Brandname กับการ Hybrid ที่หลายคนคิดว่าไม่น่าจะเข้ากันได้

Brandname กับการ Hybrid ที่หลายคนคิดว่าไม่น่าจะเข้ากันได้
จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อแบรนด์เนม ได้ Hybrid Culture โลกตะวันออก กับตะวันตก ยุคเก่า ยุคใหม่ที่แตกต่างกันเข้าด้วยกัน แบรนด์อื่นๆก็ทำได้

Brandname Hybrid หรือการปรับตัวของสินค้า Brandname เกิดขึ้นตลอดเวลา และหลายครั้งก็นำสิ่งที่ไม่น่าจะเข้ากับ Brand Name ได้มาทำให้เกิดสินค้าใหม่ ที่เข้าใจลูกค้ามากขึ้น สนุกขึ้น แถมเป็นกันเองเข้าถึงง่ายขึ้น

เคยสังเกตุมั้ยว่า แต่ละ Collection ที่ออกมา เค้าคิดกันยังไงว่า จะต้องออกสไตล์นี้ สีนี้ แบบนี้? ในแต่ละ season บรรดาสินค้า Brand name จะมีโทนสีที่ใกล้เคียงกัน เพียงแต่แตกต่างกันตามรูปแบบ หรือ Pattern ของแต่ละ Brand เพื่อยังคงเอกลักษณ์ของตัวเอง trend ต่างๆทุกวันนี้มีหลายสาเหตุ เช่นจาก Fashion Blogger, Street Fashion, Celebrity แต่สิ่งหนึ่งที่มีมานาน และดูเป็นทางการก็คือการอัพเดทซึ่งกันและกันระหว่างอุตสาหกรรมแฟชัน
ในงาน Fashion Week จาก Big 4 ของเมืองหลักๆ คือ New York, Milan, London, Paris

สาเหตุที่เทรนด์แฟชันหลักๆ มาจาก 4 เมืองหลักนี้ก็คือ ทุกๆครั้งที่มีงาน Fashion Week ที่แห่งนั้นก็เป็นแหล่งรวมดีไซเนอร์ ผู้หลงรักแฟชัน แฟชันบล็อกเกอร์ เว็บไซต์ และแมกกาซีนที่เกี่ยวกับแฟชันจากทั่วโลก การแลกเปลี่ยนจึงเกิดขึ้น เพราะทุกคนมาจากทุกที่ทั่วโลก ก็สามารถแลกเปลี่ยนสิ่งใหม่ๆจากที่ต่างๆได้ เช่นเดียวกับที่เมืองคานส์ก็จะมี เทศการลหนัง Cannes ที่เป็นงานประจำปีที่รวมอุตสาหกรรมทำภาพยนต์ Cannes Lions ที่เป็นงานรวมนักโฆษณา และนักการตลาดทั่วโลกในช่วงหน้าร้อน

หรือแม้แต่ Milan Design Week ที่นักออกแบบ สถาปนิก จะมาอัพเดทเทรนด์ สี วัสดุ Show case ต่างๆ ฯลฯ กันที่มิลาน ในช่วงฤดูใบไม้ผลิของทุกปี

ในยุคที่กำลังซื้อจากโลกตะวันตกลด ลูกค้าหน้าใหม่มาจากโลกตะวันออก

ลูกค้าเอเชียกลุ่มแรกที่ท่องเที่ยวยุโรปคงหนีไม่พ้นญี่ปุ่น ด้วยเศรษฐกิจและรายได้ต่อหัวที่มีมาก จนกระทั่งนักท่องเที่ยวรายใหม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดนั่นคือ จีน นับตั้งแต่เปิดประเทศ แต่ Culture ที่เข้ากับทุกคนที่เป็นชาวเอเชียได้ดีก็คือความเป็นญี่ปุ่นนั่นเอง หลายแบรนด์ นำเอาสไตล์ญี่ปุ่นมาสร้าง Experience ใหม่ๆ ให้คนหันมอง จากสาวฝรั่งโพสท์ท่าแข็งๆ เปลี่ยนมาเป็น Poster ที่สร้างความหวือหวาได้มากนั่นคือ งานของ Dior เมื่อ ปี 2001

Poster Dior F/W 2001 ที่ใช้ช่างภาพระดับโลก Nicholas David Gordon (Nick Knight)
Credit : Karen Elson | Photography by Nick Knight | For Dior Campaign
Elementต่างๆมีความคล้ายคลึงกับงาน Manga ของญี่ปุ่น เหมือนได้ดูการ์ตูนสวยๆ และดูสินค้าไปพร้อมๆกัน

กระแสญี่ปุ่นไม่เคยตก และยังเป็นเครื่องมือในการโปรโมทได้ดี

การ Collaborate กันระหว่าง ดีไซน์เนอร์ตะวันตก กับศิลปินตะวันออก เริ่มมีมากขึ้น จากดอกไม้ที่ในบ้านเราฮิตกันเมื่อ 1-2 ปีที่แล้ว แต่จริงๆแล้วฮิตกันมานานมาก ชื่อของศิลปินนั้นก็คือ Murakami และ งาน โพลก้าดอทที่ดูเหมือนจะธรรมดา แต่จังหวะการวางและการใช้สี เป็นเอกลักษณ์ ไม่มีใครเลียนแบบได้นั่นคือ Yayoi Kusama

เอกลักษณ์ของมูราคามิ คือลูกตากลมโต กับสีสันสดใสแม้งานจริงจะมีความดาร์ค ทำให้หลุยส์ วิตตอง โดดเด่นและสะดุดตาแตกต่างกับคู่แข่ง แม้แต่แบรนด์ตัวเองที่คุมโทน และลวดลายโมโนแกรม

กลุ่มเป้าหมายไหนมีกำลังซื้อ ไม่ผิดที่แบรนด์ก็ปรับตัวตาม

สไตล์ของญี่ปุ่น ยังเป็นวิธีคิดที่น่าสนใจ เพราะยังคงเป็นที่นิยมทั่วโลก เรียกว่ารักษาลูกค้าเก่า และมองหาลูกค้าใหม่อย่างชาวเอเชียได้ นอกจากนี้ยังได้ลูกค้าใหม่ที่เป็น Gen ใหม่ได้อีกด้วย การมองหาว่า Gen ที่มีกำลังซื้อชื่นชอบหรือคุ้นเคยกับการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องไหนก็ไม่ใช่เรื่องยาก Gucci แบรนด์ดังจากอิตาลี ใช้ Manga ในการโปรโมทแบรนด์ ด้วยการใช้ Jojo ซึ่งลายเส้นก็มีความเป็นแฟชัน

งาน Collaboration ที่อลังการ เพื่อเฉลิมฉลอง Gucci 90 ปี และ ครบรอบ 30 ปี Hirohiko Araki
โดย GUCCI × HIROHIKO ARAKI × SPUR : 2011
เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า ก็ยังขายใน Poster ได้อยู่

แม้จะเป็นเพียง งานที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้น แต่การร่วมมือกันครั้งนี้ ก็เกิดกระแสและ PR ไปทั่วโลกในระยะเวลานานพอสมควร นั่นทำให้ Brand ของ Gucci ดู Young ทันสมัย และเข้ากับทุก Generation และถึงแม้แฟน Gucci จะไม่รู้จัก jojo แต่ก็สัมผัสความเป็น Manga ที่เป็นสไตล์แฟชั่นของ อะรากิได้โดยไม่ต้องเป็นแฟนคลับของ Jojo

หลังจากนั้น Gucci ก็ยังคงความเป็นแบรนด์เปรี้ยวซ่าไม่หยุด เพราะการปรับตัวครั้งใหญ่ขององค์กรที่เน้น Young Designer ให้ออกมาแสดงฝีมือ ดังนั้น งานต่างๆทั้งวิธีการโปรโมท หรือสร้างสินค้าใหม่ๆ จึงมักมีการ Collaborate ระหว่างแบรนด์กับศิลปินหน้าใหม่ ที่มีความจัดจ้าน และวัยรุ่นมากขึ้น อย่างล่าสุด เมื่อไม่นานมานี้ก็มีศิลปินไทยได้แสดงฝีมือให้กับ Gucci

ยุค 90’s มีผลกับกำลังซื้อ วัฒนธรรมเกมไม่ใช่เรื่องต้องห้าม

กระแสคลั่งไคล้ ยุค 90’s ทำให้เกิดคนซื้อสองกลุ่มใหญ่ๆ นั่นคือ

  1. กลุ่มที่เติบโตในยุค 90’s นั่นคือ. GenX, Y ดังนั้น Nostalgia จึงเป็นวิธีที่ไม่เชย เพียงแต่ทำให้ถูกที่ ถูกเวลา และทำให้”ถึง”
  2. กลุ่มที่เป็น Gen Millennial คือกลุ่มที่เริ่มมีกำลังซื้อ และจะเป็นกำลังหลักในอนาคตอันใกล้ กลุ่มนี้มีความชื่นชอบ 90’s เช่นกัน ซึ่งอาจจะไม่ได้เกิดและโตมาในยุคนั้น แต่อาจจะมีคนในครอบครัวใช้ชีวิตในยุค 90’s ทำให้เกิดการหล่อหลอม หรือบางคนอาจจะอยู่ดีดีก็ชอบสไตล์นี้ ก็เหมือนกับในยุคของผม ที่โตมากับงานยุค Post Modern แต่บางคนกลับชอบยุค Modern มีน้องที่ออฟฟิศคนนึงครับเพิ่งจะจบใหม่ อายุแค่ 22 แต่ชอบฟังไมโคร และ ทาทายัง 🙂

แบรนด์ต่างๆจับกระแสนี้ได้ และก็ไม่พ้น แบรนด์เนมต่างๆ ทั้ง LV, GUCCI, DIOR ลองเข้าไปใน app ของ Gucci ดูนะครับ มีเกมสนุกๆให้เล่นเยอะแยะเลย และเกมส่วนใหญ่ใช้สไตล์เดียวกับยุค 90’s นั่นคือยุคเกมตู้ ใช้Font สีแอร์บลัชเป็นโครเมี่ยม (ถึงตรงนี้ ใครเป็นดีไซน์เนอร์ต้องอ๋อ เพราะเทคนิค Air Brush และ Chromium คือสไตล์ที่ฮอตมากในยุคนั้น

Font แบบเก้าศูนย์สุดๆ ทำให้คนในยุคนั้นหายคิดถึงได้เลย

มาถึงตรงนี้จะเห็นว่า แม้แต่แบรนด์เนม ทำแอปขึ้นมา ก็ยังมีเกมให้เล่น แถมเป็นเกมที่มีเสน่ห์ด้วยสไตล์แบบย้อนยุคแต่เป็นยุคที่คนในสมัยนี้นิยม(ย้ำว่า “เป็นยุคที่คนสมัยนี้ชอบ”) และลืมคำว่าเด็กติดเกมไปได้เลย เพราะยุคนี้เล่นเกมกันทุกวัย มีทั้งแบบ 8 Bit เหมือนอาตาริ แบบเครื่องนินเทนโด หรือแบบ Arcade (เกมตู้) และยังเท่ด้วยสีสันที่ใช้ เห็นมั้ยครับว่า ไม่ว่าแบรนด์ไหนก็ต้องปรับตัว แต่จะปรับตัวยังไง มีหลักการยังไง มีหลายวิธีครับ สรุปสั้นๆ จากตอนนี้ทั้งหมดก็ เช่นจาก Trend Setter, จากการ Research หรือแม้แต่การ สังเกตุ ว่า กลุ่มเป้าหมายชอบอะไร เพื่อที่จะทำให้เขาสะดุด และเข้าถึงเขาได้ง่าย

สีสะส้อนแสง วนกลับมาแล้วอีกครั้ง เหมือนสมัยพี่เบิร์ดเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน แล้วแบรนด์ของคุณ ทำอะไรดีครับ ถ้าคิดว่าเทรนด์นี้ไม่น่าเกี่ยว หรือคิดไม่ออก ลองดูบทความนี้ครับ คลิก

สไตล์ภาพเป็นแบบเกม 8 Bit และแอบใส่สีสะท้อนแสงเป็นการบอกใบ้ถึงสไตล์ที่มาถึง

อ้างอิง :
https://womens-fashion.lovetoknow.com/womens-fashion-history/how-do-fashion-trends-start
Gucci App For IOS : https://apps.apple.com/th/app/gucci/id334876990?l=th
Gucci App For Android : https://play.google.com/stor/apps/details?id=com.gucci.gucciapp&hl=th

BX24

BX24 เกิดจากการรวมตัวกันของนักออกแบบหลายแขนง ทั้ง Interior Designer, Architect, Product Designer, Graphic Designer, Creative ที่เชื่อว่า นอกจากโฆษณาแล้ว งานออกแบบ สามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับ Brand ได้ (Brand Experience) ถ้าออกแบบให้ถูกที่ ถูกเวลา ด้วยประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ทั้งสายงานออกแบบของแต่ละคน การเป็นวิทยากร อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัย จึงชวนกัน ผลัดกันแชร์เรื่องราวดีดี เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่