เช็กลิสต์พร้อม Case Study Rebranding อย่างไรให้แบรนด์ดังปังกว่าเดิม

เช็กลิสต์​พร้อม​ Case​ Study​ Rebranding อย่างไรให้แบรนด์​ดังปังกว่าเดิม

Rebranding คืออะไร และต้องทำอย่างไร มาดูเช็คลิสต์พร้อม Case Study ดีๆ กัน

สำหรับคนที่ทำธุรกิจมานานๆ ย่อมต้องเจอกับปัญหาและความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป หรือคู่แข่งหน้าใหม่ๆ ที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาลงสนามอยู่เรื่อยๆ ซึ่งถ้าคุณเองไม่อยากกลายเป็นแค่ตำนาน หรือถูกกลืนหายไปกับกาลเวลา สิ่งที่ทำได้คงหนีไม่พ้นการ Rebranding ของคุณให้เข้ากับยุคสมัย และดูสดใหม่อยู่เสมอ

คำถามก็คือ… แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าถึงเวลาแล้วที่เราควรจะ Rebranding ใหม่สักที แล้วการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้จะมีวิธีไหนที่สามารถดึงดูดลูกค้าได้บ้าง

ทำไมต้อง Rebranding ? 

เคยสังเกตไหมคะว่าธุรกิจที่มีชื่อเสียงและอยู่มานานอย่าง ดอยคำ ศรีจันทร์ หรือแม่ประนอม ทำไมถึงต้องตบเท้าทยอยกัน Rebranding ใหม่ ทั้งที่ชื่อก็คุ้นหูคุ้นตาผู้บริโภคกันอยู่แล้ว

จริงๆ แล้ว การ Rebranding นั้นถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การตลาดในการสร้างความสดใหม่ให้ทั้งกับภาพลักษณ์ของตัวธุรกิจ รวมถึงสินค้าและบริการ โดยไม่จำเป็นว่าต้องเป็นแบรนด์ใหญ่เท่านั้น แต่แบรนด์เล็กเองก็สามารถรีแบรนด์ได้เช่นกัน

ซึ่งการ Rebranding นอกจากทำให้ภาพลักษณ์ธุรกิจดูทันสมัยขึ้นแล้ว เป็นกลยุทธ์ที่ช่วยดึงดูดกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ รวมถึงทำให้ฐานลูกค้าเก่ารู้สึกตื่นตัวมากขึ้นด้วย

ธุรกิจแบบไหนที่ควรทำการ Rebranding

สำหรับธุรกิจที่แบมมองว่าควรจะทำการรีแบรนด์นั้น แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  • Under Branding

หรือธุรกิจที่ไม่เคยมีการสร้างตัวตนของแบรนด์มาก่อน

  • Confused Branding

ธุรกิจที่มีจุดขาย หรือภาพลักษณ์ที่ไม่ชัดเจน ทำให้ยังสื่อสารกับลูกค้าได้ไม่ตรงจุดเท่าทีาควร

  • Over Branding

ธุรกิจที่มีภาพจำของสินค้าหรือบริการชนิดใดชนิดหนึ่งมากจนเกินไป คนทำให้ผู้บริโภคไม่นึกถึงสินค้าและบริการอื่นๆ ที่ธุรกิจมี

5 สัญญาณเตือนว่าถึงเวลาแล้วที่เราควร Rebranding

เราลองมาดูกันว่ามีสัญญาณเตือนอะไรบ้างที่บ่งบอกว่าน่าจะถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องทำการเปลี่ยนแปลง Rebranding ครั้งใหม่กันสักที

1.กลุ่มเป้าหมายเปลี่ยน

แรกที่บอกให้รู้ว่าเราควรจะต้องปรับตัวได้แล้วก็คือ กลุ่มเป้าหมายของเราที่เปลี่ยนไปจากเดิม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ที่เริ่มหันมาให้ความสนใจกับสินค้าและบริการของเรามากขึ้น หรือกลุ่มลูกค้าเก่าที่เปลี่ยนพฤติกรรมไป ถ้าเราสามารถปรับภาพลักษณ์และสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุด ก็จะสามารถสร้าง Awareness และสร้างโอกาสในการขายได้ในเวลาเดียวกัน

2.แบรนด์มีการขยายตลาด

ถ้าหากธุรกิจของเรามีการขยายตลาด มีไลน์สินค้าใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น กรือมีรูปแบบธุรกิจที่แตกต่สงไปจากเดิม ก็ควรจะทำการ Rebranding ใหม่ให้ดูทันยุคทันสมัย ควบคู่กันไปทั้งภาพลักษณ์และระบบบริหารจัดการภายใน ดีกว่าให้ผู้บริโภคติดกับภาพลักษณ์เดิมไปเรื่อยๆ จนมองข้ามสินค้าและบริการของเราไป

3.เมื่อแบรนด์เป็นเพียงตำนานที่ถูกลืม

หลายธุรกิจนั้นเป็นแบรนด์เก่าแก่ที่โด่งดังและเป็นที่จดจำของคนในยุคหนึ่ง แต่เมืาอเวลาผ่านไปแบรนด์เหล่านั้นกลายเป็นเพียงแค่ความทรงจำ หรือเป็นแบรนด์หนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ถูกบอกเล่าหรือนิยมแค่เฉพาะกับคนรุ่นเก่าเท่านั้น ดังนั้นแบรนด์จึงควรทางแบรนด์จึงควรมีการ Rebranding เพื่อให้ตำนานได้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง

4.เมื่อเห็นสัญญา Distrubtion

เมื่อโลกเปลี่ยน เราเองก็ไม่ควรต้านทานกระแสโลก จริงไหมคะ? ดังนั้นเมื่อไหร่ก็ตามที่เราเริ่มเห็นเค้าลางของการ Distrubtion ก็ควรเริ่มคิดที่จะวางแผน และทิศทางในการ Rebranding ธุรกิจไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะเมื่อไหร่ที่มีการเปลี่ยนทางเทคโนโลยี ก็จะทำให้ดทรนด์และพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปเช่นกัน

5.มีแผนจะโกอินเตอร์

ลองคิดภาพตามดูนะคะว่าถ้าธุรกิจของเรสจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อย่างการโกอินเตอร์ ไม่ว่าจะแค่แถบประเทศเพื่อนบ้าน หรือไกลกว่านั้น สิ่งที่เราควรคิดและวางแผนเป็นอันดับต้น ก็คือการ Rebranding ธุรกิจให้มีความเป็นสากลมากขึ้น เพื่อให้สอนค้าและบริการของเราสามารถเข้าถึงคนได้ในระดับที่ Mass มากขึ้นนั่นเอง

Case Study: 3 แบรนด์ไทย ที่ Rebranding แล้วปัง แถมดังกว่าเดิม

ในความเป็นจริงแล้วมีแบรนด์ไทยหลายๆ แบรนด์ในช่วงนี้ที่เริ่มทยอย Rebranding เพื่อเปลี่ยนภาพลักษณ์ให้แบรนด์ดูทีนยุคทันสมัยมากขึ้น ดังนั้นแบมเลยจะขอยกตัวอย่าง 3 แบรนด์ที่ Rebranding แล้วปังยิ่งกว่าเดิมมาให่ลองศึกษากันค่ะ

ศรีจันทร์

สำหรับศรีจันทร์นั้นเป็นแบรนด์เครื่องสำอางที่อยู่คู่คนไทยมากว่า 70 ปี โดยโปรดักส์สร้างชื่อในสมัยนั้นก็คือ ‘ผงหอมศรีจันทร์’ ที่ฮอตฮิตมากจนเรียกได้ว่าเป็นไอเทมเด็ดของสาวๆ ในยุคนั้นเลยทีเดียว

แต่เมื่อยุคสมัยผ่านไปความต้องการของตลาดเครื่องสำอางก็เปลี่ยนไปเช่นกัน กลายเป็นว่าของที่เคยได้รับความนิยมอย่างผงหอมศรีจันทร์ สุดท้ายก็ถูกกลืนหายไปท่ามกลางคลื่นเครื่องสำอางแบบใหม่ๆ ที่มีสีสัน และความหลากหลายที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภครุ่นใหม่ๆ มากกว่า

ศรีจันทร์เลยเริ่มต้นการ Rebranding ด้วยการลงพื้นที่เพื่อสำรวจและศึกษาความต้องการของลูกค้าในยุคปัจจุบัน จากนั้นจึงทำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกมาโดยการเพิ่มคุณค่าให้ตัวสินค้าด้วยการนำส่วนผสมที่นำเข้าจากต่างประเทศเข้ามาประกอบ เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้ามากขึ้น โดยอยู่ในราคาที่จับต้องได้ 

ที่สำคัญคือมีการปรับภาพลักษณ์แบรนด์ทั้งในเรื่องของโลโก้ สีสัน และแพ็กเกจจิ้งของผลิตภัณฑ์ให้ดูสวยงาน ทันสมัย ไม่เชย พกพาง่าย และใช้งานสะดวกขึ้น 

ส่วนในฝั่งของช่องทางจัดจำหน่าย ทางแบรนด์ก็เดินหน้าจัดเต็มทั้งฝั่งออนไลน์และออฟไลน์ เรียกได้ว่าหาซื้อง่าย ไปทีาไหนก็เจอ

ไม่เพียงเท่านี้ในด้านการสื่อสารศรีจันทร์เองก็ทำได้ดี ด้วยเนื้อหาที่สื่อถึงผู้หญิงยุคใหม่โดยบอกเล่าความแข็งแกร่งของแบรนด์เครื่องสำอางไทยที่เข้าใจสาวไทยในทุกยุคทุกสมัย จนทำให้แบรนด์ศรีจันทร์อยู่ในกระแส เป็นที่พูดถึง และกลับมาได้รับความสนใจจากสาวๆ สมัยใหม่ จนทำให้ยอดขายกลับมาพุ่งสูงขึ้นอีกครั้งเช่นกัน

Case Study Rebranding​ กลยุทธ์​ทางการตลาดที่ช่วยเปลี่ยนภาพลักษณ์​ กระตุ้น​ยอดขาย​ และจับกลุ่มลูกค้าใหม่​ สำหรับแบรนด​์ที่อยู่มานาน​

แม่ประนอม

ในกรณีของแม่ประนอมจะแตกต่างออกไป เพราะถึงแม้จะผ่านเวลามานาน ผลิตภัณฑ์น้ำจิ้มไก่ของแม่ประนอมก็ยังคงขายดีและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง แต่แทบไม่มีใครรู้เลยค่ะว่านอกจากน้ำจิ้มไก่แล้ว แม่ประนอมเขายังมีสินค้าตัวอื่นๆ อย่างน้ำพริกเผา น้ำมันพริกเผา และน้ำพริกนรก อยู่ด้วย

งานยี้แม่ประนอมก็เลยจัดการ Rebranding ตัวเอง ผ่านการทำคอนเทนต์สุดสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นคำคมเด็ดๆ หรือสูตรอาหารที่น่าสนใจ เปลี่ยนคาแรกเตอร์ปม่ประนอมจากคุณป้าเชยๆ ที่อยู่บนฉลากข้างขวด เป็นคุณป้าสุดแซ่บ ที่เก๋าเกม และแก่ประสบการณ์ มาคอยสอนลูกๆ หลานๆ ให้สมกับเป็นตัวแม่ที่อยู่คู่ครัว คนไทยมาแล้วมากกว่า 60 ปี โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นแม่บ้านสมัยใหม่

แน่นอนว่าการ Rebranding ครั้งนี้เป็นที่พูดถึงกันในวงกว้าง จนบรรลุเป้าหมายที่ต้องการสร้างการรับรู้การมีอยู่ของผลิตอื่นๆ ของแบรนด์ด้วย

Case Study Rebranding​ กลยุทธ์​ทางการตลาดที่ช่วยเปลี่ยนภาพลักษณ์​ กระตุ้น​ยอดขาย​ และจับกลุ่มลูกค้าใหม่​ สำหรับแบรนด​์ที่อยู่มานาน​

ดอยคำ

สำหรับแบรนด์นี้้ป็นการ Rebranding เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายที่เปลี่ยนไป จากเดิมนั้นดอยคำมักจะถูกซื้อหาเป็นของฝาก ของเยี่ยมไข้ หรือเป็นของขวัญสำหรับให้ผู้ใหญ่ 

แต่เนื่องจากเทรนด์รักสุขภาพที่มาแรงแซงทางโค้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ดอยคำจึงทำการ Rebranding ครั้งใหญ่ โดยยังรักษาฐานลูกค้าเดิมที่เป็นกลุ่มคนที่รักสุขภาพไว้ ในขณะเดียวกันก็พุ่งเป้าจับกลุ่มไปที่คนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจในสุขภาพเช่นกัน

การ Rebranding ในครี้งนี้ ทางดอยคำมีจุดประสงค์ในการเจาะกลุ่มคนอายุ 20-30 ปี โดยเฉพาะ จึงมีการปรับภาพลักษณ์ใหม่ทั่วตัวโลโก้ และแพ็กเก็จจิ้ง รวมถึงออกไลน์ผลิตภัณฑ์ที่นอกจากจะมุ่งเน้นเรื่องสุขภาพแบบเดิมแล้วยังเพิ่มเติมเรื่องของความสวยจากภายในด้วย เช่น การปรับสูตรแบบ low sodium, การใช้ความหวานจากใบหญ้าหวานแทนน้ำตาล หรือการทำเครื่องดื่มน้ำมะเขือเทศ moctail ที่ดื่มง่าย และดีต่อผิวพรรณ เป็นต้น

ซึ่งการ Rebranding ครั้งนี้ก็ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก ได้รับความสนใจจากคนรุ่นใหม่ที่ต้องการให้ผิวดูสุขภาพดีจากภายในสู่ภายนอก จะเห็นได้จากยอดขายและส่วนแบ่งการตลาดที่สูงขึ้นกว่าเก่าอย่างชัดเจน

Case Study Rebranding​ กลยุทธ์​ทางการตลาดที่ช่วยเปลี่ยนภาพลักษณ์​ กระตุ้น​ยอดขาย​ และจับกลุ่มลูกค้าใหม่​ สำหรับแบรนด​์ที่อยู่มานาน​

จากตัวอย่างที่แบมนำมาให้ดูจะเห็นว่าแต่ละแบรนด์ก็มีวัตถุประสงค์และสถานการณ์ในการ Rebranding ที่แตกต่างกันไปก็จริง แต่ด้วยการ Rebranding นั้นก็แสดงให้เห็นแล้วว่ากลยุทธ์นี้มีประโยชน์ และสามารถพาธุรกิจของคุณไปถึงเป้าหมายได้จริงๆ

ส่วนใครที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์และความรู้การตลาดอื่นๆ ที่น่าสนใจ แบมแนะนำให้ไปอ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่ เลยค่ะ

ในบทความหน้าแบมจะมีอะไรมาอัปเดตอีกบ้าง สามารถติดตามได้ผ่านเพจการตลาดวันละตอน รวมถึง Twitter และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนนะคะ

ที่มา 1 / 2 / 3

Bambinun*

Content Creator แห่งการตลาดวันละตอน ที่หลงรักการเล่าเรื่องผ่านตัวหนังสือ พอๆ กับการกินของอร่อย และใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเป็นทาสแมว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่