Spotify Wrapped Campaign ทำไมถึงประสบความสำเร็จ ?

Spotify Wrapped Campaign ทำไมถึงประสบความสำเร็จ ?

ในสิ้นปีแบบนี้หลายๆคนอาจจะเห็น Social Media ต่างๆ เริ่มมีคนแชร์ Year in Review กันไม่น้อย ว่าที่ผ่านมานั้นพวกเขาได้มีโมเม้นต์อะไรมาบ้างผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ที่เรามักจะใช้เป็นประจำ หนึ่งในนั้นคงไม่พ้นแอพ Streaming เพลงชื่อดังอย่าง Spotify ที่คนมักจะให้ความสนใจในช่วงสิ้นปีเป็นอย่างมาก แล้วเราจะพาทุกคนมาถอดรหัสกันว่า Spotify Wrapped Campaign นี้มีส่วนผสมอะไรกันบ้างที่ทำให้คนเรานึกถึงทุกๆปีค่ะ

Spotify Wrapped คืออะไร

โดยฟีเจอร์อันนี้จะทำงานผ่าน Data ที่ใช้งานทั้งปี ผ่านการสรุปผลออกมาแบบ Personalized แบบทั้งที่เป็นเพลงที่เรามักจะฟัง ศิลปินที่ฟังบ่อย หรือประเภทเพลงที่เรามักจะเปิด ซึ่งในแต่ละปีทาง Spotify Wrapped ก็จะมี Gimmick ที่แตกต่างกันไป

แล้วทำไม Spotify Wrapped ประสบความสำเร็จ

1) Data-driven content is useless without strategic thinking

หลายครั้งการเอา Data มาทำ Personalization อาจมองว่าเป็นเรื่องที่ง่าย แค่มีข้อมูลที่มากพอแล้วเอามาส่งตรงถึงผู้ใช้งานแล้วก็จบไป แต่เชื่อไหมคะว่า Secret Source ของการทำ personalization คือการ Deliver สิ่งที่เป็น Value ออกมาจริงๆ อะไรคือสิ่งที่คนอยากรู้ อะไรคือสิ่งที่คนอยากเห็น แล้วอะไรคือสิ่งที่ทำให้คนชอบจนต้องกดแชร์ให้เพื่อนๆ คนรอบตัวได้รับรู้ 

สำหรับหลายๆคนมองว่าการฟังเพลงก็เหมือนเป็น Self-concept ที่สามารถบ่งบอกถึงไลฟ์สไตล์และรสนิยมของเราที่ไม่ต่างจากเสื้อผ้าที่เราใส่ นั่นก็เป็นเหตุผลว่าทำไมคนมักจะชอบเล่นฟีเจอร์นี้และกดแชร์ไปให้เพื่อนๆได้เห็น ที่สำคัญอีกอย่างนึงคือความเป็น Spotify เป็นแพลตฟอร์มที่ขึ้นชื่อว่ารู้ใจใครหลายๆคนอยู่แล้ว ซึ่งก็เป็นเหตุผลที่ทำให้ฟีเจอร์นี้โตอย่างก้าวกระโดดได้ค่ะ 

Source

2) Spotify Wrapped Campaign คือ Influencer Marketing ที่ดีที่สุด

Spotify Wrapped นอกจากจะรีแคปในมุมมองของผู้ฟัง แต่ยังมีฟีเจอร์สำหรับ Podcasters หรือเหล่าศิลปินที่อยู่บนแพลตฟอร์มว่าพวกเขามีคนฟังมากแค่ไหน และมีผู้คนกี่ประเทศได้ฟังเพลงของพวกเขา ฟีเจอร์นี้เองที่ทำให้ศิลปินต่างๆ ที่มีฐานแฟนคลับอยู่มากมายได้เห็นการแชร์ฟีเจอร์นี้ออกไปผ่านโซเชี่ยลมีเดียต่างๆ โดย Spotify แทบไม่ต้องเสียเงินค่าการตลาดเลย 

3) User-generated content สร้าง FOMO บนโลก social media

แน่นอนค่ะว่าการที่เรารีแคปอะไรที่เราทำมาทั้งปี อาจจะมีเรื่องที่เรามักจะลืมโมเม้นที่แสนตลก หรือโมเม้นที่เราเสียใจไปแล้ว ซึ่งการที่รีแคปครั้งนี้ทำให้หลายๆคนก็มักจะเอาไปต่อยอดทำเป็นมีมตลกๆ ผ่านโซเชียลมีเดีย โดยสร้างสิ่งที่เรียกว่า Fear of Missing Out (FOMO) กลัวการตลกกระแส ซึ่งก็ทำให้การใช้ฟีเจอร์นี้ฮอตฮิตมากในวงวัยรุ่นค่ะ 

4) Spotify Wrapped สร้างการแข่งขันแบบเงียบๆ

เป็นเรื่องปกติของมนุษย์ที่มักจะมีการเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นตลอดเวลา Spotify Wrapped จึงสร้างเซ้นซ์ของการแข่งขันจึงเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว ผู้ใช้งานถูกกระตุ้นด้วยข้อมูลการใช้งานในแต่ละปี อัลบั้มที่ฟัง รสนิยมที่ถูกวิเคราะห์ผ่าน Data และ Visualize ออกมาได้อย่างสวยงาม เพื่อแชร์ให้คนรอบข้างเห็นความเป็นตัวเองและความมีรสนิยมที่คล้ายๆกับคนรอบตัวนั่นเองค่ะ 

5) Element of surprise สร้างความตื่นเต้นอยู่ตลอด

ในแต่ละปี Spotify จะมีรูปแบบของการรีแคปที่แตกต่างกันออกไป ทำให้เรามักจะตื่นตาตื่นใจรอว่าปีนี้ทางแพลตฟอร์มจะบอกอะไรเรา และสื่อถึงตัวเรามากแค่ไหน 

ปี 2020 มีลูกเล่นให้คนเลือกว่าอันไหนเราฟังเยอะสุด

ปี 2021 มีฟีเจอร์ My Audio Aura ว่าเราเป็นคนประเภทไหน

ปี 2022 เพิ่มการ Personalize มากขึ้นด้วยประเภทที่เราฟังในช่วงละเวลา และการบอก Personality ที่ชัดเจนมากขึ้น

จากทั้งหมดที่พูดมานี่ก็เป็นตัวอย่างของการใช้ Data Driven Marketing จาก Spotify Wrapped Campaign ที่เอามาฝากเพื่อนๆ ค่ะ หัวใจหลักก็คือการเข้าใจว่าอะไรคือ Value ที่เข้าถึงใจ users จริงๆ ผ่านการพรีเซ้นเรื่องราวที่น่าสนใจและมีเซอร์ไพร์สโดยที่ไม่น่าเบื่อ ซึ่งนั่นก็ทำให้ฟีเจอร์นี้ยังคงครองใจผู้ใช้งานตั้งแต่ปี 2010 ค่ะ 

Pitchakorn Sirimonta

Freelance at Everyday Marketing.co and current social media management who has a passion for business innovation and believe in data-driven marketing.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่