4 นวัตกรรม HealthTech ที่ทำให้ TeleMedicine ของสมิติเวชล้ำไปอีกขั้น

4 นวัตกรรม HealthTech ที่ทำให้ TeleMedicine ของสมิติเวชล้ำไปอีกขั้น

เมื่อทุกธุรกิจล้วนถูก Covid Disruption แม้แต่ธุรกิจโรงพยาบาลก็ยังหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เกิดจากโควิด19 ไม่ได้เช่นกัน เพราะที่ผ่านมาคนส่วนใหญ่พยายามไม่ไปพยาบาลถ้าไม่จำเป็น เพราะบางครั้งการไปโรงพยาบาลอาจเท่ากับเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไม่รู้ตัว ทำให้ทั้งฝั่งโรงพยาบาลเองและคนไข้ต่างก็ปรับตัวกันอย่างหนัก และหนึ่งในเทคโนโลยีเดิมที่มีอยู่แล้วแต่ถูกมองข้ามมานานอย่าง Telemedicine กลายเป็นบูมขึ้นมาในทันที และที่สมิติเวชก็ไม่ได้หยุดแค่การใช้ Telemedicine ในการพบแพทย์แบบ Virtual Hospital เท่านั้น แต่พวกเขายังมองการณ์ไกลข้ามไปอีกสเต็ปว่าทำอย่างไรให้ต่าง และถือโอกาสนี้ในการยกเครื่องธุรกิจโรงพยาบาลทั้งหมดด้วยการสร้าง Digital Ecosystem ขึ้นมาภายใต้แคมเปญที่ชื่อว่า #เราไม่อยากให้ใครกังวล ครับ

4 เทคโนโลยีที่คิดขึ้นมาจาก Customer Journey

โรงพยาบาลสมิติเวชเปิดตัว 4 นวัตกรรมด้าน HealthTech ที่จะยกระดับ Telemedicine ด้วย IoT ที่ทำให้หมอสามารถวินิจฉัยโรคอายุรกรรมได้อย่างแม่นยำ

คุณจำประสบการณ์ตอนไปโรงพยาบาลครั้งล่าสุดได้หรือไม่ ส่วนตัวผมจำได้เป็นอย่างดีเพราะเพิ่งพาคนในครอบครัวเข้าโรงพยาบาลเมื่อไม่นานมานี้เองครับ สิ่งที่ผมรู้สึกกับตัวจนเรียกว่าน่าจะเป็น Pain Point ของคนที่ไปโรงพยาบาลเลยมีสองเรื่องหลัก

  1. งงว่าต้องรอถึงเมื่อไหร่
  2. งงว่าตอนนี้เราอยู่ตรงไหนแล้ว

งงที่หนึ่ง แล้วฉันต้องรอถึงเมื่อไหร่

ครั้งล่าสุดที่ผมพาคนในครอบครัวไปโรงพยาบาลคือไปทำเรื่องแล้วก็นั่งรอ นั่งรอ นั่งรอ แล้วก็รอ ครั้นนั่งรอนานๆ ก็เกิดอาการเบื่อ บางทีก็หิว บางทีก็อยากเดินไปเข้าห้องน้ำ แต่ก็ไม่กล้าไปไหนนานเพราะกลัวว่าพอคิวผ่านไปแล้วจะไม่รู้ตัวแล้วก็ต้องนั่งรอโดยไม่รู้ชะตากรรมอีกต่อไป

เรื่องนี้ทำผม Suffer มากนะครับ มันทำให้เรารู้สึกว่าเราจะขยับตัวไปทำอะไรก็ไม่ได้ บางทีนั่งนานๆ ก็เบื่อไง อยากจะไปเดินเปลี่ยนบรรยากาศบ้าง

และนั่นก็ทำให้เกิด Pain Point ที่สองจากการเข้าไปใช้บริการโรงพยาบาลครั้งล่าสุด นั่นก็คือ แล้วตอนนี้เราอยู่ตรงไหนแล้ว

งงที่สอง ตอนนี้เราอยู่ตรงไหนแล้ว

จากการรอก็พาไปสู่คำถาม คำถามที่ว่าตอนนี้ Process ของคนในครอบครัวเราที่เป็นคนป่วยอยู่ในขั้นตอนไหนแล้ว เพราะไม่มีใครมาคอยบอกว่าตอนนี้เขากำลังทำอะไรกับเราอยู่บ้าง ทำให้คนไข้หรือญาติต้องคอยเดินไปถามพยาบาลหรือผู้ช่วยก็ตาม และนั่นก็ทำให้งานของพนักงานเหล่านี้เพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น และแน่นอนว่าต้องส่งผลต่อความเครียดบ้างไม่มากก็น้อยถ้าต้องคอยตอบคำถามเดิมๆ ซ้ำๆ ทุกชั่วโมง ทุกวัน เป็นปีๆ

จนวันนี้ผมได้พบว่า 4 นวัตกรรมของโรงพยาบาลสมิติเวชและในเครือสามารถจัดการกับเรื่องนี้ได้สมกับอยู่ในยุคดิจิทัล และยิ่งล้ำไปกว่านั้นคือการเอาเครื่องมือนวัตกรรมของ HealthTech มาทำให้การไปหาหมอเพื่อตรวจอาการเป็นเรื่องที่จำเป็นน้อยลงมากเพราะเราสามารถส่ง Health Data ของเราผ่านช่องทางออนไลน์แบบ Real-time ได้ทันที

ลองมารู้จัก 4 นวัตกรรม HealthTech ของโรงพยาบาลสมิติเวชที่ทำให้การพบหมอออนไลน์หรือ Telemedicine เหนือกว่าแค่การ Video call คุยกับหมอกันครับ

1. TytoCare อุปกรณ์สุดล้ำที่ทำให้หมอเหมือนอยู่บ้านเรา

โรงพยาบาลสมิติเวชเปิดตัว 4 นวัตกรรมด้าน HealthTech ที่จะยกระดับ Telemedicine ด้วย IoT ที่ทำให้หมอสามารถวินิจฉัยโรคอายุรกรรมได้อย่างแม่นยำ
โรงพยาบาลสมิติเวชเปิดตัว 4 นวัตกรรมด้าน HealthTech ที่จะยกระดับ Telemedicine ด้วย IoT ที่ทำให้หมอสามารถวินิจฉัยโรคอายุรกรรมได้อย่างแม่นยำ

อุปกรณ์ชิ้นนี้ช่วยให้การตรวจเช็คร่างกายเพื่อวินิจฉัยโรคทั่วไปหรืออายุรกรรมเป็นเรื่องง่ายสมกับที่เราอยู่ในยุค Digital และ Cloud อย่างมากครับ เพราะเจ้า TytoCare นี้จะช่วยให้หมอสามารถเข้าถึงข้อมูลร่างกายของเราได้ผ่านอินเทอร์เน็ตที่เริ่มตั้งแต่เซนเซอร์การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ซึ่งมีความแม่นยำในระดับเครื่องมือแพทย์เลยทีเดียวครับ

และเจ้าเครื่องมือตัวนี้ก็มีอุปกรณ์เสริมทั้งหมด 3 ชิ้นที่ทำให้แพทย์ที่เราพบผ่าน Telemedicine นั้นสามารถวินิจฉัยโรคเราได้แม่นยำเสมือนนั่งอยู่ข้างๆ กันได้อีกด้วย นั่นก็คือมีอุปกรณ์เสริมเป็นที่กดลิ้นที่ช่วยให้แพทย์สามารถสำรวจลำคอเราได้อย่างชัดเจน การตรวจดูว่าต่อมทอมซิลอักเสบหรือไม่ก็กลายเป็นเรื่องที่สามารถทำเองที่บ้านได้สบาย

แล้วก็ยังสามารถใช้ในการตรวจหูได้อีกด้วย ซึ่งเจ้าเครื่องมือนี้ก็มีอุปกรณ์เสริมที่เหมือนกับเวลาเราไปหาหมอใช้หมอใช้ตรวจรูหูเราเลยครับ ทำให้การตรวจ ENT ไม่ใช่เรื่องที่ต้องไปทำที่โรงพยาบาลเหมือนเดิมอีกต่อไป

แถมสุดท้ายยังสามารถตรวจวัดอัดตราการเต้นของหัวใจและก็ฟังเสียงของปอดได้ ด้วยอุปกรณ์เสริมชนิดพิเศษที่น่าจะเป็นเครื่องมือช่วยฟังเสียงแบบพิเศษ ทำให้หมอเหมือนกำลังเอาหูฟังของหมอแนบกับอกหรือร่างกายเราอย่างนั้นเลย

ซึ่งในข้อนี้ผมก็ถามไปยังทีม Digital ของโรงพยาบาลสมิติเวชว่า แล้วการวัดอัตราการเต้นของหัวใจผ่านไฟแฟลชและแอปมือถือล่ะต่างกันอย่างไร ทางทีม Digital ของสมิติเวชก็ให้คำตอบว่าเครื่องมือนี้มีความแม่นยำในระดับเครื่องมือแพทย์ ซึ่งต่างจากแอปบนมือถือที่โหลดเล่นกันซึ่งอาจจะมีความคลาดเคลื่อนไม่แม่นยำพอได้ครับ

เป็นอย่างไรครับแค่ TytoCare อย่างแรกก็ทำให้ผมว้าวมากแรก เพราะรู้เลยว่าเจ้าเครื่องมือแบบนี้แหละที่จะมา Disrupt การไปโรงพยาบาลของเราได้อย่างมาก ลองคิดดูซิครับว่าถ้าทุกบ้าน หรือทุกหมู่บ้านในเครื่องมือนี้ อีกหน่อยถ้ารู้สึกไม่สบายก็แค่เอาเครื่องมือมาส่งข้อมูลร่างกายตัวเองให้หมอที่อาจจะนั่งทำงานอยู่บ้าน หรือกำลังว่ายน้ำอยู่ที่เกาะสมุยได้ง่ายๆ แล้วก็เป็นการยกระดับการพบหมอทางออนไลน์หรือ Telemedicine ออกไปที่ไม่ใช่แค่การวิดีโอคอลกันเลย

แถมการพบหมอด้วยวิธีนี้ก็ลดค่าใช้จ่ายไปได้อย่างมากสำหรับผู้ป่วย ทางโรงพยาบาลสมิติเวชเองก็บอกว่าจากเดิมที่แค่เข้าโรงพยาบาลก็เสียค่านั่นค่านี่ก่อนจะเป็นค่าหมอ ตอนนี้ก็เหลือแต่ค่าหมอที่ถ้าเป็นแพทย์อายุรกรรมก็มีค่าบริการครั้งละ 500 บาท แถมค่ายาก็ส่งฟรีถึงบ้านและก็ลดให้อีก 20% ด้วยครับ

นึกไปนึกมาเจ้าเครื่องมือนี้ก็จะเข้ามา Disrupt คนทำงานเดิมไปได้มาก แถมยังตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นไปได้มากมาย แถมทุกฝ่ายก็ประหยัดเวลา และผมยังอดคิดต่อยอดไปไม่ได้ว่าอีกหน่อยอาการเจ็บป่วยไม่สบายทั่วไปอาจไม่จำเป็นต้องให้หมอมาวินิจฉัย แต่อาจให้ AI มาวิเคราะห์เบื้องต้นแล้วให้แพทย์จริงๆ ช่วยตัดสินใจ หรือทำให้เป็นระบบ Automation ที่พอวินิจฉัยเสร็จแล้วก็จะมีการจ่ายยาไปให้ถึงบ้านโดยอัตโนมัติ

ต้นทุนในการพบหมอของเราทุกคนก็จะถูกลงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แถมเรายังประหยัดเวลาที่เคยต้องไปพบหมอที่เจอหมออาจจะแค่ไม่กี่นาที แต่กว่าจะไปและกลับแต่ละทีกินเวลาไปหลายชั่วโมงเหลือเกินครับ

2. Engage Care เครื่องมือส่งต่อ Health data ที่คนป่วยความดันและเบาหวานจะเบาใจ

โรงพยาบาลสมิติเวชเปิดตัว 4 นวัตกรรมด้าน HealthTech ที่จะยกระดับ Telemedicine ด้วย IoT ที่ทำให้หมอสามารถวินิจฉัยโรคอายุรกรรมได้อย่างแม่นยำ
โรงพยาบาลสมิติเวชเปิดตัว 4 นวัตกรรมด้าน HealthTech ที่จะยกระดับ Telemedicine ด้วย IoT ที่ทำให้หมอสามารถวินิจฉัยโรคอายุรกรรมได้อย่างแม่นยำ

อุปกรณ์ HealthTech ในยุค IoT ที่ทำให้หมอสามารถเข้าถึง Health Data สำหรับผู้ป่วยโรคความดันและเบาหวานได้ทันทีที่ต้องการ จากการลองทดสอบด้วยตัวเองในงานมาพบว่าสามารถใช้งานแบบไร้สายได้แถมยังดู Smart ด้วย เรียกได้ว่าสมกับเป็นเครื่องมือการแพทย์ในยุค Digital จริงๆ ครับ เดิมทีต้องคอยบันทึกหรือจดค่าความดันไว้บอกหมอ ซึ่งอาจจะจดผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนได้ แต่พอใช้เจ้าเครื่องมือตัวนี้ต่อกับแอปของสมิติเวช กลายเป็นว่าสะดวกสบายแบบสุดๆ (ผมยังจะซื้อให้พ่อเครื่องนึงเลยพอได้ลอง)

แถมยังสามารถตรวจระดับน้ำตาลกับออกซิเจนในเลือดก็ยังได้ แล้วทุกอย่างก็จะถูกเก็บไว้บนระบบ Cloud พร้อมให้แพทย์ประจำตัวเราสามารถดูแลเฝ้าระวังได้ตลอดเวลาโดยที่เราไม่จำเป็นต้องพาตัวเองไปโรงพยาบาลถ้าไม่จำเป็น

และเจ้าเครื่องมือตัวนี้ก็ทำให้การพบแพทย์ทางออนไลน์หรือ Telemedicine ของโรงพยาบาลสมิติเวชเหนือกว่าโรงพยาบาลคู่แข่งไปอีกขั้น เพราะตอนนี้หมอมี Health data ของเราพร้อมทำให้การวินิจฉัยอาการต่างๆ ก็เป็นไปอย่างแม่นยำที่ไม่ใช่แค่การสอบถามอาการจากความรู้สึกของคนไข้เพียงอย่างเดียวครับ

โรงพยาบาลสมิติเวชเปิดตัว 4 นวัตกรรมด้าน HealthTech ที่จะยกระดับ Telemedicine ด้วย IoT ที่ทำให้หมอสามารถวินิจฉัยโรคอายุรกรรมได้อย่างแม่นยำ

และนี่ก็คือ 2 เทคโนโลยีด้านการแพทย์หรือ HealthTech ที่เอาอุปกรณ์ IoT มาช่วยให้การตรวจและวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยที่ไม่สะดวกไปโรงพยาบาลเป็นไปได้มีคุณภาพไม่ด้อยไปกว่าการมาพบแพทย์ตัวเป็นๆ จริงๆ ที่โรงพยาบาลเลย

ผมว่าเรื่องพวกนี้กำลังเข้ามาใกล้ตัวเรามากทุกที จนอดคิดไม่ได้ว่าอีกหน่อยคงมีติดบ้านกันเหมือนทีวีตู้เย็นก็เป็นได้ แล้วพอใครรู้สึกว่าตัวเองกำลังจะไม่สบายก็แค่เอาเครื่องมือเหล่านี้มาตรวจวัดอาการส่งเป็น Data ไปให้หมอหรือ AI ช่วยวินิจฉัยแล้วส่งยามาให้หรืออาจจะเป็นการจองคิวหมอหรือส่งรถพยาบาลมารับเลยก็ได้ถ้าฉุกเฉินครับ

3. Samitivej Prompt แล้วการไปโรงพยาบาลจะไม่ใช่เรื่องงงอีกต่อไป

โรงพยาบาลสมิติเวชเปิดตัว 4 นวัตกรรมด้าน HealthTech ที่จะยกระดับ Telemedicine ด้วย IoT ที่ทำให้หมอสามารถวินิจฉัยโรคอายุรกรรมได้อย่างแม่นยำ

เหมือนอย่างที่ผมเล่าเกริ่นมีตอนต้นว่าครั้งล่าสุดที่พาคนในครอบครัวไปโรงพยาบาลเต็มไปด้วยความงงมากมาย งงว่าไม่รู้ว่าตอนนี้เรื่องราวไปถึงไหน แล้วก็งงว่าไม่รู้อีกนานแค่ไหนถึงจะได้ไปต่อ

เมื่อทีมงานของโรงพยาบาลสมิติเวชเล่าให้ฟังคือพวกเขาทำเว็บขึ้นมาสำหรับให้ผู้ป่วย OPD สามารถรู้ได้ว่าตัวเองกำลังอยู่ในขั้นตอนไหน และต้องรออีกนานเท่าไหร่ รวมถึงการเอาประวัติการรักษาทั้งหมดมาไว้ให้เราได้ตรวจสอบตัวเอง เราสามารถรู้คิวนัดได้จากเว็บนี้ไม่ต้องลืมวันไปหาหมออีกต่อไป หรือเราจะสามารถเลือกช่วงเวลาและสาขาที่สะดวกด้วยตัวเองก็ยังได้โดยไม่ต้องโทรไปโรงพยาบาลให้วุ่นวาย แถมที่สำคัญเรายังเลือกหมอที่เราชอบหรือถูกใจก็ได้ด้วย

ที่น่าสนุกคือในแอปนี้มีการเปิดโอกาสให้คนไข้สามารถให้คะแนนหมอได้ และนั่นก็น่าจะส่งผลให้ทางหมอได้รู้ฟีดแบคของตัวเองว่าตกลงเราดุไปมั้ย เราอธิบายหรือตอบคำถามของคนไข้ดีพอหรือเปล่า สมกับเป็นยุค 4.0 ที่ใครๆ ก็สามารถแสดงความเห็นได้ แน่นอนว่าจุดนี้จะเป็นการปรับปรุง Customer Experience ที่ดีขึ้นของคนไข้หรือลูกค้าในโรงพยาบาลเป็นอย่างมากแน่นอนครับ

หรือแม้สำหรับคนที่แอดมิทนอนโรงพยาบาลก็สามารถใช้ระบบ Samitivej Prompt ได้ด้วยเช่นกัน ข้อดีคือทำให้เรารู้ว่าในแต่ละวันเราจะต้องทำอะไรบ้าง หมอหรือพยาบาลจะเข้ามาหาเราตอนไหน หรือแม้แต่ในขั้นตอนการจ่ายเงินก็เป็นไปโดยง่าย สามารถใส่เลขบัตรเครดิตเข้าไปหรือจะสแกน QR Code จ่ายก็ได้ เรียกได้ว่าเป็นการยกระดับ Customer Journey และ Customer Experience ในโรงพยาบาลสมิติเวชจริงๆ ครับ

ถึงตอนนี้คุณไม่ต้องไปคอยนั่งรอตามจุดต่างๆ ที่โรงพยาบาลกำหนดอีกต่อไป ถ้าคุณเสร็จขั้นตอนไหนจะไปเดินเล่นหาชาไข่มุกหรือกาแฟกินก็ได้ แล้วพอเมื่อไหร่ใกล้ถึงคิวคุณระแบบก็จะส่ง Notification มาแจ้งเตือน เป็นอย่างไรครับกับความสบายสมกับยุค Digital 4.0 ที่ควรจะเป็นได้เกิดขึ้นจริงเสียที

4. Samitivej Pace ยกระดับประสบการณ์การผ่าตัด

การผ่าตัดของตัวเราหรือคนในครอบครัวล้วนเป็นเรื่องใหญ่ เคยเป็นไหมครับว่าเวลาใครสักคนในบ้านเราต้องผ่าตัดก็มักจะเต็มไปด้วยญาติพี่น้องมานั่งออนอนราอยู่หน้าห้องผ่าตัดกันมากมาย

แต่ด้วยระบบ Samitivej Pace นั้นเข้ามาทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไปเป็นเรื่องง่ายกว่าเดิมมาก เพราะในระบบนี้จะมีการอัพเดทสถานะทุกขั้นตอน เสมือนมีคนในครอบครัวที่อยู่กับผู้ผ่าตัดตลอดเวลาแล้วก็คอยส่งข่าวให้ทุกคนในบ้านได้รู้ว่าตอนนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนไหนแล้วนั่นเองครับ

ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อยแล้วแต่สำคัญมากเลยนะครับว่า ลองคิดดูซิครับว่าเดิมทีเราต้องคอยเฝ้าหน้าห้องเพื่อจะได้ตามเตียงที่ออกไปเพื่อจะได้รู้ต่อว่าเขาไปพักฟื้นอยู่ห้องไหน แต่ระบบนี้ทำให้ความเครียดของทุกฝ่ายลดลง ทำให้คนที่อาจจะไม่สะดวกมาจริงๆ ก็สามารถสบายใจได้ว่าคนที่เขารักจะปลอดภัยเมื่อออกจากห้องผ่าตัดนั่นเองครับ

และยังรวมไปถึงการฝากข้อความบางอย่างถึงแพทย์ประจำคนไข้ หรือตรวจเช็คค่ารักษาพยาบาลได้ตลอดเวลา ว่าตอนนี้มีค่าใช้จ่ายไปแล้วเท่าไหร่ เรียกได้ว่าเอาใจใส่ทั้งคนไข้และญาติจริงๆ

สรุป 4 นวัตกรรม HealthTech ของโรงพยาบาลสมิติเวชที่ยกระดับ Telemedicine ให้เหนือไปอีกขั้น

ไม่แน่นะครับว่าอีกหน่อยถ้าเราทุกบ้านมีเครื่องมือเหล่านี้กันถ้วนหน้า การเจ็บป่วยแล้วต้องไปโรงพยาบาลอาจเป็นเรื่องที่ไม่มีใครเขาทำกัน คนที่อยู่ห่างไกลก็สามารถเข้าถึงหมอได้อย่างทันเวลาและเท่าเทียม คนที่อยู่ใกล้แต่ด้วยไลฟ์สไตล์ที่ยุ่งมากก็สามารถได้รับการตรวจวินิจฉัยจากหมอผ่านการส่ง Health data ของตัวเองแบบแม่นยำแล้วได้รับผลกลับมาแทบจะภายในทันที

แล้วถ้าต้องมีหยูกยาต้องกินก็สามารถรอรับยาอยู่บ้านได้รวดเร็วยิ่งกว่าช้อปปิ้งออนไลน์ แล้วทั้งหมดนี้ก็ตามมาด้วยต้นทุนการรักษาที่ถูกลงมาก แต่คุณภาพไม่ได้ลดลงตามราคาไปด้วยเลย

และทั้งหมดนี้ก็นับเป็นอีกหนึ่งเคสของการเอาเทคโนโลยีมาใช้กับธุรกิจ Healte care ที่ดูเหมือนไม่ค่อยมีอะไรเปลี่ยนแปลงในสายตาผู้บริโภคทั่วไป แต่พอได้รู้จักกับ TytoCare ที่มาพร้อมอุปกรณ์เสริมที่ทำให้แพทย์สามารถตรวจได้เหมือนอยู่ตรงหน้าเรา ผมว่าเท่านี้ก็ว้าวสำหรับชาวบ้านอย่างผมแล้วครับ

แล้วใครอยากรู้จักโรงพบาบาลสมิติเวชโฉมใหม่ให้มากที่ผมเล่ามา ตามลิงก์นี้ไปได้เลยครับ > https://www.samitivejhospitals.com/worry-free-care/

โรงพยาบาลสมิติเวชเปิดตัว 4 นวัตกรรมด้าน HealthTech ที่จะยกระดับ Telemedicine ด้วย IoT ที่ทำให้หมอสามารถวินิจฉัยโรคอายุรกรรมได้อย่างแม่นยำ

อ่านบทความที่เกี่ยวกับ Health ในการตลาดวันละตอนต่อ > https://www.everydaymarketing.co/category/business/health/

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน