Case Study Fresh System ของซูเปอร์มาร์เก็ตดัง ปรับ Buyer Behavior แนะวิธีรักษาความสดของผักผลไม้

Case Study Fresh System ของซูเปอร์มาร์เก็ตดัง ปรับ Buyer Behavior แนะวิธีรักษาความสดของผักผลไม้

วันนี้ปลื้มจะมาเล่า Case Study จาก ซูเปอร์มาร์เก็ต Carulla ในโคลอมเบีย กับโครงการ Fresh System ที่ช่วยให้ผู้คนเก็บผักและผลไม้สดไว้ได้นานขึ้น เพื่อช่วยลดขยะอาหารทั่วโลก โดยใช้วิธีที่ดูเรียบง่าย Simple มากๆ ที่บอกเลยว่าห้างซูเปอร์มาร์เก็ตไทยก็สามารถประยุกต์ใช้ได้

ปัญหาโลกร้อน

สาเหตุหลักๆ ของการปลี่ยน Buyer Behavior ของ ซูเปอร์มาร์เก็ต Carulla สืบเนื่องมาจาก ข้อมูลของ WRAP UK ประมาณ 1 ใน 3 ของอาหารทั้งหมดที่ผลิตทั่วโลกถูกทิ้งไป ซึ่งก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระหว่าง 8-10% ของทั้งหมดในปี 2020 

นอกจากนี้แนวโน้มวิกฤตการบริโภคทั่วโลกที่สำรวจว่าแบรนด์ต่างๆ ควรจัดการกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกอย่างไร โดยสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนบริโภคและทิ้งขยะให้น้อยลงเพื่อปกป้องโลกของเรา นักการตลาดจำเป็นต้องรับผิดชอบต่อบทบาทของตนในวิกฤตสภาพอากาศและดำเนินการทั้งต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในและผู้บริโภค ในการซื้ออย่างประหยัด รอบคอบ และยั่งยืน นั่นเองค่ะ

จึงเกิดโครงการ Fresh System ของ ซูเปอร์มาร์เก็ต Carulla

ด้วยความที่แบรนด์เล็งเห็นถึงการจัดการกับเศษอาหาร Food Waste ให้เป็นแนวทางรักษาความสดของอาหาร โดยเฉพาะ ผักและ ผลไม้ จึงได้จัดทำแนวทางที่จะจัดกลุ่มผักและผลไม้ชนิดต่างๆ ว่าควรเก็บรวมกันหรือแยกกัน เพื่อชะลอระยะเวลาการสุกและป้องกันไม่ให้สุกก่อนกำหนด

โดยเขาได้จึงทำงานร่วมกับนักโภชนาการผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแยกจากเอทิลีนที่เป็นก๊าซธรรมชาติ ที่ถูกปล่อยออกมาจากผักและผลไม้บางชนิด เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผักผลไม้สดสุกและเน่าเสีย คือจะแบ่ง 2 กลุ่ม : กลุ่ม 1 กลุ่มที่ผลิตเอทิลีนมาก (+) สีแดง / กลุ่ม 2 กลุ่มที่ผลิตเอทิลีนน้อย (-) สีเขียว ว่าเราควรจะแยกเก็บในอุณหภูมิห้อง ตู้เย็น หรือช่องแช่แข็ง

Case Study Fresh System ของซูเปอร์มาร์เก็ตดัง ปรับ Buyer Behavior แนะวิธีรักษาความสดของผักผลไม้
CR : behance.net

แปลว่าถ้าเราวางอยากไปผักหรือผลไม้สุกเร็วขึ้น ก็แค่วางชนิด (+)และ(-) ไว้ใกล้กัน เช่นวางส้ม(-) ไว้ข้างอโวคาโด (+) ส้มก็จะสุกง่อมขึ้น ในขณะเดียวกันถ้าเราอยากยืดระยะเวลาในของสดอยู่ได้นานขึ้น ก็ไม่ควรนำชนิด (+)และ(-) ไว้ด้วยกันค่ะ

สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความรู้ที่คนทั่วไปไม่ค่อยรู้ และไม่ค่อยแยกกลุ่มผักหรือผลไม้ตามการทำงานของเอทิลีน เพราะบางทีคนเราไม่ได้จำว่าผลไม้หรือผักชนิดไหนบ้างที่ผลิตเอทิลีนมากน้อย ทำให้แนวคิดนี้ทำให้ชีวิตประจำวันของการซื้อของสดนั้นมีวิธีการคงความสดที่ง่ายขึ้นค่ะ

Case Study Fresh System ของซูเปอร์มาร์เก็ตดัง ปรับ Buyer Behavior แนะวิธีรักษาความสดของผักผลไม้
CR : behance.net

ซึ่งแบรนด์เองก็ได้ทำตารางการแยก (+)(-) สื่อสารอยู่ในช่องทางดิจิทัลและเครือข่ายโซเชียลมีเดียของ Carulla ส่วนออฟไลฟ์ก็จะติดป้ายไว้ที่หน้าสินค้า เพื่อให้ผู้ซื้อสะดวกในการสังเกตุเห็นได้ง่าย และไม่ลืมที่จะแปะข้อมูลเรื่องนี้ไปกลับของสดที่ลูกค้าซื้อไป เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าดูซ้ำที่บ้าน รวมถึงคำสั่งซื้อออนไลน์ด้วยเช่นกันค่ะ ที่บอกวิธีจำแนกตามฉลากว่าควรจัดเก็บอย่างไรให้ดีที่สุด

สรุป

Case Study Fresh System ของซูเปอร์มาร์เก็ตดัง ปรับ Buyer Behavior แนะวิธีรักษาความสดของผักผลไม้
CR : behance.net

หนึ่งสิ่งจาก Case Study ที่ส่งผลต่อผู้ซื้อเลยคือ โครงการ Fresh System นี้ช่วยปรับ Buyer Behavior ของการเก็บผักและผลไม้ที่มีกระบวนการมากขึ้น โดยปกติเราอาจจะวางรวมๆ กัน หรือใส่ในตู้เย็นปนๆ กัน แต่วิธีนี้จะทำให้ผู้ซื้อตระหนักถึงการรักษาสภาพของสดให้อยู่นานขึ้น

ซึ่งเหตุผลหลักอาจจะเพราะรู้สึกเสียดายที่ซื้อผลไม้มาแล้วเน่าก่อน และไม่ทันได้กิน ทำให้เสียเงินไปฟรีๆ ทำให้วิธี Simple ของซูเปอร์มาร์เก็ตแบรนด์นี้ได้รับความสนใจจากลูกค้าให้ยอมปรับพฤติกรรมตามแบบไม่รู้ตัว ส่วนแบรนด์นั้นก็สามารถจัด Shelf ที่วางสินค้าให้รักษาความสดของผักผลไม้ให้ขายได้นานขึ้น แถมได้ขึ้นชื่อเป็นห้างรักษ์โลก จากการลดการทิ้งขยะอาหารอีกด้วยค่ะ

สำหรับใครที่กำลังหารักษาความสดของผักผลไม้ ก็ลองเอาวิธีนี้ไปใช้ตามดูได้นะคะ จะได้ลดของเน่าก่อนที่ควรจะเป็น และนักการตลาดจะเห็นว่าโครงการนี้ใช้แนวคิดแบบง่ายมากๆ แต่สร้างความเข้าใจ รวมถึง Value ให้แบรนด์ได้ดีจริงๆ ค่ะ

สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม หรือข่าวสารการตลาด สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึง เว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ

Source

Yoswimol

🎡PLEUM | Data Research Executive ในเครือการตลาดวันละตอน | สนใจเรื่องการตลาด ชอบดูการแข่งขันทางการตลาด และเป็นทาสตลาด... ทุกบทความตั้งใจเขียนมาก ขอบคุณที่เข้ามาอ่านกันนะคะ มันเป็นกำลังใจที่ทำให้อยากเขียนต่อไปเลย☺️

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *