Robinhood Food Delivery Insight 2021 คิดแบบคนตัวเล็กที่มาช้าแต่ชัดเจน

Robinhood Food Delivery Insight 2021 คิดแบบคนตัวเล็กที่มาช้าแต่ชัดเจน

ผ่านมาแล้ว 88 วันกับแอป Food Delivery น้องใหม่จาก Purple Venture ในเครือ SCB10X กับ Robinhood หลังจากได้ทำการ Launch ไปในปลายปี 2020 ซึ่งคำถามที่หลายๆ คนคิดคงหนีไม่พ้น ‘จะรอดไหมนะ เพราะมาช้ากว่าเจ้าอื่นเยอะมากๆ’ วันนี้การตลาดวันละตอนได้ Robinhood Insight 2021 มาเลยจะอัพเดทให้ฟังกันค่ะ ว่า 88 วันที่ผ่านมา แอปเค้ามีแผนจะทำอะไร อย่างไรให้อยู่รอด ยิ่งมาช้ากว่าคนอื่นหลายก้าวแบบนี้ ต้องมี Mindset หรือกลยุทธ์อะไรที่จะ Beat คู่แข่งเจ้าใหญ่ๆ บ้าง? เพลินบอกเลยว่าบทความ Insight นี้ นักการตลาดและเจ้าของธุรกิจไม่ควรพลาดค่ะ

ถ้าช้า ต้องแตกต่างและชัดเจนด้วย Purpose

Robinhood เป็นแอป Food Delivery ที่ก่อตั้งขึ้นมาด้วย Purpose การทำ CSR เพื่อช่วยเหลือคนตัวเล็กให้อยู่รอดในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ในช่วงปี 2020 ที่ผ่านมา และจาก Purpose ความตั้งใจในการช่วยเหลือร้านเล็กๆ นี้ ทำให้เกิดเป็นจุดแข็งของแอปที่แตกต่างจากคู่แข่ง นั่นก็คือการไม่เก็บเงินค่า GP จากร้านเล็กๆ เหล่านั้น ที่ไม่สามารถเข้าร่วมกับแบรนด์ Delivery อื่นๆ ได้ จนกลายเป็นแพลตฟอร์มที่รวมร้านอาหารเล็กๆ ไว้ได้กว่า 55,000 ร้านแล้วภายใน 88 วัน

และเมื่อแบรนด์มี Purpose ที่แน่ชัดแล้ว Robinhood ก็ไม่ลืมที่จะส่งต่อและถ่ายทอด Purpose นี้ ไปหาพนักงานและพาร์ทเนอร์ทุกคน เพื่อให้ทุกคนเห็นภาพเดียวกันจนกลายเป็นเหมือน Culture ดีๆ ที่เกิดขึ้นในทุกๆ Party ค่ะ ตั้งแต่ไรเดอร์ที่ไม่ได้เข้ามาแค่หารายได้ไปวันๆ แต่ทำงานด้วยใจเพราะได้รับการ Training พร้อม Purpose ที่มีคุณค่าแก่จิตใจ ในส่วนของร้านค้าเองก็มีความสุขที่จะรับออร์เดอร์จากแอป Robinhood เพราะนอกจากจะไม่โดนหักค่า GP แล้ว ยังได้เจอไรเดอร์ที่ทำงานด้วยใจเหมือนกันด้วย

ดังนั้นในข้อนี้ ทำให้เราเห็นได้เลยค่ะว่าถ้าคุณอยากลงเล่นในตลาดที่มันไม่ได้ใหม่ คุณก็จำเป็นมากที่จะต้องหาจุดต่าง ถ้าไม่ต่างด้วยสินค้าหรือบริการ ก็ต้องเข้าด้วย Emotional Value บางอย่างที่ทำของเก่าให้ใหม่หรือแตกต่างได้ หลังจากนั้นการหา Purpose ถึงเหตุผลว่าแบรนด์ของเราจะอยู่ไปทำไมก็เป็นเรื่องที่จำเป็นมากในวันนี้ หาตัวเองให้เจอว่าแบรนด์ของเราจะไปตอบโจทย์ Need ของใครหรือ Pain ของใคร? เท่านี้ก็มีช่องว่างให้คุณเดินได้สะดวกต่างคู่แข่งเจ้าที่มาก่อน หรือเจ้าที่กระเป๋าหนักแล้วค่ะ

ถ้ามาช้า แล้วงบน้อย ต้องรู้จักใช้ Resources ที่มีให้เป็นประโยชน์

วันนี้เทคนิคและกลยุทธ์การตลาดมีออกมาใหม่เรื่อยๆ เต็มไปหมดจนอ่านแทบไม่ทัน อะไรที่ว่าเคยเวิร์คเมื่อก่อน พอเจอ COVID19 ก็ไม่เวิร์คแล้วก็มีเหมือนกัน แต่สิ่งนึงที่เป็นท่าพื้นฐานที่นักการตลาดและเจ้าของธุรกิจทุกท่านควรทำและ Aware เอาไว้สำหรับแบรนด์ของตัวเองก็คือการทำ SWOT Analysis ค่ะ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อดูว่าตัวเองมีจุดแข็งหรือจุดอ่อนอะไรบ้าง แบบที่ Robinhood เค้ารู้ตัวเอง เพราะนอกจากเค้าจะมาช้าเป็น Weakness ข้อแรกแล้ว เค้ายังมีงบหรือเงินให้เผาน้อยกว่าคู่แข่งเจ้าใหญ่อื่นๆ ที่แซงหน้าไปไกลแล้วด้วย แต่พอรู้ Weakness แบบนี้ เค้าก็รู้ตัวว่า Strength ของเค้าคืออะไร อย่าง Branches สาขาที่เค้ามีกระจายอยู่ทั่วประเทศนั่นเองค่ะ

สิ่งที่ Robinhood ทำต่อมาก็คือการรู้จัก Utilize สาขาที่เป็น Asset ในมือให้เป็นประโยชน์ และ Sync งานกันแบบ O2O หรือ Online-to-Offline ด้วย เพราะในการค้นหาและจะเข้าถึงร้านอาหารตัวเล็กๆ นั้น ไม่สามารถจะรอให้ร้านเล็กๆ เหล่านี้เข้ามาเองแล้วทำทุกอย่างผ่านออนไลน์ได้ แต่เมื่อมีพนักงานสาขาที่ต่างคนต่าง Contribute ร้านเล็กที่ชื่นชอบ พร้อมกับการลงพื้นที่ไป Acquire ร้านเล็กอื่นๆ ให้ทั่ว ทำให้จำนวนร้านค้าเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ แบบที่ถ้าลูกค้าหาร้านเล็กจากแอปอื่นไม่ได้ ให้ลอง Search ผ่าน Robinhood ดู ถ้ายังไม่เจอร้านเล็กที่ต้องการในวันนี้ รอเลยว่าวันหน้ามาแน่ค่ะ

นอกจากนั้นการทำงานอื่นๆ เอง SCB เค้าก็มีการร่วมแรงแบบช่วยกันจากหลายฝ่าย เพราะนอกจากพนักงานสาขาแล้ว ยังมีกลุ่มพนักงานการตลาดที่ลงพื้นที่ ช่วยกันถ่ายทำ สร้าง Content เชิญชวนด้วยค่ะ

ข้อคิดสำหรับนักการตลาดและเจ้าของธุรกิจสำหรับข้อนี้นะคะ อย่างที่บอกคือ กลับไป Revise และ Update หน้า SWOT Analysis ของตัวเอง ใครยังไม่ทำ ให้ลองทำออกมา ดูว่าจุดอ่อนของเราคืออะไร จุดแข็งของเราคืออะไร ยิ่งถ้ามีจุดอ่อนและจุดแข็งมาจากมุมมองลูกค้าแบบ Outside-in ได้ด้วยจะเยี่ยมมาก พอทำ SWOT เสร็จแล้ว เพลินแนะนำว่าให้ทำ TOWS Matrix เพิ่ม เพื่อผลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส และต่อยอดข้อดีให้เป็นประโยชน์ค่ะ

ถ้ามาช้า Target ต้องชัด

อย่างที่เรารู้กันแล้วว่าจุดแข็งหลักของ Robinhood ในวันนี้ก็คือการไม่เก็บค่า GP จากร้านค้า ซึ่งแน่นอนว่าการทำแบบนี้ ก็คือการได้ใจร้านค้าตัวเล็กไปเต็มๆ ร้านไหนก็อยากเข้าร่วมแพลตฟอร์ม ทั้งนี้ก็เพราะ Robinhood เค้ามีกลุ่มเป้าหมายชัดเจนแล้วว่า Target ของเค้าคือกลุ่ม B2B เป็นหลัก ไม่เหมือนกับแอปคู่แข่งเข้าอื่นๆ ที่เน้นจับกลุ่ม B2C เน้นทำโปรโมชั่นมากมายเพื่อให้คนทั่วไปใช้งานและ Download กลับกันเป้าหมายของ Robinhood คือการพยุงร้านเล็ก เพื่อเพิ่มจำนวนร้านค้าในแพลตฟอร์ม แล้วถ้าร้านเล็กมารวมกันที่แอปโรบินฮู้ดแล้วไม่มีที่แอปอื่น กลุ่ม Customers ที่เป็นปลายทางก็จะไหลมาที่แอปนี้ด้วยตัวเองเป็นลูกโซ่ค่ะ

เมื่อ Robinhood ชัดแล้วว่ากลุ่มเป้าหมายเค้าคือใคร การทำงานอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Business plan หรือ Marketing plan ก็จะไหลใน Direction เดียวกันด้วย เพราะหลังจากนี้โฟกัสก็จะพุ่งไปที่เรื่องของ B2B เพิ่มขึ้น ตั้งแต่การรองรับ Financial service หรือปล่อยกู้ที่แน่นอนว่าเป็นงานถนัดของธนาคารอย่าง SCB อยู่แล้ว หรือจะเป็นเหมือน Supply Chain Fulfillment ที่พร้อม Support ร้านค้าทั้งหลายในเรื่องของวัตถุดิบหรืออื่นๆ เพิ่มเป็นต้น

ถึงอย่างนั้นการจะเอาแค่ร้านค้ามาดึง Customers ปลายทางอย่างเดียวก็ไม่ได้ เพราะลูกค้าของร้านค้าก็สำคัญ Robinhood ก็กำลังพัฒนา UX UI ของแอปให้ใช้งานง่าย ตอบโจทย์พฤติกรรม Consumer ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของคู่แข่งเจ้าอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็น ฟังก์ชัน..

  • Muiti-order ที่ลูกค้าสามารถสั่งหลายๆ ออร์เดอร์พร้อมกันแบบไม่ต้องรอ
  • Muiti payment ที่ยังคงเน้นสังคมไร้เงินสด ให้ลูกค้าสามารถจ่ายผ่าน Mobile Banking ของธนาคารอื่นๆ ได้
  • Favorite Shop เซฟร้านโปรดได้ ไม่ต้องเสิร์ชหาใหม่ทุกครั้งที่สั่ง
  • New Playlist หรือ New Peak ที่ Robinhood ต้องการสร้างเพื่อรองรับกลุ่มคนตื่นเช้าตรู่ นอกเหนือจากเวลาพีคปกติ
  • Dynamic Playlists แนะนำร้านค้าแบบ Personalise ไม่ว่าจะตามความชอบ สถานที่ ที่อิง Data ล้วนๆ
  • Rider Tracking ที่จะแสดงผลให้ Consumer เห็นได้เลยว่าตอนนี้ไรเดอร์ของเราอยู่ที่ไหนแล้ว

สำหรับข้อนี้แน่นอนว่าการมีเป้าหมายที่ชัดยังไงก็ได้เปรียบ ดังนั้นข้อคิดสำหรับข้อนี้ก็คือ การกลับไปตกผลึกว่า เป้าหมายของเราจริงๆ คือใครกันแน่ ลูกค้าของลูกค้าคือใคร แล้วใครยังขาดอะไร ต้องการอะไร มี Need หรือ Pain อะไรที่เราจะช่วยแก้ได้ในระหว่าง Journey ของเค้า เพราะจริงๆ แล้วการที่เรามีกลุ่มเป้าหมายชัดเจน มันเป็นจุดตั้งต้นที่ดีที่สุดในการหา Brand Purpose ที่จะลากและพาเราไปสู่การทำสิ่งอื่นๆ ต่อไปค่ะ

ถ้ามาช้า ต้องให้ Data ช่วยตัดสิน

สิ่งสุดท้ายที่ช่วยให้ Robinhood เดินได้มั่นคงในวันนี้ คงหนีไม่พ้นเรื่องของการทำงานกับ Data ด้วย Dashboard ที่เป็น Real Time พร้อม Track ดูว่าคนค้นหาอะไรกันบ้าง จนเกิดเป็น Data-Driven Decision ใหม่ๆ อย่าง Content ที่ทำขึ้นเรื่องรวมปลาส้ม Salmon ก็มาจากการเห็นว่าการค้นหาของปลาส้มเพิ่มขึ้นในแอป เพราะร้าน Oba San 168 ที่เป็นต้นต่อในการโพสต์โปรโมตร้านตัวเองในกลุ่มคนรักปลาส้ม จนคนแห่กันมาสั่งซื้อผ่าน Robinhood ทำให้ปล่แซลม่อนในแอปตอนนี้ขายดี ยกทั้งตลาดขึ้นมาเลยค่ะ

นอกจาก Data-Driven Content แล้ว Robinhood ก็ยังมีการใช้ Data ในการตัดสินใจว่าจะขยายไปต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น โดยจะลุยจังหวัดจากที่มีการค้นหาอันดับต้นๆ เป็นหลัก อย่างโคราช ขอนแก่น เชียงใหม่ และภูเก็ต นั่นเองค่ะ 

ข้อนี้ทำให้เราเห็นเลยว่า ถ้าเราเล็ก ถ้าเราช้า สิ่งนึงที่จะช่วยให้การตัดสินใจของเราง่ายและเร็วขึ้น ก็คือการใช้ Data เข้ามาประกอบ ถ้าหากเราไม่ได้มีเงินในการทำ Dashboard ของตัวเองก็ลองใช้เครื่องฟรีอื่นๆ ในการช่วยตัดสินใจดูค่ะ ทั้งนี้ก็เพื่อที่เราจะไม่ต้องเสี่ยงลงทุนหรือทำอะไรให้ล้มและเจ็บตัวก่อนได้เยอะเลย

ทั้งหมดนี้ก็คือ Robinhood Insight 2021 และการคิด บริหารแบบคนตัวเล็กที่มาช้ากว่าเจ้าใหญ่ของ Robinhood ที่เพลินนำมาฝาก อยากให้นักการตลาดได้ลองนำไปเรียนรู้และปรับใช้กับงานและแบรนด์ของตัวเอง  ยิ่งใครที่มีกำลังทำให้กับสินค้าที่ไม่ต่างหรือมี Players เยอะอยู่แล้ว ลองหามุมต่างดูค่ะ อย่างที่บอกว่า ถ้า Functional ไม่ได้ก็ต้องต่างด้วย Emotional Value บางอย่าง ลองดูกันนะคะ

อ่าน Case Study ของแอป Food Delivery – DoorDash ในต่างประเทศที่ให้คนประมูลของที่อยากได้ ด้วยการสั่งอาหารผ่านแอป ใครสั่งมากสุดก็ได้ของไปเลย

Plearn Wisetwongchai

Marketing Strategic Planner ในเครือการตลาดวันละตอน | A Creator สาวพลัสไซส์ @Fabfatkid | A Travel Lover ที่หมดเงินเกือบ 80% ไปกับการเดินทางแบบแมสๆ | An Instagrammer @theplearn ที่ชอบเล่น Story เป็นชีวิตจิตใจ | สุดท้ายคือ Data Researcher ทั้ง Social และ Search Data etc. ค่ะ

One thought on “Robinhood Food Delivery Insight 2021 คิดแบบคนตัวเล็กที่มาช้าแต่ชัดเจน

  1. วิเคราะห์ออกมาได้ดีมากๆเลยค่ะ โดยใช้คำศัพท์ทางการตลาดที่ไม่ยากเกินไป ใช้ภาษาเหมือนการเล่าเรื่อง ทำให้อ่านง่าย เข้าใจง่าย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่