น้อยแต่มาก! การตลาด​ Minor​change​ ทำอย่างไร​ให้​ได้​ Major Impact​​

น้อยแต่มาก! การตลาด​ Minor​change​ ทำอย่างไร​ให้​ได้​ Major Impact​​

พาทุกคนมารู้จัก การตลาด Minorchange จากที่หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องจิตวิทยาการใช้สีกับการตลาด หรือการสร้างแบรนด์​กันมาบ้างแล้ว​ ว่าสีต่างๆ นั้นสามารถสื่อถึงข้อความ​ แทนอารมณ์ความรู้สึก​ได้​ รวมถึงช่วยในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค​ได้ ในบทความนี้แบมก็จะมาพูถึงจิตวิทยาสีเช่นกัน​ แต่ไม่ใช่การใช้สีเพื่อสร้างแบรนด์​ หรือบ่งบอกตัวตนของแบรนด์​ในแบบที่เราคุ้นเคยกัน แต่จะมาพูดถึงการใช้สีเพื่อสร้าง​ Awareness​ และทำการตลาดแบบ​ Minor​change​ กัน​ค่ะ

การตลาดแบบ​ Minorchange​ คืออะไร

คำว่า​ Minorchange​ เกิดขึ้นครั้งแรกในแวดวงธุรกิจ​รถยนต์​ เนื่องจากสมัยก่อนตลาดรถยนต์​นั้นมีการแข่งขันค่อนข้างสูง​ การใช้โปรโมชัน​ หรือแคมเปญทางการตลาดอย่างเดียว​ อาจไม่สามารถ​ดึงดูดความสนใจ​ของ​ผู้บริโภค​ได้เท่าที่ควร​ ทำให้บริษัท​รถยนต์​หลายๆ​ เจ้า​จึงพยายามออกมาแก้เกม​ กระตุ้น​ยอดขายด้วยกลยุทธ์​ Minor​change​ 

โดยการนำข้อด้อยรวมถึงข้อติชมของลูกค้า​ที่ใช้งานรถยนต์​รุ่นเดิม​มาปรับปรุง​ เปลี่ยนแปลง​ให้น่าใช้งาน​ ตรงใจ​ เรียกได้ว่าปรับโฉม​ใหม่เพื่อเรียกร้อง​ความสนใจ​และทำให้สามารถ​ตอบสนอง​การใช้งานของลูกค้าได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น​ 

กลยุทธ์​ Minorchange​ มีผลต่อการตัดสินใจ​ซื้อของ​ผู้บริโภค​แต่ไหน

อย่างที่บอกไปว่ากลยุทธ์​แบบ​ Minorchange​ นั้นเป็นการเอาของเก่ามาพัฒนาใหม่​ ด้วยการปรับโน่นนิด​ นี่หน่อย​ เพื่อแก้ไขข้อด้อย​ หรือจุดบกพร่องของรถรุ่นเดิม​ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้อาจจะเป็น​การปรับปรุง​ในเรื่องของฟังก์ชัน​การใช้งาน​ อุปกรณ์​เสริม​ หรือรูปลักษณ์​ภายนอกบางส่วน​ เช่นไฟท้าย​ กระจังหน้า​ ดีไซน์มือจับ​ หรือกระจกมองข้าง​ เป็นต้น

ซึ่งปัญหา​ก็อยู่ตรงการเปลี่ยนแ​ปลงเพียงเล็กน้อยนี่แหละค่ะ​ เพราะถึงแม้ว่าโมเดลรถรุ่น​ Minorchange​ จะถูกพัฒนา​ให้สมบูรณ์​แบบมากขึ้น​ แต่ในขณะเดียวกันในความรู้สึก​ของผู้​บริโภ​คกลับสวนทางกัน​ โดยลูกค้ามักมองว่าไม่มีอะไรแตกต่างจากของเดิมมากนัก​ ขับออกไปตามท้องถนนคนก็ดูไม่ออกว่าเป็นโมเดลใหม่​ จึงทำให้หลายคนคิดว่าไม่มีความจำเป็น​ที่ต้องเปลี่ยนรถ​ และบางคนก็เลือกที่จะรอซื้อรถยนต์​รุ่นใหม่ไปเลย​ดีกว่า​ 

ซึ่งเหตุผลเหล่านี้เองที่ทำให้ยอดขายของรถรุ่น​ Minorchange​ ไม่กระเตื้องขึ้น​เท่าที่ควรจะเป็น

ตัวอย่างการใช้กลยุทธ์ Minorchange ในธุรกิจยานยนต์

“สีสัน”​ เกี่ยวข้องกันอย่างไรในเกม​ Minorchange​

จากปัญหาที่ว่าทำให้ฝั่ง​ Marketing​ คิดกันอย่างหนักว่าจะทำอย่างไรให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงนี้ดี​ จนที่สุดแล้วก็ได้มีการทดลองนำจิตวิทยา​สีมาใช้​ 

โดยทุกครั้งที่ออกโมเดล​ Minorchange​ นอกจากทางบริษัทจะทำการปรับโฉม​ ปรับฟังก์ชัน​แล้ว​ ก็จะทำการเพิ่มสีใหม่ประจำรุ่นเข้าไปด้วย​ เช่น​ ปกติรถรุ่น​ A​ จะมีสีหลักให้เลือ  กเพียง​ 4​ สี​ คือ​ สีขาว​ สีบรอนซ์​เงิน​ สีดำ​ และสีน้ำตาล​ แต่โมเดล​ Minorchange​ นั้นจะมีสีพิเศษเฉพาะรุ่น​เพิ่มมาเป็นสีแดงเบอร์กันดี​ อย่างนี้เป็นต้น

ทำให้คนที่มาซื้อรถในโมเดล​ Minor​change​ รู้สึกถึงความโดดเด่นและเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนขึ้น เรียกว่าแค่เปลี่ยนสี​ พหือเพิ่มสีใหม่ก็มีผลต่อใจ​ ทำให้ผู้บริโภค​รู้สึกว่าตัวเองซื้อของรุ่นใหม่​ ไม่ซ้ำเดิม​ จึงช่วยกระตุ้น​ยอดขาย​ และช่วยให้กลุ่มเป้าหมาย​ตัดสินใจซื้อรถในโมเดล​ Minorchange​ ได้ง่าย​ขึ้น​

การประยุกต์ใช้​การตลาด​แบบ​ Minorchange​ ในปัจจุบั​น

สำหรับหลักการ​ Minorchange​ ในปัจจุบั​นนั้น​ ไม่ได้ใช้แค่ในกลุ่มธุรกิจรถยนต์​เท่านั้น​ แต่สามารถ​นำมาประยุกต์ใช้​กับธุรกิจ​อื่นๆ​ ได้ด้วย​ เช่น​ กลุ่มสินค้าประเภท​ Smart Phone​ ที่บางครั้งก็ออกมาถี่​ ออกรุ่นย่อยมาปีละครั้ง​ ปรับความโค้ง​ ปรับความคมชัดกล้อง​ เพิ่มความอึดแบตเตอรีขึ้นอีก​นิดหน่อย​ 

แต่ด้วยความที่สมาร์ทโฟน​ในปัจจุบั​นนั้นถือเป็นอีกหนึ่งหมวดสินค้าแฟชั่น​ การเปลี่ยนแปลงฟังก์ชัน​ภายในนั้นอาจไม่สามารถกระตุ้นความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้มากเท่าที่ควร​ เพราะฉะนั้นการเพิ่มสีใหม่ๆ​ เข้ามา​ จะจูงใจให้ลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายอยากได้มาครอบครองมากกว่า​ เป็นหนึ่งในจิตวิทยา​การตลาดที่ทำให้เขาเหล่านั้นรู้สึกภูมิใจ​ เป็นสายแฟผู้นำเทรนด์​ ทันสมัย​ ไม่ตกยุคนั่นเอง

นอกจากนี้ในฝั่งของค่ายรถยนต์​เองก็เริ่มมีการเอาจิตวิทยา​เรื่องสีมาใช้ในมุมอื่นๆ​ เช่น​ การล็อกสีพิเศษ​ ไว้ให้เฉพาะกับตัวท็อปของรุ่น​เท่านั้น​ เรียกได้ว่าถ้าเห็นรถรุ่นนี้​ สีนี้วิ่งบนท้องถนนแล้วล่ะก็​ ฟันธงได้เลยว่าเป็นตัวท็อปแน่นอน

การตลาด Minorchange
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้​การตลาด​แบบ​ Minorchange​ ในปัจจุบั​น

จากตัวอย่างที่แบมเล่ามา​ จะเห็นได้ว่าการเดินเกมการตลาดแบบ​ Minor​change​ นั้นสามารถทำได้หลากหลาย​ แต่ที่สำคั​ญไม่แพ้กันก็คือการเปลี่ยนใจคน​ 

เพราะฉะนั้น​ นอกจากนักการตลาดหรือเจ้าของธุรกิ​จจะวางกลยุทธ์​ในการปรับเปลี่ยนให้ดี​ เพราะแม้จะเป็น Minorchange แต่ถ้าจะให้ดึงดูดผู้บริโภค​ในยุคปัจจุบัน​ได้​ ก็ต้องทำให้ Major Impact​ ด้วย

Bambinun*

Content Creator แห่งการตลาดวันละตอน ที่หลงรักการเล่าเรื่องผ่านตัวหนังสือ พอๆ กับการกินของอร่อย และใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเป็นทาสแมว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *