MEWtaverse กรณีศึกษา ใช้ Technology ตอนไหนให้ “คุ้ม” กับแบรนด์

MEWtaverse กรณีศึกษา ใช้ Technology ตอนไหนให้ “คุ้ม” กับแบรนด์

Case Study กรณีศึกษาการใช้ Technology ให้คุ้มกับแบรนด์ ท่ามกลางกระแส Metaverse ที่ส่งผลต่อ Marketing ทั่วโลก ของมาดูผ่านแคมเปญการตลาด MEWtaverse กันดีกว่า ที่เลือกใช้เทคโนโลยีตามความเหมาะสม ที่สำคัญคือทำให้เกิด Marketing Effectiveness แบบสุดๆ ครับ

Hype Cycle for Emerging Technologies จาก Gartner เป็นเครื่องมือที่แสดงถึงเทรนด์ Technology ซึ่งถูกนำไปประยุกต์สำหรับนักการตลาดทั้งหลาย จากเครื่องมือดังกล่าว ทำให้เห็นว่า ก่อนที่ Technology ใดๆ จะกลายเป็น Mass ได้นั้น จะต้องมีขั้นตอนมากมายที่แบรนด์ และผู้ใช้งานต้องเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน และสิ่งที่นักการตลาดจะต้องขบคิดก็คือ เราควรนำ Technology มาใช้เมื่อไหร่-ตอนไหนให้เหมาะสม?

ถ้าพูดถึงหนึ่งใน Buzz Word ที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา คงหนีไม่พ้น Metaverse ที่กลายเป็นกระแสในการค้นหาที่พุ่งสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายปีจนถึงปัจจุบัน

ถ้าพูดถึงในแวดวงการตลาดในเมืองไทย ก็มีกระแสการตอบรับ Metaverse ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ทั้งใหญ่-เล็ก ต่างก็เข้าสู่โลก Metaverse อย่างคึกคัก ทั้งต่างวัตถุประสงค์ ต่างการวัดผล และต่างงบประมาณในการใช้งาน

แต่วันนี้ เราอยากพูดถึง “แคมเปญหนึ่ง” ในช่วงเดือนที่ผ่านมา ที่ถึงแม้ว่าจะไม่ได้นำ Metaverse มาใช้เป็นแบรนด์แรก แต่ก็มีวิธีการทำ Campaign ที่ “คุ้ม” กับวัตถุประสงค์ด้านการขายจนได้รับการจับตามองในไทย รวมถึงเป็นเคสที่ถูกพูดถึงเกี่ยวกับ Metaverse Adoption ไปในหลายประเทศ

CP โบโลน่าพริก – MEWtaverse ทำไมไส้กรอก กับ Metaverse ถึงเข้ากันได้ ?

ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา แผนการตลาดในพอร์ตไส้กรอก ได้เน้นการเข้าถึงฐานลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งทาง CP เองก็เน้นไปที่การใช้ดารา-นักแสดง ที่กำลังเป็นกระแส และมีฐานแฟนคลับ ซึ่งถือเป็นคือ Winning Formula ที่ใช้มาอย่างต่อเนื่อง

โดยมักจะเริ่มทำแคมเปญทั้งออนไลน์-ออฟไลน์ และปิดท้ายด้วยการจัด Event เพื่อให้แฟนคลับได้ใกล้ชิดกับศิลปินมากขึ้น

เเต่ในช่วง COVID การจัดกิจกรรมของแฟนคลับ จะยังเหมาะที่จะจัดได้จริงหรือ?

ไม่ใช่ตามกระแส แต่เป็นการแก้ปัญหา

มีคำถามเกี่ยวกับ Metaverse ที่ถูกนำมาใช้ในทางการตลาด ถ้าถามว่าวัตถุประสงค์ในระยะสั้นที่ใช้เพิ่มยอดขายแคมเปญ การใช้ Metaverse เป็นทางเลือกที่ดีจริงหรือไม่ เเม้ว่ากระแสของ Virtual Event จะทำให้คนตื่นตัวมากขึ้น แต่ถ้าเป็น Event ที่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่าย สำหรับกลุ่มเป้าหมายระดับ Mass แล้ว จะมีคนยอมจ่ายมากน้อยแค่ไหน อันนี้เป็นสิ่งที่เราต้องรับมือและหาทางออก

From Metaverse to MetaWorth

จากอุปสรรคในการจัด Fan Meeting กลับกลายเป็นโอกาสสำคัญที่ทีมการตลาดมองเห็น เพราะในการจัดงาน Fan Meeting แต่ละครั้ง จะสามารถรับรองแฟนคลับได้เพียงแค่หลักร้อย แต่ถ้าเป็น Metaverse ก็ไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องจำนวนแฟนๆ ทั้งแฟนคลับต่างจังหวัด หรือต่างประเทศก็สามารถเข้าร่วมงานได้ ถือเป็นงานที่ได้รับกระแสที่ดี และประสบความสำเร็จในระดับที่เรียกว่าเกินคุ้ม

  • เพียงแค่ 120 นาทีแรก มีคนสนใจลงทะเบียนมากกว่า 2,000 คน
  • ยอดขาย CP Bologna โตสุดในประวัติการณ์ ในช่วงของกิจกรรม
  • มีจำนวนผู้เข้าร่วมงานหลักพันคนครั้งแรกของ Fan Meet Party บน Metaverse
  • หลังเริ่มงานได้ 30 นาที Hashtag แคมเปญถูกแท็กออกไปกว่า 1.5 ล้านครั้ง 
  • No.1 Twitter Trend ไทย เวียดนาม สิงคโปร์ No.3 Worldwide Trend 

เคล็ดลับอยู่ที่ “Brand Experience” ไม่ใช่ Technology

จากเคสนี้แสดงให้เห็นว่า นอกเหนือจากการทำ IMC ที่เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคแล้ว การเข้าใจ Customer Journey ก็เป็นเรื่องที่สำคัญ 

เราได้ดึงให้กลุ่มเป้าหมายมาจบใน Metaverse ที่ไม่ใช่แค่ Event เสริม แต่เป็น Event ที่เพิ่มรายได้ และให้แฟนคลับได้ฟินกับประสบการณ์ในทุกๆ Touch Point ของแบรนด์โดยแท้จริง

ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวิธีคิดโดยการมองที่ Brand Experience ก่อน แล้วค่อยนำ Technology + Idea มาเชื่อมต่อในการทำเเคมเปญให้สมบูรณ์ที่สุด

ในบทความหน้าผมจะมีอะไรมาอัปเดตอีกบ้าง สามารถติดตามได้ผ่านเพจการตลาดวันละตอน รวมถึง Twitter และ Blockdit ของการตลาดวันละตอน

Reference:
https://www.gartner.com/en/research/methodologies/gartner-hype-cycle
https://trends.google.co.th/trends/explore?q=Metaverse

Dissara Udomdej

CEO & Founder of Yell Advertising - อดีตบรรณารักษ์ ที่กลายมาเป็นนักโฆษณา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่