เทรนด์ Health & Wellness – Work ไร้ Balance สู่ Work Life Balance +120%

เทรนด์ Health & Wellness – Work ไร้ Balance สู่ Work Life Balance +120%

เชื่อว่านักการตลาดหลายคนน่าจะเห็นด้วยกับนุ่นว่า หนึ่งสิ่งที่ส่งผลต่อการเลือกใช้จ่ายของผู้บริโภคคือสภาวะเศรษฐกิจและเทรนด์เป็นหลัก และนอกเหนือจากงานวิจัย แบบสำรวจอื่น ๆ นุ่นชอบอ่านจากทีม Twitter หรือ Adweek ค่ะ 

ซึ่งเป็น Social Platform แห่งเทรนด์อีกแพลตฟอร์มหนึ่งเลย สามารถนำเป็นแหล่งอ้างอิงประกอบกับข้อมูลอื่น ๆ เพื่ออัปเดตกับแบรนด์ได้ดี 

หลังจากเหตุการณ์ช่วง 2-3 ปีมานี้ไม่มีใครไม่คิดเรื่องสุขภาพ เทรนด์ Health & Wellness เปลี่ยนไปพอสมควรเพราะทุกคนต้องการเป็นผู้รอด หรือสามารถฟื้นตัวจากโรคระบาดให้ได้เร็วและยั่งยืนที่สุด เราจะเห็นอยู่บ่อย ๆ ในแง่การออกกำลังกาย ดูแลโภชนาการ 

บวกกับหลายคนต้อง Work From Home จนทำให้มีสภาวะ Work ไร้ Balance เพราะยังไม่คุ้นชินกับเวลาทำงานที่บ้าน หรือสภาพแวดล้อมโดยรวมไม่อำนวยให้แยกงานออกจากชีวิตส่วนตัวได้ก็ตาม มาดูกันว่าแบรนด์จะต้องเลือกเจาะเทรนด์ไหนให้ตรงเป้า 

ตอนนี้ลูกค้าของเรากำลังอินกับเทรนด์ไหนกันแน่ มีประเด็นด้านสุขภาพจุดไหนที่เราสามารถนำมาเป็นโอกาสทางการตลาดได้บ้าง? ลองอ่านจากไฮท์ไลต์สำคัญของรายงานจาก Adweek X Twitter กันนะคะ  

ซึ่งรายงานดังกล่าวสำรวจจากฐานข้อมูลผู้ใช้ในประเทศ US แต่เชื่อว่าไม่ไกลจากเทรนด์ไทยขนาดนั้นแน่นอน

งด Toxic เน้นการตลาดเชิงบวก สายซัพพอร์ต

ตอนนี้แค่สถานการณ์ข้างนอกก็แย่พออยู่แล้ว ผู้บริโภคกลุ่ม wellness กำลังเทไปอินทางกลยุทธ์เชิงบวก ถ้าแบรนด์สามารถทำแคมเปญซัพพอร์ตได้จะยิ่งได้ใจสายสุขภาพ ณ ปัจจุบันไปเต็ม ๆ จะเห็นว่า อันดับ 1 #Motivate Yourself

นุ่นมองว่าตอนนี้แบรนด์ควรส่งเสริมให้คน Motivate ตัวเองให้สุดไปเลยค่ะ ขอยกตัวอย่างแคมเปญที่ทำได้ดี แม้จะไม่ใช่เรื่องสุขภาพโดยตรง แต่ก็สามารถจุดไอเดียให้ได้แน่นอนค่ะ

ตลาด Health & Wellness เป็นของผู้ชายและผู้หญิงเท่า ๆ กัน

นุ่นเองก็อ่านรายงานและทำงานกับ Social Data มาซักพัก เท่าที่เห็นคือน้อยมากที่ Conversations จะมาจากเพศชาย เพราะส่วนมากเพศที่บ่น ระบายบนโซเชียลผู้หญิงจะเยอะกว่ามาตลอด

ตอนนี้แบรนด์ต้องอัปเดตข้อมูลใหม่แล้วล่ะค่ะ อ้างอิงจากรายงานของ Adweek X Twitter การพูดถึงเทรนด์สุขภาพของคุณผู้ชายเพิ่มขึ้น 7% จากปีที่แล้ว

ทำให้สัดส่วนของการพูดถึงเรื่อง wellness ของผู้ชายคิดเป็น 49% ในต้นปีนี้ค่ะ

แสดงว่าความสนใจมีเท่า ๆ กันแล้ว นักการตลาดลองทบทวนกลยุทธ์เดิมกันอีกครั้งว่าคอนเทนต์สุขภาพจ๋าของเราเน้นสาว ๆ ไปหรือเปล่าอาจจะปิดโอกาสการขายและยอด Engage ก็เป็นได้ค่ะ 

ทีนี้เรามาดูข้อมูลเจาะลึกอีกว่าทั้ง 2 กลุ่มมีความสนใจ wellness เรื่องเดียวกันไหม เพื่อให้แผนการตลาดเราแม่นยำขึ้นอีก

คุณผู้ชาย Dieting +88% คุณผู้หญิง Work Life Balance +120%

อ๋า เมื่อมาแยกดูจริง ๆ แล้วแม้จะหันมาสนใจเรื่องสุขภาพเหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้เน้นเรื่องเดียวกันนะคะ จากข้อมูลด้านบนได้บอกตัวเลขชัดเจนเกี่ยวกับเทรนด์ ผลิตภัณฑ์ที่ชู Dieting เอียงมาทางเพศชายบ้างเป็นทางที่น่าสนใจเลย

ส่วนเรื่อง Work Life Balance +120% ถูกเน้นมาจากเพศหญิงนี่เองค่ะ อาจจะเพราะครอบครัวส่วนใหญ่ยังให้แม่เป็นผู้จัดการเรื่องในบ้านและอื่น ๆ ทำให้รู้สึกถูกเบียดเบียนเวลาส่วนตัวไปค่ะ

หรือเพราะสถานการณ์โรคระบาดทำให้แผนของทุกแบรนด์ต้องปรับเปลี่ยน แพลตฟอร์ม Social Media ที่เคยเน้นอาจไม่พอ บริษัทปรับคนเข้าออก หน้าที่การงานต้องทำให้ดี ยอดตกลูกค้าหายก็เก็บมาคิดเครียดตาม ๆ กัน ไม่รู้ใครเป็นเหมือนนุ่นไหม ช่วงที่แน่น ๆ นอนฝันถึงงานหลายวันติดกันก็มีค่ะ

อาจมีส่วนให้เทรนก์ดังกล่าวถูกพูดถึงมากขึ้น เพราะไม่มีใครไม่ได้รับผลกระทบ ช่วงปลายของวิกฤติเราเลยมองหาทางออกสมดุลชีวิตส่วนตัวและการทำงานอย่างเหมาะสมกับทุกฝ่ายมากเป็นอันดับ 1

และนี้คือทั้งหมดที่นุ่นหยิบมาแชร์ให้นักการตลาดในวันนี้ค่ะ ถ้าชอบให้นุ่นอัปเดตเทรนด์ล่าสุดแบบนี้ อย่าลืมกดติดดาวเพจการตลาดวันละตอน และล่าสุดเรามี IG แล้วนะ @everydaymarketing.co พร้อมรูปแบบคอนเทนต์ใหม่ ‘สรุปคอนเทนต์การตลาดวันละตอน’ ถูกใจหลาย ๆ คนแน่นอนค่ะ

source

บทความที่แนะนำให้อ่านต่อ

Noon Inch

นุ่น Business Data Research Analyst Specialist | Martech 🙋🏻‍♀️💻ใช้ชีวิตอยู่กับ Social Listening Tools เกือบทุกวันมาร่วม 6 ปี 🙋🏻‍♀️📈ทำงานด้าน Social Data Research ให้กับหน่วยงานรัฐและแบรนด์เอกชน 6 ปี 🙋🏻‍♀️✈️ชอบทำงานและชอบใช้เงิน แล้วก็เป็น K-POP🇰🇷 & Salmon Lover 🍣

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่