การตลาด ขาย ‘นม’ ให้แตกต่างด้วย Unique Selling Point ที่ช่วยลดอัตราการเสียชีวิต

การตลาด ขาย ‘นม’ ให้แตกต่างด้วย Unique Selling Point ที่ช่วยลดอัตราการเสียชีวิต

การตลาด ขาย ‘นม’ ให้แตกต่างด้วย Unique Selling Point ที่ช่วยลดอัตราการเสียชีวิต

ฮั่นแน่ ก่อนกดอ่านเข้ามาคงคิดกันว่า ‘นม’ ที่ว่าช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้สูงอายุนั้นมาจากสารอาหารที่ได้จากเกิดดื่มนมกันล่ะซิท่า นั้นเป็นแค่ส่วนนึงเท่านั้นล่ะค่ะ เพราะวิธีที่ ‘นม’ จะมาช่วยชีวิต แปลกและคาดไม่ถึงกว่านั้นเยอะเลยค่ะ

เป็นอะไรที่เตยมองว่าสร้างสรรค์ มี Unique Seliing Point และ Measurement แบบใหม่แบบสับ จากการสังเกตนมแค่อย่างเดียวก็บอกอะไรได้หลายอย่างและช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้สูงอายุที่อยู่ตัวคนเดียวได้อีกด้วย เป็นแคมเปญที่เตยอ่านแล้วต้องนำมาเขียนแบ่งปันไอเดียกันเลยทีเดียว ส่วนไอเดียที่ว่าจะเป็นยังไงนั้น ติดตามกันได้ในบทความนี้ได้เลยค่ะ

ที่มาของแคมเปญ Greeting Milk

ไอเดียของแคมเปญนี้เริ่มมาการที่สังคมเกาหลีก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว เป็นอัตราการเติบโตของสังคมสูงวัยที่สูงอันดับต้น ๆ ของโลก คนที่อายุ 65 หรือมากกว่านั้น จำนวนกว่า 1.67 ล้านคนต้องอยู่คนเดียวอย่างโดดเดี่ยว และมีอัตราการเสียชีวิตคาบ้านเพิ่มขึ้นสูงมากในทุก ๆ ปี

ถึงแม้ว่าเจ้าหน้าที่สาธาณะสุขจะเข้าไปตรวจตาผู้สูงอายุกลุ่มนี้อยู่ตลอด แต่สิ่งที่ท้าทาย คือ ทรัพยากรของรัฐบาลไม่สามารถรองรับกับจำนวนที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มครัวเรือนดังกล่าวได้ โดยในปี 2020 มีการพบศพผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,300 รายทั่วเกาหลีใต้

Maeil Dairies หนึ่งในผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นมรายใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้จึงร่วมมือกับหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะภาคเอกชนหรือรัฐบาล เพื่อแก้ไขปัญหานี้ โดยได้ทำแคมเปญ Greeting Milk ขึ้นมาเพื่อเป็นการสอดส่องและสนับสนุนสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพัง

การตลาด จาก 'นม' Measurement แบบใหม่ ลดอัตราการเสียชีวิตชาวสูงวัย

โดยใช้วิธีในการจัดส่งนมให้ฟรี สัปดาห์ละสามครั้ง ซึ่งนมจะถูกจัดส่งใส่ไว้ในถุงนม หรือถุงทั่วไปที่เอามาแขวนไว้หน้าบ้าน และนมที่ถูกจดส่งและเหลืออยู่ในถุงนี่แหละค่ะ ที่จะถูกนำมาเป็น ‘พระเอก’ ที่ใช้เพื่อสังเกตสถานการณ์ ความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุบ้านนั้น ๆ

Measurement จาก ‘นม’ ช่วยชีวิต ลดอัตราการเสียชีวิตของคนสูงวัย

การตลาด จาก นม Measurement แบบใหม่ ลดอัตราการเสียชีวิตชาวสูงวัย

ถามว่าการเหลืออยู่ของ ‘นม’ ในถุงจะเป็นการช่วยเหลือและช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้สูงอายุได้อย่างไร วิธีการสังเกตจะเป็นดังนี้ค่ะ

นมไม่เหลืออยู่ในถุง = ผู้สูงอายุในบ้านปลอดภัย

แสดงว่าผู้สูงอายุท่านนั้นเดินออกมาเอา ยังแข็งแรงดี ไม่ได้เจ็บป่วย

มีนมเหลือในถุง 1 กล่อง = เป็นสัญญาณเตือนและเริ่มสอดส่องอย่างใกล้ชิดมากขึ้น

บางครั้งผู้สูงอายุอาจลืมที่จะออกมาเอา จึงเก็บเป็นข้อมูลไว้และสอดส่อง ดูแลอย่างใกล้ชิดในการส่งนมครั้งถัดไป หากครั้งหน้าที่มาส่ง นมไม่เหลืออยู่แล้ว แสดงว่ายังดีอยู่

มีนมเหลือในถุง 2 กล่อง = อันตราย ประสานงานให้เจ้าหน้าฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบทันที

แสดงให้เห็นว่าผู้สูงอายุอาจได้รับบาดเจ็บหรือต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ในกรณีนี้ หากไม่ใช่การลืมจริง ๆ ก็คือต้องมีเหตุอื่น ดังเช่นที่กล่าวไปก่อนหน้า ที่ทำให้เขาไม่สามารถออกมาเอานมที่อยู่ในถุงได้ ถือเป็นความผิดปกติอย่างแรง

เช่นเดียวกับในประเทศไทยที่พนักงาน S&P เข้าไปช่วยเหลือคุณยายวัย 85 ปี หลังจากที่คุณยายไม่ได้สั่งอาหารนานถึง 5 วัน จึงเกิดความสงสัยและเป็นห่วงว่าจะเป็นอะไรรึเปล่า เนื่องจากปกติคุณยายจะสั่งอาหารจากร้านเป็นประจำ สุดท้ายพบว่าคุณยายพลัดตกบันไดจนบาดเจ็บ จึงได้เข้าไปช่วยเหลือได้ทัน

Unique Selling Point ที่ไม่ได้เป็นแค่ ‘นม’ ธรรมดา แต่เป็น ‘นม’ ช่วยเหลือสังคม

ถ้าเป็นนมตามท้องตลาดทั่วไป จุดขายที่เรามักเห็นกัน คือ Free lactose, นทสดแท้ 100%, หวานน้อย และอื่น ๆ อีกมากมาย แต่ในกรณีนี้คือ นม ที่ช่วยเหลือสังคมโดยการช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้สูงอายุ

ถ้าเตยได้ยินแบบนี้คงจะ อู้หูววว แถมความรู้สึกที่มีต่อแบรนด์คงจะบวก ๆๆๆ ทั้ง ๆ ที่นมที่เขาขายก็เป็นนมปกติที่เราหากินได้ทั่วไป ตัวรสชาติหรือสรรพคุณก็ไม่ได้มีอะไรที่แปลกใหม่ ดื่มแล้วเสริมแคลเซียมเป็นอันจบ เป็นจุดขายที่เล่นกับใจแบบแยบยล

นอกจากนี้ การสังเกตการเหลืออยู่ของนมในถุง เตยมองว่านี่คือ Measurement ที่สร้างสรรค์มาก ๆ และทำได้ไม่ยาก ไม่ต้องซับซ้อนอะไรด้วย แค่พลิกแพลงเป็นตัววัดแบบใหม่ แค่นี้ก็สามารถช่วยชีวิตคนได้แล้วค่ะ และในปี 2021 แคมเปญนี้ก็ช่วยเซฟชีวิตผู้สูงอายุได้ถึง 18 รายด้วยกัน เป็นเรื่องที่น่ายินดีจริง ๆ ค่ะ

จะเห็นได้ว่าทั้งสองกรณี S&P และ แคมเปญ Greeting Milk เกิดจากการสังเกตและประเมินวัดผลด้วยเรื่องง่าย ๆ ไม่มีอะไรซับซ้อน อิงจากพฤติกรรมของผู้บริโภคเป็นหลัก แล้วนำมาตัดสินใจต่อ ผลลัพธ์ที่ได้ถือว่าดีแบบสุด ๆ

สรุป การตลาด ขาย ‘นม’ ให้แตกต่างด้วย Unique Selling Point ที่ช่วยลดอัตราการเสียชีวิต

ในอีกมุมหนึ่ง การกระทำของ Maeil Dairies ในครั้งนี้ ก็ถือเป็นการทำ Branding ที่เจ๋งมาก ๆ เพราะผู้คนตระหนักถึงการช่วยเหลือสังคมของแบรนด์นี้ เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า (จาก 11% เป็น 25%) แค่นี้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่มีต่อจิตใจผู้คนก็เป็นเขียวแบบบวก ๆๆๆ

เฉกเช่นกับแคมเปญของ Cadbury ที่ใช้เทคโนโลยี DeepFake และ Deep voice มาช่วยเหลือผู้ค้ารายย่อย ที่เป็นอีกหนึ่งการกระทำที่สร้าง Branding และ CSR ได้สุดยอดสุด ๆ เช่นเดียวกัน

เอาเป็นว่า นักการตลาดท่านใดหรือผู้อ่านท่านใดที่กำลังมองหา Unique Selling Point และ Measurement แบบใหม่ ๆ หรือไอเดียในการทำ CSR เตยมองว่านี่แหละ คือแหล่งต้นแบบไอเดียชั้นดี ที่พลิกแพลงทำได้ไม่ยาก ลองนำไปปรับใช้กันดูนะคะ

เราหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และสร้างไอเดียใหม่ ๆ ต่อผู้อ่านทุกคนนะคะ แล้วพบกันใหม่บทความหน้าค่ะ

สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาด หรือข่าวสารการตลาด แบบจัดหนักจัดเต็ม สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ

Source

Source

Toey Waritsa

ใบเตย หรือเรียกว่าเตยก็ได้ค่ะ ทำ Data Research Insight เป็นอาชีพเสริม อาชีพหลักเลี้ยงแมว ทุกบทความเขียนออกมาด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจเพื่อหาเงินเลี้ยงแมวค่ะ😺🫶🏻

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่