จิตวิทยาการตลาด – ดึงดูดลูกค้าได้ จากป้ายเข้าคิว

จิตวิทยาการตลาด – ดึงดูดลูกค้าได้ จากป้ายเข้าคิว
ร้านอร่อยดูจากป้ายเข้าคิว

เราจะรู้ได้ยังไงว่าร้านนี้อร่อยมั้ยถ้ายังไม่เคยกินมาก่อน?

เรื่องมันเริ่มจากวันก่อนผมผ่านไปแถวบางรัก แล้วก็เห็นรถเข็นขาหมูคันนึงผ่านไป ด้วยสีสันขาหมูดูน่ากินแถมกลิ่นยังยั่วยวนชวนหิว ก็เลยคิดว่าอยากจะซื้อกลับไปกินที่บ้านเป็นมื้อเย็นวันนั้น แต่มีคำถามนึงที่ผุดขึ้นมาในหัวคือ “แล้วมันอร่อยมั้ย?”

จะรู้ได้อย่างไรว่าร้านไหนขายดี

มองแว้บแรกต้องสารภาพเลยครับว่าเดาไม่ออกเลยว่าร้านนี้รสชาติจะดีไหม เพราะร้านขาหมูรถเข็นคันนี้เพิ่งจะเข็นผ่านไปและยังไม่ทันตั้งร้านดี 

ต้องบอกว่าโดยปกติแล้วคนเรามักจะสังเกตความอร่อยออกได้ผ่านสัญญาณบางอย่าง เช่น

มีคนกินเยอะ…ก็การันตีได้ถึงความอร่อยที่ผ่านมาตรฐานคนหมู่มาก 

ป้ายเชลล์ชวนชิม..สมัยก่อนเชื่อถือได้ แต่สมัยนี้ไม่ได้มีความขลังอะไรแล้ว

หรือเสิร์ชดูรีวิวในเน็ต ดูว่าคนพูดถึงว่ายังไง

แต่กับร้านที่ยังไม่ตั้งเสร็จดี ก็เลยยังไม่มีคนมากินให้เห็น และบวกกับตัวผมเองก็ต้องรีบไปต่อแล้วด้วย ดังนั้นผมต้องเลือกเอาแล้วหละว่าจะเสี่ยงซื้อขาหมูเจ้านี้กลับไปกินที่บ้านดีมั้ย

ใช้ “ป้ายเข้าคิว” เป็นสัญญะของความอร่อย

หลังจากลังเลอยู่นาน สุดท้ายผมเห็นสัญลักษณ์บางอย่างที่ทำให้ผมมั่นใจในระดับนึงว่าร้านนี้ “น่าจะอร่อย” ก็ตรงป้ายที่ด้านซ้ายบนของรูปครับ “กรุณาเข้าคิว”

ป้ายนี้ทำให้ผมจินตนาการได้ว่าปกติแล้วร้านนี้น่าจะมีคนเยอะ จนต้องมีป้ายนี้ขึ้นมาเพื่อให้คนรู้ว่าต้องต่อคิว เพราะถ้าร้านปกติคนไม่เยอะเป็นประจำก็ไม่น่าจะมีป้ายนี้ติด ต้องขอบคุณป้าย “กรุณาเข้าคิว” มากๆ ที่ทำให้ผมตัดสินใจถูกที่ซื้อมากิน เพราะขาหมูเทวดาแถวบางรักใกล้ๆ ร้านโจ๊กปริ้นซ์นี้อร่อยมากจริงๆ ครับ

แต่ผมกลับมาคิดอีกครั้งว่าถ้าร้านนี้ไม่อร่อยจริง แต่เจ้าของร้านฉลาดคิดเรื่องจิตวิทยาเลยทำป้ายนี้ขึ้นมา ผมก็จะไม่เสียใจที่ตกเป็นเหยื่อการตลาดแบบตลาดๆ เลย

เห็นมั้ยครับว่าแม้จะเป็นขาหมูรถเข็น ก็สามารถทำการตลาดผ่านป้ายโฆษณาเล็กๆ อย่างป้าย “กรุณาเข้าคิว” ขึ้นมาได้ ต่อให้เวลาที่คนยังไม่เยอะก็ทำให้คนที่เห็นมั่นใจได้ว่าร้านนี้น่าจะอร่อย จนต้องมาต่อคิวตามป้ายได้จริงๆ

ส่วนใครที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์การทำตลาดในรูปแบบอื่นๆ แนะนำให้ไปอ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่ 

ในบทความหน้าผมจะมีอะไรมาอัปเดตอีกบ้าง สามารถติดตามได้ผ่านเพจการตลาดวันละตอน รวมถึง Twitter และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนนะค​รับ

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน