เบียร์ Brahma ลบภาพ Stereotype รับความเท่าเทียม

เบียร์ Brahma ลบภาพ Stereotype รับความเท่าเทียม

ปัญหาเรื่อง Stereotype ในสื่อเป็นอะไรที่พวกเราในฐานะ Consumer เจอมาตลอด แต่เพราะกระแสการต่อต้านภาพจำผิดๆ เหล่านี้กลับรุนแรงขึ้นทุกวันๆ ในปีหลังๆ มานี้ ทำให้แบรนด์เบียร์ในประเทศ Paraguay อย่าง Brahma ต้องออกมาลบภาพเก่าๆ ที่แบรนด์ตัวเองเคยสร้างภาพจำผิดๆ เอาไว้ในปี 2009 อย่างประเด็น Sexist ที่จับผู้หญิงให้ดูเหมือนของเล่นผู้ชาย หรือเอาใจเพศชายมากจนเกิดเป็นค่านิยมผิดในสังคมเราทุกวันนี้ค่ะ

ต้องบอกว่าประแส Feminism เป็นประเด็นได้ตลอดในยุคสมัยนี้ อย่างล่าสุดข่าวน้องผู้หญิงที่ถูกข่มขืนที่เกิดขึ้นในบ้านเรา ก็ทำให้เสียงกร่นด่าเรื่อง Toxic Masculinity ดังขึ้นอีก รวมไปถึงสังคมไทยเราเองที่เริ่มต่อต้านละครที่ใช้ความรุนแรงกับผู้หญิงอย่างละครสวรรค์เบี่ยงที่แม้เป็นละครเก่า แต่เพราะช่องเอามา Rerun ทำเอาคนอดใจไม่ไหว ออกมาบ่นเรื่องขอร้องให้สื่อหยุดถ่ายทอดภาพหรือ Story แนวนี้เสียที

แบรนด์เบียร์ Brahma ในประเทศ Paraguay เค้าก็รับรู้ถึง Trending Topic เรื่องความเท่าเทียมเหล่านี้ ทำให้ล่าสุด แบรนด์ก็ได้ออกมายืดอก รับผิดชอบในการแก้ไขการสื่อสารเก่าๆ ของตัวเองตั้งแต่ปี 2009 ที่เคยโปรโมตภาพผู้หญิงในเชิง Sexist ภายใต้แคมเปญใหม่ ‘What You See Today’ ค่ะ

สิ่งที่แบรนด์ทำก็คือการนำ Video Ads เก่าๆ มาคัทใหม่ ให้เหลือแต่ภาพหยิบขวดเบียร์ หรืออะไรที่ไม่ Sexist เกินไปขนาด 60 วินาที แล้วปล่อยออกไปเพื่อเป็นการยอมรับว่า เราทำผิดและวันนี้แบรนด์เราได้เปลี่ยนไปแล้วนั่นเอง บอกตรงๆ ว่านอกจากจะ Cost น้อยลงจากการเอา Video เก่ามาคัทแล้ว ยังได้ใจกลุ่มคนรุ่นใหม่ไปเต็มๆ อีกด้วย ยิ่งผู้หญิงได้เห็นผู้ชายดื่มเบียร์ยี่ห้อที่สนับสนุนความเท่าเทียม ก็ยิ่งโดนใจเข้าไปใหญ่เลย

ถ้าต้องพูดเรื่อง Stereotype ในสื่อพูดวันเดียวก็คงไม่หมด เพราะมีหลากหลายเรื่อง ทั้งเรื่องเพศ เรื่องภาพลักษณ์ที่เกิดเป็นค่านิยม หรือภาพจำผิดๆ ในวันนี้ อย่างถ้าเพลินบอกว่าโฆษณานี้มีเด็กเนิร์ดเป็นตัวแสดงนำ คุณคิดถึงว่าคนเนิร์ดเป็นแบบไหน หน้าตาอย่างไรคะ? แล้วถ้าคุณคิดถึงคนใส่แว่น กางเกงเอวสูง เชยๆ แล้วอาจจะมีสิวเขรอะหน้า แบบคนไม่ดูแลตัวเองละก็ บอกเลยว่านั้นแหละค่ะ หนึ่งในภาพจำที่สื่อสร้างให้เราจำมานานโนม

นอกเหนือจากนี้ยังมีเคส Stereotype อื่นๆ อีกมากมาย อย่างกรณีสีที่บอกว่า ชมพูคือผู้หญิง สีฟ้าคือผู้ชาย หรือจะเป็นการ Portray คนผิวดำให้เป็นคนร้าย คนน่ากลัว ส่วนเพศที่สามที่ต้องเป็นตัวโจ๊ก ตลก โป ฮาในหนังหลายๆ เรื่อง และผู้หญิงผมบลอนด์ต้องเป็นพวกสวยสมองกลวง เป็นต้น และแน่นอนตัวอย่างสุดท้ายคือเรื่องของเพศหญิงและ Sexist ที่เรามองข้ามไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องหลักสำหรับเคส Brahma ในวันนี้ ที่ทำให้ผู้หญิงดูด้อยค่า หรือเป็นของเล่นผู้ชายนั่นเอง

ดังนั้นวันนี้หากแบรนด์ใดที่กำลังทำ Communication ใดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อ Video หรือภาพ Visual อย่าลืมคิดถึงในส่วนของภาพจำผิดๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับค่านิยมในอนาคตด้วยนะคะ โดยเฉพาะแบรนด์ที่ต้องการ target คนรุ่นใหม่ที่เริ่มมองมุมต่างในหลายๆ เรื่อง ก็อาจจะเป็นประเด็นร้อน ประเด็น Sensitive ได้ ยิ่งกลุ่มสินค้า Beauty ที่ชอบบอกว่าขาว = สวย ยิ่งแล้วใหญ่ค่ะ

ส่วนแบรนด์ไหนที่เคยทำผิดแบบ Brahma แบรนด์เบียร์ของ Paraguay มาก่อน ก็สามารถออกมาเล่นเรื่องสังคมแบบนี้ได้ เพื่อเป็นการตอกย้ำทัศนคติใหม่ของแบรนด์ แล้วยิ่งถ้าเรา Accept ความผิดเราด้วยตัวเองแต่แรก ก็มีแนวโน้มที่คนจะให้อภัยและกลับมาอุดหนุนสินค้าได้เพิ่มด้วย ลองดูกันนะคะ

อ่านเคสของแบรนด์รถยนต์ Volkswagen ที่ถูกแบนเพราะปัญหา Gender Stereotype ต่อ

Plearn Wisetwongchai

Marketing Strategic Planner ในเครือการตลาดวันละตอน | A Creator สาวพลัสไซส์ @Fabfatkid | A Travel Lover ที่หมดเงินเกือบ 80% ไปกับการเดินทางแบบแมสๆ | An Instagrammer @theplearn ที่ชอบเล่น Story เป็นชีวิตจิตใจ | สุดท้ายคือ Data Researcher ทั้ง Social และ Search Data etc. ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่