Skittles รู้ว่าผิด ‘ขอโทษ’ ผ่าน การตลาด ด้วยการปรับใช้ Social Listening

Skittles รู้ว่าผิด ‘ขอโทษ’ ผ่าน การตลาด ด้วยการปรับใช้ Social Listening

Skittles รู้ว่าผิด ‘ขอโทษ’ ผ่าน การตลาด ด้วย Social Listening

เตยเชื่อว่า ไม่มีใคร ไม่เคยทำผิด แม้กระทั่งแบรนด์เองก็ทำผิดได้เหมือนกัน เฉกเช่นกับ Skittles แบรนด์ขนมคบเคี้ยวชื่อดัง ที่มีเอกลักษณ์เป็นเม็ดอมสีรุ้ง ที่ได้ทำผิดต่อลูกค้าจนส่งผลเสียอย่างมหาศาลต่อแบรนด์

เอาล่ะ วันนี้เตยจึงได้นำ case study การทำผิดแล้วออกมาขอโทษของแบรนด์ Skittles เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาและรับมือกับความผิดพลาด แต่จะขอโทษยังไง ขอโทษแบบไหนให้มีประสิทธิภาพ และกู้ภาพลักษณ์กลับมาให้ดีดังเดิม หรือดีกว่าเดิม สามารถหาคำตอบได้ในบทความนี้ได้เลยค่ะ

จุดเริ่มต้นของความผิด สู่การ ‘ขอโทษ’ ผ่านแคมเปญ Apologize the rainbow

อย่างที่เตยได้บอกไปในข้างต้นว่า Skittles แบรนด์ขนมที่มีเอกลักษณ์เป็นเม็ดอมสีรุ้งที่เราคุ้นเคยกันดี ซึ่งเจ้าตัวเม็ดอมแต่ละสี ก็จะมีรสชาติที่แตกต่างกันไป เช่น สีแดง รสสตอเบอร์รี่ สีเขียว รสมะนาว เป็นต้น

ย้อนกลับไปในปี 2013 Skittles ได้เปลี่ยนรสชาติของเม็ดอมสีเขียว จากรสมะนาว ไปเป็นรสแอปเปิ้ลเขียว ทำให้ผู้บริโภคไม่พอใจเป็นอย่างมาก การตัดสินใจดังกล่าวก่อให้เกิดแคมเปญการเรียกร้องของผู้บริโภคจำนวนมากในทันทีและต่อเนื่องยาวนานเป็นระยะเวลาถึง 9 ปีด้วยกัน!

9 ปีที่รู้ว่าผิด Skittles ออกมาขอโทษก็ยังไม่สาย

ตลอดระยะเวลา 9 ปี ที่มีการเรียกร้องและก่นด่าอย่างโหมกระหน่ำ ไม่มีที่สิ้นสุดถึงการเปลี่ยนรสชาติในครั้งนี้ Skittles จึงตัดสินใจนำรสมะนาวกลับมา เพราะทนต่อไปที่จะซุกซ่อน ปล่อยปะละเลยความโกรธเหล่านั้นไว้ใต้พรมไม่ได้อีกต่อไป จึงได้ออกมา ‘ขอโทษ’ ผ่านแคมเปญ Apologize the rainbow ในปี 2022

ซึ่งเป็นการขอโทษที่สร้างอิมแพค จนคว้ารางวัล Creative Data จาก Cannes Lions มาได้ แสดงให้เห็นว่าเป็นการขอโทษที่ไม่ธรรมดาเลยจริง ๆ

ขอโทษให้ถูกคน ด้วยการปรับใช้ Data และ Social Listening

หลายคนอาจสงสัยว่าการ ‘ขอโทษ’ แบบนี้มันสร้างอิมแพคอะไรได้ขนาดนั้น เวอร์รึเปล่า เตยต้องขอบอกว่า ปกติแล้ว เวลาแบรนด์ทำผิด เรามักจะเห็นเขาออกมาขอโทษ แต่เป็นการขอโทษแบบรวม ๆ ไม่ได้เจาะจงและสามารถเจาะใจลูกค้าให้กลับมารู้สึกดีได้

Skittles รู้ว่าผิด 'ขอโทษ' ผ่าน การตลาด ด้วยการปรับใช้ Social Listening

แต่กลับ Skittles ไม่ใช่แบบนั้นค่ะ เพราะเขาได้ปรับใช้ Data และ Social Listening ในการเข้าถึงเพื่อ ‘ขอโทษ’ คนเหล่านั้นแบบรายบุคคล (Personalized Apologies)

เช่น อ่านข้อความที่เรียกร้องให้เอารสชาติเดิมกลับมาต่าง ๆ แล้วกล่าวขอโทษในงานแถลงข่าวที่ยาวนานเกือบ 35 นาที, ส่องโซเซียลแล้วดูว่าใครบ่น ไม่พอใจ หรือด่าถึงการเปลี่ยนรสชาติบ้าง ก็ไปขอโทษคนนั้นตรง ๆ ไม่ใช่การขอโทษแบบรวม หากรวมแล้วจะเป็นการขอโทษแบบรายบุคคลมากถึง 130,880 คนกันเลยทีเดียว

Skittles รู้ว่าผิด 'ขอโทษ' ผ่าน การตลาด ด้วยการปรับใช้ Social Listening

นอกจากนี้ก็ยังมีการทำสื่อ OOH, Print ad, ข้อความแสดงความ ‘ขอโทษ’ ที่ยาว 4 เมตรกว่า และต้องใช้เวลาอ่านมากกว่า 10 ชั่วโมงบนหน้าเว็บไซต์ รวมไปถึงการแจก Skittles ฟรีที่เป็นรสชาติมะนาวแบบเดิม สำหรับผู้บริโภคที่ไม่ยอมรับคำขอโทษง่าย ๆ และก็เป็นไปตามคาดค่ะ เพราะสินค้าแจกหมดแทบจะทันที และผลลัพธ์ที่ได้กลับมาก็ถือว่าไปในทางที่ดี เพราะผู้คนยอมรับคำขอโทษและให้อภัย แถมยอดขายยังเพิ่มขึ้นมากถึง 21%

ซึ่งเตยมองว่าเป็นวิธีการขอโทษและปรับใช้ข้อมูลกับ ‘การตลาด’ ได้ดีมาก ๆ ค่ะ เพราะทำให้ผู้บริโภครู้สึกดี แบรนด์เป็นกันเองและมองว่าแบรนด์ใส่ใจถึงเสียงของผู้บริโภค

สรุป Skittles รู้ว่าผิด ‘ขอโทษ’ ผ่าน การตลาด ด้วยการปรับใช้ Social Listening

ใครที่สนใจอยากอ่านเคส การตลาด หรือแคมเปญต่าง ๆ ที่ปรับใช้ Data-Driven Targeting เพิ่มเติม เตยแนะนำให้อ่านบทความนี้ต่อได้เลยค่ะ เป็นอีกหนึ่งแคมเปญที่ปรับใช้ Data ได้สุดยอดมาก ๆ

เตยหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และสร้างไอเดียใหม่ ๆ ต่อผู้อ่านทุกคนนะคะ แล้วพบกันใหม่บทความหน้าค่ะ

สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาด หรือข่าวสารการตลาด แบบจัดหนักจัดเต็ม สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ

Source

Source

Source

Toey Waritsa

ใบเตย หรือเรียกว่าเตยก็ได้ค่ะ ทำ Data Research Insight เป็นอาชีพเสริม อาชีพหลักเลี้ยงแมว ทุกบทความเขียนออกมาด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจเพื่อหาเงินเลี้ยงแมวค่ะ😺🫶🏻

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน