กลยุทธ์หยกสด แบรนด์ขนมไทยหอมกลิ่นใบเตย ผ่านมุมมอง STP และ 4P

กลยุทธ์หยกสด แบรนด์ขนมไทยหอมกลิ่นใบเตย ผ่านมุมมอง STP และ 4P

สวัสดีครับเพื่อน ๆ นักการตลาดและเหล่านักอ่านทุกคน ปกติทุกคนชอบกินขนมไทยกันไหมครับ? ผมขอเดาว่าก็คงมีทั้งที่ชอบและไม่ชอบ อาจจะด้วยเรื่องของรสชาติที่อาจจะหวานเกินไป หรือลักษณะหน้าตาที่อาจไม่ดึงดูดสายตาให้อยากลองชิม วันนี้ผมเลยจะพาทุกคนไปรู้จักกับแบรนด์ขนมไทยร่วมสมัย ที่ผสมผสานความดั้งเดิมเข้ากับยุคสมัยใหม่ได้อย่างลงตัวจาก กลยุทธ์หยกสด ที่มาในคอนเซปต์ของ “ขนมไทยใบเตยหาทานยาก” ว่าเขาทำอย่างไรถึงสามารถประสบความสำเร็จได้ในปัจจุบัน

แต่ก่อนอื่นผมคงต้องพาทุกคนไปยังจุดเริ่มต้น ก่อนที่จะมาเป็นแบรนด์ หยกสด ต้องบอกเลยว่าเรื่องราวของคุณ จ๊าก–มหศักย์ สุรกิจบวร ผู้เป็นเจ้าของแบรนด์ก็ไม่ธรรมดาเหมือนกัน

โดยเจ้าของแบรนด์อย่างคุณจ๊าก ที่ได้บวชพระอยู่ที่วัดแห่งหนึ่ง ซึ่งโดยปกติก็จะมีญาติโยมและชาวบ้านในพื้นที่นำอาหาร เครื่องดื่ม และขนมต่าง ๆ มาถวาย ซึ่งแน่นอนว่าขนมไทยก็เป็นหนึ่งในเมนูยอดฮิตเลยทีเดียว ขนมไทยชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาถวาย เป็นขนมสีเขียวๆ ไม่มีรูปร่างอะไร มาพร้อมกับงาคั่วและกะทิในถุงแกงใบเล็ก ซึ่งก็คือขนมเปียกปูน มันก็ไม่ได้มีอะไรเป็นพิเศษ

แต่สิ่งนั้นมันได้กลายเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของแบรนด์ หยกสด ด้วยรสชาติที่มันตรึงใจ ทำให้หลังจากนั้น คุณ จ๊าก ก็ได้ออกตามหาขนมเปียกปูนกะทินั้นอยู่นาน แต่ก็หาไม่เจอสักที จึงนำมาสู่ความคิดที่ว่าถ้าหาไม่เจอก็ทำเองมันซะเลย

ขอบคุณภาพจาก Shutterstock AI Generator Prompt : A beautifully presented traditional Thai dessert called “Kanom Piak Poon” displayed on a plate, cut into small, square pieces with a rich dark green color from pandan leaf juice mixed into its batter. The texture looks sticky, smooth, and slightly gelatinous, with a light glistening effect on the surface suggesting it is moist and cool to the touch. Each square is topped with a generous amount of finely shredded coconut, providing a white contrast and hint of saltiness. The background features a wooden table with fresh pandan leaves and a coconut shell placed nearby, enhancing the authentic, traditional Thai presentation.

ไม่นานคุณ จ๊าก ก็ได้เริ่มลองทำขนมเปียกปูนกะทิตามสูตรบนอินเทอร์เน็ต และแน่นอนว่าพอเป็นครั้งแรกก็ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จในครั้งเดียว ซึ่งก็ได้ทดลองทำอยู่หลายครั้ง จนในที่สุดมันก็สำเร็จจากการที่ได้ให้คุณแม่และเพื่อน ๆ ได้ลองชิม ผลของความพยายามก็คือเรื่องของรสชาติที่อร่อยกล่มกล่อม ถึงขนาดที่เพื่อต้องถามว่า What is this? แล้วก็นำมาสู่ก้าวแรกของการทำธุรกิจและเติบโตมาจนถึงปัจจุบัน ต่อไปเราก็จะไปดูรากฐานของความสำเร็จจากการวิเคราะห์ STP ครับ

โดยผมมองว่าแบรนด์ใช้เกณฑ์หลักอยู่ 3 เกณฑ์ ประกอบไปด้วย

  • Demographic กลุ่มวัยรุ่น ไปจนถึงคนวัยทำงาน
  • Psychographic Segmentation เป็นกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบขนมไทย แต่ก็ต้องการแต่ความแปลกใหม่ในรสชาติและรูปลักษณ์ รวมถึงกลุ่มที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพและต้องการขนมที่มีความหวานน้อยกว่า
  • Geographic ห้างสรรพสินค้าชั้นนำในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ที่มีคนหนาแน่นและมีโอกาสเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพสูง

#แล้วใครจะเป็นลูกค้าตัวจริง (Targeting)

หลังจากที่แบ่งกลุ่มเป้าหมายตามเกณฑ์ที่ได้เลือกมาเรียบร้อยแล้วและเลือกกลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพ โดยผมมองว่าจะมีกลุ่มหลัก ๆ อยู่ 2 กลุ่ม

  • คนรุ่นใหม่และวัยทำงาน เป็นกลุ่มผู้ที่ต้องการขนมที่มีเอกลักษณ์และรสชาติที่แปลกใหม่ คนกลุ่มนี้อาจไม่คุ้นเคยกับขนมไทยดั้งเดิมแต่สนใจที่จะลองสิ่งใหม่ ๆ อีกทั้งยังต้องการของหวานเพื่อลดความเครียดจากการใช้ชีวิตประจำวัน
  • ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ กลุ่มลูกค้าที่ต้องการขนมที่มีความสดใหม่ มีรสหวานน้อยและใช้ส่วนผสมจากธรรมชาติ ให้อารมณ์ประมาณขอหวานนิดหน่อยที่ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ

#แล้วหยกสดจะอยู่ตรงไหนในใจของลูกค้า (Positioning)

ขอบคุณรูปภาพจาก หยกสด

หยกสดวางตัวเองเป็นแบรนด์ขนมไทยสำหรับคนรุ่นใหม่ โดยนำเสนอแนวคิดร่วมสมัย และ รสชาติที่สมดุล เพื่อที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างครอบคลุม

ในส่วนต่อไปเราก็จะมาดูกลยุทธ์การตลาดหยกสดที่ต่อเนื่องมาจากการทำ STP โดยจะมีกลยุทธ์อะไรกันบ้างตามไปดูกันเลยครับ

#Product Strategy

  • Crafting a Distinctive Brand Identity สร้างภาพจำความเป็นขนมไทยใบเตย: แบรนด์ หยกสด เลือกใช้ “ใบเตย” เป็นจุดขายหลักของแบรนด์ ทำให้ผลิตภัณฑ์มีเอกลักษณ์ที่ชัดเจน ไม่เพียงแต่มีสีเขียวที่ดึงดูดความสนใจ แต่ยังมีกลิ่นและรสชาติที่โดดเด่น ซึ่งทำให้ผู้บริโภคจดจำแบรนด์ได้ง่ายและสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง และยังให้ความสำคัญกับบรรจุภัณฑ์ หรือ Packaging ซึ่งโดยปกติทั่วไปเรามักจะเห็นขนมไทยห่อด้วยใบตอง ไม่ก็ใส่กล่องโฟมหรือพลาสติกใส แต่หยกสดได้ยกระดับ Packaging ขนมไทยให้มีความ Modern
  • Harmonizing Heritage and Modernity แนวคิดการผสมผสานแบบร่วมสมัย: หยกสด ไม่ได้เพียงแค่ทำขนมไทยธรรมดาแล้วมีส่วนผสมของใบเตยเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ขนมไทย จึงนำมาสู่การหยิบวัตถุดิบชั้นดีอย่างขนมไทยโบราณ มาผสมผสานกับคอนเซปต์หลักของแบรนด์ในเรื่องของใบเตย ไม่ว่าจะเป็น อินทนิล หรือ บุหลันมรกต ซึ่งก็ถูกปรับปรุงสูตรมาจาก บุหลันดั้นเมฆ
  • Seeking Problems to Solve ความหวานนี่แหละตัวปัญหา: คนไทยหลายคนที่ไม่ชอบทานขนมไทย ส่วนใหญ่ล้วนให้เหตุผลว่า ขนมไทยนั้นมีรสชาติหวานเกินไป อีกทั้งยังเป็นปัญหาในแง่ของสุขภาพร่างกายอีกด้วย ซึ่งหยกสดเองก็ทราบถึง Pain point ในส่วนนี้ของผู้บริโภค จึงพยายามปรับสูตรลดระดับความหวานให้อยู่ในระดับกลาง ๆ เพื่อตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ นอกจากนี้หยกสดก็ยังมีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์อย่างน้ำใบเตย ซึ่งปกติความหวานจะมาจากน้ำตาล ก็เปลี่ยนเป็นหญ้าหวานแทน เพื่อตอบรับต่อเทรนด์คนรักสุขภาพอีกด้วย

#Price Strategy

  • Elevated Value, Accessible Price ราคาพรีเมี่ยมแต่ก็เข้าถึงได้: หยกสดตั้งราคาสินค้าสูงกว่าขนมไทยทั่วไป เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพ และคุณค่าของขนมไทยที่มีความพิถีพิถันในทุกขั้นตอน แต่ถึงแม้จะสูงกว่าขนมไทยทั่วไป แต่ก็ยังเป็นราคาที่ลูกค้าเข้าถึงได้ และรู้สึกว่าได้รับความคุ้มค่า

#Place Strategy

กลยุทธ์หยกสด
ขอบคุณรูปภาพจาก หยกสด
  • Potential Location ร้านค้าภายในห้างสรรพสินค้าสะท้อนภาพลักษณ์: หยกสดเน้นการเปิดสาขาภายในห้างสรรพสินค้าชั้นนำในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ ซึ่งทำให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง และยังช่วยสะท้อนภาพลักษณ์ของขนมไทยให้ดูมีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น
  • Online Channel ช่องทางออนไลน์เพิ่มโอกาสเข้าถึงลูกค้า: แบรนด์มีการขยายช่องทางการขายผ่านออนไลน์และแอปพลิเคชันเดลิเวอรี เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงสินค้าของแบรนด์ได้สะดวกยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็น Line Man หรือ Grab Food

#Promotion Strategy

กลยุทธ์หยกสด
ขอบคุณรูปภาพจาก หยกสด
  • Social Media ตอกย้ำความเป็นขนมไทยใบเตย: หยกสดใช้โซเชียลมีเดียในการโปรโมตผลิตภัณฑ์และสื่อสารกับลูกค้า เช่น การโพสต์ภาพขนมที่มีสีสันสวยงามและน่าทาน การแชร์สูตรหรือเรื่องราวเบื้องหลังของผลิตภัณฑ์ ซึ่งช่วยสร้างการมีส่วนร่วมและการรับรู้ในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
  • Influencer เพิ่มฐานลูกค้า: แบรนด์ได้ลงโพสต์ที่เหล่า Influencer ที่มารีวิวขนมของแบรนด์ ซึ่งช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ และยังสามารถดึงดูดผู้ติดตามของพวกเขาเหล่านนั้นให้กลายมาเป็นลูกค้าได้

จะเห็นเลยว่ากลยุทธ์หลักของแบรนด์จะเน้นไปที่ด้าน Product เป็นหลัก ซึ่งก็สามารถใช้สะท้อน Brand Identity ได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามผมมองว่าในส่วนของการสื่อสารแบรนด์สามารถปรับปรุง Content บน Social Media เพื่อสร้างภาพจำของแบรนด์ให้ชัดเจนกว่านี้ได้

สรุป

กลยุทธ์ หยกสด ถือเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ ด้วยการใช้ “ใบเตย” เป็นจุดขายหลักที่ไม่เพียงแต่นำเสนอความแตกต่าง แต่ยังสามารถสร้างภาพจำที่ชัดเจนในใจผู้บริโภคได้ ในขณะเดียวกันก็ปรับสูตรขนมให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น หยกสดจึงสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขนมไทยดั้งเดิม และยังรักษาสมดุลระหว่างความเป็นเอกลักษณ์และการเข้าถึงลูกค้าหลากหลายกลุ่มได้

ซึ่งก็พิสูจน์ให้เห็นว่า หากเรานำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่าง สร้างเอกลักษณ์ให้กับแบรนด์ และใช้กลยุทธ์การตลาดที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ก็สามารถประสบความสำเร็จได้เช่นกัน

Source, Source

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่นี่

Panuwit Payawang

สวัสดีครับ ชื่อดิวนะครับ จะพยายามนอนให้ครบ 8 ชั่วโมง เพื่อที่จะได้เขียนบทความดี ๆ ให้กับทุกคนครับ *_*

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *