Case Study Greenwashing ที่หลอกลวงว่าเป็นแบรนด์ Eco Friendly ตอน 2

Case Study Greenwashing ที่หลอกลวงว่าเป็นแบรนด์ Eco Friendly ตอน 2

เมื่อภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาใหญ่ของคน ทำให้หลายแบรนด์พยายามเป็นฮีโร่ในสายตาของผู้บริโภค บางแบรนด์ก็สร้างความยั่งยีนและเป็นแบรนด์ Eco Friendly ได้จริง แต่บางแบรนด์แค่พยายามเนียนว่าตัวเองรักษ์โลก อย่างที่เราเรียกว่า การฟอกเขียว หรือ Greenwashing

ต่อจากเดิม..

ครั้งนี้ปลื้มจะเล่า Case ต่อจากบทความเดิม สำหรับใครที่ยังไม่ได้อ่านตั้งแต่แรก ปลื้มแนะนำว่าต้องไปอ่านก่อน เพราะปลื้มได้สรุปความหมายของ Eco Friendly และ Greenwashing สั้นๆ ไว้แล้ว ซึ่งอย่างที่เรารู้กันว่า 2 กลยุทธ์นี้ ทำให้ผู้บริโภคสับสนและเข้าใจผิดกันอยู่บ่อยๆ

เพราะการโฆษณาที่ไม่จริงใจ อีกทั้งบริษัทต่างๆ มักจะฉายภาพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ไม่จริง บางครั้งก็เนียนตรวจจับได้ยาก เลยมี Case ของแบรนด์ที่ใช้วิธี Greenwashing มาเล่าต่อ จะมีแบรนด์ไหนบ้าง มาดูไปพร้อมกันเลยค่ะ

Case : แบรนด์ Hefty ถุงขยะหลอกลวง

Case Study:Greenwashing ที่หลอกลวงว่าเป็นแบรนด์ Eco Friendly #2
Photo : truthinadvertising

เมื่อปีที่ผ่านมา มีการฟ้องร้องดำเนินคดีกับ Hefty Recycling Bags ซึ่งเป็นแบรนด์จำหน่ายถุงขยะ ที่ได้โฆษณาว่าออกแบบมาเพื่อรองรับการรีไซเคิลได้ทุกประเภท แต่ที่ถูกฟ้องคือถุงขยะของแบรนด์ดังกล่าวไม่สามารถรีไซเคิลได้จริง เพราะถุงทำจากพลาสติกโพลีเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ และยังเป็นถุงขยะที่ปนเปื้อนของเสีย

นั่นทำให้แบรนด์โดนกล่าวหาละเมิดกฎหมายต่อต้าน Greenwashing หรือการฟอกเขียว ของรัฐแคลิฟอร์เนีย จะเห็นว่ามันไม่ใช่แค่ทำให้ภาพลักษณ์แบรนด์ดูแย่เท่านั้น การมีคดีความถึงเป็นการเสียผลประโยชน์มากมายสำหรับแบรนด์เลยนะ

Case : สายการบิน Ryanair อ้างสิทธิ์การปล่อยมลพิษต่ำ

Case Study:Greenwashing ที่หลอกลวงว่าเป็นแบรนด์ Eco Friendly #2
Photo: thesustainableagency

จากข้อมูลที่ปลื้มศึกษามา พบว่า Ryanair เป็นสายการบินต้นทุนต่ำพิเศษสัญชาติไอริช ซึ่งโดยปกติแล้วผู้คนก็ไม่ค่อยถูกใจแบรนด์สักเท่าไหร่ เพราะแบรนด์ชอบโฆษณากลางเที่ยวบิน ค่าสัมภาระที่ไม่ชัดเจน และที่นั่งอึดอัด เป็นต้น

แถมพอรู้มีการฟอกเขียว ในช่วงต้นปี 2020 หลังสายการบิน Ryanair ประกาศต่อสาธารณชนชาวอังกฤษว่าเป็น ‘สายการบินที่ปล่อยมลพิษต่ำที่สุด’ นั่นเป็นการอ้างและเครม ที่หน่วยงานมาตรฐานการโฆษณาได้ห้ามโฆษณาทันที เพราะปกติแล้วการใช้คำว่า ที่สุด ที่หนึ่ง แบบนี้ก็เป็นสิ่งที่แบรนด์ไม่สามารถโฆษณาได้อยู่ด้วยค่ะ

Case : แบรนด์ Quorn อ้างสิทธิ์คาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่ไม่สามารถตรวจสอบได้

Quorn คือแบรนด์ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์ ซึ่งเขาได้โฆษณาสินค้าตัวใหม่ Thai Wonder Grains lunch pot ถ้าดูคลิปวิดีโอผลิตภัณฑ์มันจะคล้ายอาหารคัพ และในโฆษณาเขาอ้างเรื่องการช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

ซึ่งเนื่องจากแบรนด์เองไม่ได้ชี้แจงว่าการวัดการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่อ้างสิทธิ์นั้น วัดจากอะไร? ผู้คนไม่ทราบว่าการลดนี้มีพื้นฐานมาจากอะไร ทั้งนี้หน่วยงานมาตรฐานการโฆษณาตัดสินว่าโฆษณานั้นทำให้คนเข้าใจผิด และยังเป็นไปไม่ได้ที่สินค้าตัวใหม่ของเขาจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้เลย

Case : ปั้ม Shell การสำรวจสภาพภูมิอากาศบน Twitter

Case Study:Greenwashing ที่หลอกลวงว่าเป็นแบรนด์ Eco Friendly #2
Photo: thesustainableagency

ปกติแล้ว Shell มีส่วนรับผิดชอบต่อการปล่อย CO2 ทั่วโลกประมาณ 1-2% จากกิจกรรมของบริษัททุกปี และ และเมื่อปี 2020 แบรนด์ได้เปิดโหวตบนทวิตเกี่ยวกับการช่วยลดการปล่อยมลพิษ โดยแบบสำรวจนี้ดึงดูดผู้ตอบเพียง 199 คน พบว่า คนโหวตการใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นส่วนใหญ่ถึง 44.7%

แต่ต้องบอกว่าซ็อตฟิว เมื่อศาลยุโรปสั่งให้ Shell ลดการปล่อยคาร์บอนลง 45% ภายในปี 2573 มันประมาณว่าก่อนที่จะทำทีส่งเสริมเรื่องรักษ์โลก ก็ต้องดูว่าเราสามารถแก้ปัญหาของแบรนด์ก่อนไหม เพราะมันจะเหมือนกันว่าคุณใช้โวเชียลแค่สร้างภาพเฉยๆ นั่นเอง

Case : สายการบิน KLM กับการชดเชยคาร์บอนที่ทำให้เข้าใจผิด

Case Study:Greenwashing ที่หลอกลวงว่าเป็นแบรนด์ Eco Friendly #2
แคมเปญ Fly Responsibility ของ KLM

สายการบิน KLM มักใช้สโลแกนที่ชัดเจน เช่น “be a hero, fly CO2 zero” และ “fly CO2 neutral” หมายความว่าเที่ยวบินจะไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย โดยการปลูกต้นไม้ทดแทน ซึ่งมันย้อนแย้งมากๆ เพราะการทำลาย แล้วทดแทนด้วยอีกสิ่ง มันไม่สามารถสร้างความยั่งยืนได้

จึงทำให้ผู้คนรู้สึกว่าเราไม่รู้ว่าต้องปลูกต้นไม้มากสักแค่ไหน เพื่อให้พอสำหรับเที่ยวบินของ KLM ในแต่ละครั้ง และพื้นที่ปลูกต้นพอ กำจัด CO2 ที่ปล่อยออกมาจากเที่ยวบินของเขาหรือไม่ อย่างไรก็ตามมันยังไม่สามารภเลือกตัวเองให้ว่าเป็นอิโค่ เฟรนลี่ค่ะ

Case : ธนาคาร HSBC โฆษณาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ทำให้เข้าใจผิด

จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือหลายแห่งบอกว่า ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในโลกกำลังระดมทุน เพื่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศ โดยส่วนใหญ่ผ่านการลงทุนที่มีผลกระทบอย่างมากต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะเชื้อเพลิงฟอสซิล

Case Study:Greenwashing ที่หลอกลวงว่าเป็นแบรนด์ Eco Friendly #2
Photo: thesustainableagency

HSBC อยู่ในอันดับที่ 13 สำหรับธนาคารชั้นนำที่จัดหาเชื้อเพลิงฟอสซิลในสหราชอาณาจักร และยังคงให้เงินแก่อุตสาหกรรมที่มีปริมาณคาร์บอนสูง เช่น การขุดถ่านหินด้วยความร้อน เป็นต้น แต่กลับมีโฆษณาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโดย ชวนปลูกต้นไม้ 2 ล้านต้น จะสามารกักเก็บคาร์บอนได้ 1.25 ล้านตัน

และไม่นานก็เริ่มมีกลิ่นการฟอกเขียวออกมา เมื่อมีผู้คนออกมาเรียกร้องหน่วยงานมาตรฐานการโฆษณาว่าโฆษณาของ HSBC นั้นทำให้เข้าใจผิด และเป็นโฆษณาที่ดูปลอม

จริงๆ ปลื้มว่าแบรนด์เล็กๆ น้อยๆ ในโลกออนไลน์ตอนนี้ก็มีการใช้กลยุทธ์ Greenwashing หลายเจ้าเหมือนกันนะคะ ใช้ Point รักษ์โลกเพื่อโน้มน้าวคนให้รู้สึกดี แต่มันก็เสี่ยงมากถ้าโป๊ะขึ้นมา ความน่าเชื่อถือแบรนด์ก็จะหายไป อย่างไรก็ตามการที่จะทำ การตลาด Eco Friendly ก็ต้องแก้ปมปัญหาได้จริง ยั่งยืน ไม่ใช้ย้อนแย้ง ปลื้มเอาใจช่วยค่ะ

กลับไปอ่านบทความ #1

สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ

Source

Yoswimol

🎡PLEUM | Data Research Executive ในเครือการตลาดวันละตอน | สนใจเรื่องการตลาด ชอบดูการแข่งขันทางการตลาด และเป็นทาสตลาด... ทุกบทความตั้งใจเขียนมาก ขอบคุณที่เข้ามาอ่านกันนะคะ มันเป็นกำลังใจที่ทำให้อยากเขียนต่อไปเลย☺️

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *