับรองว่าน่าจะได้ Free PR มากมายเพราะใครๆ ต่างก็อยากพูดถึงและแชร์ทางออนไลน์ให้อย่างแน่นอน

อ่านแคมเปญการตลาดแบบ Hackvertising หรือ Hijack Marketing ในการตลาดวันละตอนต่อ > https://www.everydaymarketing.co/?s=hijack

Source

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน