KitKat เปิด Debate ให้คนบอกว่ากินคิทแคทแบบไหนอร่อยสุด

KitKat เปิด Debate ให้คนบอกว่ากินคิทแคทแบบไหนอร่อยสุด

ถ้าพูดถึง KitKat ก็ต้องคิดถึงสโลแกน ‘คิดจะพักคิดถึงคิทแคท’ ซึ่งล่าสุดในประเทศ Australia ได้ทำ Social Media ลุกเป็นไฟ กวาด Engagement ไปแบบรัวๆ เพียง KitKat เปิด Debate ว่า ‘คุณทานคิทแคทแบบไหนที่อร่อยที่สุด’ เพียงเท่านี้ก็เกิดกระแส UGC หรือ User Generated Content พร้อมคอมเมนต์มากมายแล้วค่ะ

ต้องบอกว่าเป็นอีกหนึ่ง Case study ที่เพลินชอบเลยเพราะนอกจะง่ายแล้ว ยังได้กระแสและผลลัพธ์ที่ดีเกินคาดด้วย กับแบรนด์คิทแคทที่จัดแคมเปญบนสื่อ Social Media สุดฮอตในวันนี้อย่าง TikTok ที่หลังจากโยนคำถาม Debate ออกไปแล้ว แบรนด์ก็จัดการจ้าง Influencers ตัวท้อปในบ้านเค้า ไม่ว่าจะเป็น Millie Ford ที่มีกดติดตามกว่า 1 ล้านคน หรือจะเป็น The Rybka Twins ที่มีคนติดตามกว่า 13.4 ล้านคน ให้มาโชว์วิธีกินคิทแคทในแบบของตัวเองค่ะ

KitKat เปิด Debate ใน TikTok

นอกจากนี้แบรนด์ก็จับมือกับ Macro Influencer อย่างดาราดังในออสเตรเลียด้วย ให้ทำคลิปติ๊กต่อกแบบกัดคิดแคทพร้อมกันทั้ง 4 บาร์เลย แล้วหันมาถามในกล้องกับคนดูว่า กินแบบนี้ผิดไหมเนี่ย? ทั้งหมดนี้ก็ทำให้เกิดกระแสคอมเมนต์มากมายที่คนอยาก Fight ว่าแบบนี้มันไม่ได้ ต้องทานแบบนี้ดีกว่าถึงจะอร่อย เป็นต้น

ซึ่งแคมเปญนี้ก็บอกว่าได้ลามไปถึงภาพการ Promote คิทแคทแบบใหม่ๆ ด้วย เพราะหลังจากที่ค้นพบวิธีการทานแตกต่างกัน แบรนด์เค้าก็ Launch ขนม KitKat รุ่น Limited Edition ที่ใช้ภาพหน้าซองเป็นรอยกัดคิทแคทในแบบต่างๆ ที่ชาว Aussie ทำกัน ไม่ว่าจะเป็นการกัดพร้อมกันทั้ง 4 บาร์ หรือหักทีละบาร์แล้วค่อยๆ ทานนั่นเองค่ะ

โดยต้นต่อของ Campaign นี้ต้องบอกว่าเกิดจาก Pain point ของแบรนด์ที่เริ่มพบว่าคนรุ่นใหม่เริ่มลืมแบรนด์ทีละนิดๆ ด้วยคู่แข่งในอุตสาหกรรมขนมและช็อกโกแลตที่มีมากขึ้น เมื่อทำ Brand Health Check ล่าสุดก็ยิ่งตอกย้ำว่าแบรนด์เริ่มมี Connection กับผู้คนในวันนี้น้อยลง ดังนั้นโจทย์ในวันนี้ก็เลยเป็นการทำอย่างไรให้แบรนด์ KitKat สามารถ Connect และ Relevant กับคนในวันนี้ได้บ้าง เมื่อ Challenge มาชัดแบบนี้ Execution ก็เลยชัดตามไปด้วยค่ะ

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเลือก Platform ในการเข้าหาผู้คนวันนี้อย่างการใช้ TikTok ที่มาแรงก็เป็นการตอบโจทย์ Challenge ของแบรนด์เลย เสร็จแล้วการตั้ง Debate คำถามอย่างเรื่องของวิธีการทานคิทแคท ก็เป็นการพาแบรนด์และความเป็น Authenticity ของแบรนด์กลับมาในใจของผู้คนอีกครั้ง แถมยังสามารถ Provoke หรือกระตุ้นให้คนอยากเข้าร่วมตอบคำถาม Debate ในครั้งนี้ด้วยว่า พวกเค้ามีวิธีการทานคิทแคทแบบไหนกันบ้าง สุดท้ายจึงเกิดเป็น UGC หรือ User-Generated Content บน TikTok ออกมามากมายเลยค่ะ

แต่ถ้าหากถามว่าแล้วทำไมคำถามที่ KitKat เปิด Debate ต้องเป็นเรื่องวิธีการทานละก็ อันนี้ขอบอกเลยว่าแบรนด์และเอเจนซี่นั้น เค้ามีการใช้ Social Listening Tools ในการดักฟัง Social Data ว่าคนในโซเชียลที่พูดถึง KitKat นั้น เค้าพูดถึงว่าอย่างไรกันบ้าง มุมไหนบ้าง จนสุดท้ายทำให้เห็นว่า เรื่องนึงที่คนเถียงกันมากคือเรื่องของวิธีการทานคิทแคทนั่นเอง เหมือนว่าคนต่างๆ ก็ให้ความสำคัญกับวิธีการทานคิดทแคทในแบบของตัวเองว่าแบบนี้นี่แหละดีที่สุด อร่อยที่สุด แถมเมื่อแบรนด์และเอเจนซี่ไป Research ต่อเนื่องก็เริ่มพบ Memes / Polls และบอร์ด Forum ที่มีคนตั้งกระทู้ขึ้นมาถามเรื่องวิธีการทานด้วย รวมไปถึงกระทู้อย่างการเตือนให้ผู้หญิงท่านนึงบอกเลิกแฟนหนุ่มของเธอซะ หากแฟนของเธอยังยืนยันที่จะทานคิทแคทแบบผิดๆ อยู่ เป็นต้น

เรียกได้ว่าจาก Social Data ที่อาจจะไม่ได้บูมมาก แต่ถ้าเอามาขยี้ต่อได้ ต้องเกิดกระแส เกิด Debate แบบนี้ แบรนด์กับเอเจนซี่ก็ไม่รอช้าค่ะ หยิบประเด็นนี้ขึ้นมาขยี้จริงๆ บน TikTok อย่างที่เพลินเล่ามาข้างต้นเลย  ซึ่งนอกจากบน TikTok แล้ว กระเด็นนี้ยังถูกยกมาถกกันใน Channel อื่นๆ อย่าง Twitter และ Instagram เพิ่มด้วย แบรนด์ก็จับทางได้ ขยี้เข้าไปเพิ่ม ทั้ง Tweet บ่อยๆ ไม่พอ ยังจัดตั้ง Polls ในทวิตเตอร์เพิ่มอีกเพื่อเพิ่ม Engagement

เรียกได้ว่าเป็น Case study นี้ของ KitKat นั้น เป็นอีกหนึ่งไอเดียที่ได้มาจาก Social Data ที่นักการตลาดน่าลองหยิบไปศึกษาเพิ่ม และหาไอเดียจากมันดูบ้างสำหรับแบรนด์ของตัวเอง ส่วนตัวเพลินเองก็ชอบถามคิทแคทมากๆ แล้วเวลาทานก็ชอบหันไปถามคนที่ทานด้วยกันตลอดเหมือนกันว่า ‘ชอบทานคิทแคทแบบไหน’ ก็ได้คำตอบที่หลากหลาย แต่ถ้าเป็นเพลิน เพลินชอบทานแบบ 2 บาร์พร้อมกัน แล้วพวกคุณละคะชอบทานคิทแคทแบบไหนกัน?

Source: Little Black Book

Plearn Wisetwongchai

Marketing Strategic Planner ในเครือการตลาดวันละตอน | A Creator สาวพลัสไซส์ @Fabfatkid | A Travel Lover ที่หมดเงินเกือบ 80% ไปกับการเดินทางแบบแมสๆ | An Instagrammer @theplearn ที่ชอบเล่น Story เป็นชีวิตจิตใจ | สุดท้ายคือ Data Researcher ทั้ง Social และ Search Data etc. ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน