Hijack Marketing การตลาด ต่อยอดจาก Data ของ Spotify

Hijack Marketing การตลาด ต่อยอดจาก Data ของ Spotify

วันนี้ปลื้มจะมาเล่า Case study จาก Spotify ผู้ให้บริการสตรีมเพลง ที่บอกเลยว่าต่อยอด Data ของตัวเองได้เก่งมาก แถมยังใช้กลยุทธ์ Hijack Marketing กับคู่แข่ง จนดึงกระแสจากผู้ชมมาได้ ด้วยแคมเปญ การตลาด ง่ายๆ แทบจะไม่ต้องลงทุนหรือใช้งบมหาศาลอะไร เขาทำยังไงนั้น เรามาศึกษาเคสนี้ด้วยกันเลยค่ะ

แต่ก่อนอื่นเรามารู้จัก Hijack Marketing กันก่อนดีกว่า มันคือ การตลาด ขโมยความสนใจ การแย่งชิงความโดดเด่นจากคู่แข่ง โดยกลยุทธ์นี้มักเอาตัวเองแทรกเข้าไปอยู่ในกระแสสำคัญๆ หรือที่มีผู้ชมกำลังให้ความสนใจอยู่จำนวนมากนั่นเองค่ะ

แคมเปญ #ListenToYourFans ของ Spotify

Spotify ทำแคมเปญ #ListenToYourFans เพื่อใช้ประโยชน์จากงานเทศกาลดนตรี ที่ผู้คนอัดอั้นกันมานานถึง 2 ปี เพราะโควิด-19 ค่ะ แต่พอหลังสามารถจัดคอนเสิร์ต งานดนตรีต่างๆ ได้ Spotify จึงต้องการจับกระแสแฟนเพลงโดยการใช้กลยุทธ์ Hijack ในการสู้กับผู้สนับสนุนหลักของงานเทคกาลดนตรี อย่าง Claro Músic เป็นผู้สนับสนุนเทศกาลดนตรี The Estéreo Picnic ที่โบโกตา ประเทศโคลอมเบีย

นอกจากนั้นคือเขาได้วิเคราะห์เซ็ตลิสต์จากคอนเสิร์ตล่าสุดของศิลปิน + เปรียบเทียบกับเพลงยอดนิยมของพวกเขาบน Spotify เพื่อให้รู้ว่าเพลงไหนในโคลอมเบียที่มีการสตรีมมากที่สุด แต่ศิลปินไม่ได้นำเพลงนั้นไปร้องสดบ้าง และนำข้อมูลเหล่านี้ ทำสื่อสารบนออนไลน์ และออฟไลน์

ซึ่งเป็นโฆษณา ให้ฟีลแบบส่งข้อความไปถึงศิลปิน แบบแท็กชื่อเพลง และศิลปิน เพื่อขอให้เขาร้องเพลงนั้นในงานดนตรี โดยแคมเปญนี้ได้รับการเผยแพร่บนโซเชียลมีเดีย ให้แฟนๆ ได้รับการสนับสนุนให้แชร์โฆษณาดังกล่าวพร้อมด้วยแฮชแท็ก #ListenToYourFans ส่วน OOH เอง Spotify วางโฆษณางไว้ในสถานที่ที่ศิลปินน่าจะเห็น ก่อนไปเทศกาลมากที่สุด เช่น อาคารผู้โดยสารขาเข้าของสนามบิน ทางหลวง และในโรงแรม เป็นต้นค่ะ

สิ่งนี้ทำให้ศิลปินมีรีแอคชันกลับ และแฟนคลับก็ออกมาช่วยเชียร์ด้วยอีกแรง ทำให้ #ListenToYourFans ได้กระแสเเซงหน้าผู้สนับสนุนหลัก เรียกได้ว่าขโมยซีนไปเต็มๆ ค่ะ แถมยังไม่ต้องทุ่มงบเป็นสปอนเซอร์หลายบาท พร้อมกันนี้ Spotify ได้มูลค่าจากสื่อสูงถึง 2,500% และผู้ชมก็เข้าไปเพิ่มยอดวิวให้อีกด้วยค่ะ

บทวิเคราะห์

อย่างที่เราเห็นว่า Spotify ใช้ดาต้าตัวเองได้เกิดประโยชน์จริง ปลื้มว่าดีกว่าการรายงานจัดอันดับเพลงประจำปีเฉยๆ เพราะปกติเหล่าผู้ให้บริการสตรีมเพลงมักจะรวบรวมข้อมูล จัดอันดับ Top เพลงต่างๆ ออกมาแค่นั้น แต่นี่ Spotify ทำมากกว่านั้น โดยที่ใช้ข้อมูลของตัวเองในการขับเคลื่อนแคมเปญ

อีกทั้งยังใช้กลยุทธ์ทางการตลาด Hijack ที่ชาญฉลาดมาก สามารถเปลี่ยนความสนใจจากคู่แข่ง การเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของคอนเสิร์ต โดยไม่ต้องสปอน แถมทำให้แฟนคลับ ศิลปิน หันมาสนใจ Spotify แทน ถือเป็นการแก้ Pain Point ของผู้ชมที่อยากฟังเพลงที่ศิลปินบางทีไม่ได้หยิบมาร้องสดในงานดนตรี ทำให้ครั้งนี้ผู้ชมเอ็นจอย เสียงกระหึ่มไปทั่วงาน

นี่เลยเป็นเคสแบรนด์ที่ใช้ Data เก่งแบรนด์หนึ่งเลย ที่ปลื้มอยากเอามาเล่า เผื่อเป็นแนวคิดในการต่อยอดวางแผนกลยุทธ์ ใครมีดาต้าของตัวเองอย่าลืมหยิบมาใช้ประโยชน์แบบ Spotify ดูนะคะ หรือลองกลยุทธ์ Hijack Marketing ไม่แน่อาจดึงดูดใจกลุ่มเป้าหมายได้มหาศาลก็ได้นะ

ตัวอย่างการใช้ กลยุทธ์ Hijack Marketing ที่สามารถศึกษาต่อ

สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ

Source

Yoswimol

🎡PLEUM | Data Research Executive ในเครือการตลาดวันละตอน | สนใจเรื่องการตลาด ชอบดูการแข่งขันทางการตลาด และเป็นทาสตลาด... ทุกบทความตั้งใจเขียนมาก ขอบคุณที่เข้ามาอ่านกันนะคะ มันเป็นกำลังใจที่ทำให้อยากเขียนต่อไปเลย☺️

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน