Insight พฤติกรรมการฟังเพลง ที่นักการตลาดควรเข้าใจใหม่จาก YouTube 2021

Insight พฤติกรรมการฟังเพลง ที่นักการตลาดควรเข้าใจใหม่จาก YouTube 2021

เพลงเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงตลอดตาม พฤติกรรมการฟังเพลง ของผู้คนที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ จากเทปตลับก็ค่อยขยับมาเป้น Soft Files ที่คนพากันแห่ Download แบบไม่กลัวติดลิขสิทธิ์ มาถึงวันนี้ ไม่ต้องมานั่ง Download เสี่ยงติดไวรัสเข้าเครื่องแล้ว เพราะวันนี้ Music Streaming Platform มีเยอะมาก ตั้งแต่ JOOX ในบ้านเรา ไปจนถึง Spotify / Apple Music และการฟังจากแพลตฟอร์มวิดีโอชื่อดัง YouTube ค่ะ

ซึ่ง YouTube และ Google เค้าก็ได้แชร์ข้อมูล Insight พฤติกรรมการฟังเพลงของผู้คนทั่วโลกให้เราอ่านกัน วันนี้เพลินแปลและสรุปมาให้แล้ว โดยในปี 2020 ที่ผ่านมา สถานการณ์ COVID-19 ไม่ได้กระทบแค่ภาคธุรกิจ แต่ยังลากมาถึงอุตสาหกรรมอย่าง Music Industry ด้วย เพราะพฤติกรรมของคนเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ค่ะ

อย่างช่วง COVID-19 เอง การรับฟังเพลงก็มีอะไรใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการ LIVE DJ จากช่องทาง Social Media หรือร้านเหล่า ไปจนถึงงาน Concerts ที่ถูกปิด ยกเลิกไปแต่มาโผล่เอาที่หน้าจอแบบ VR หรือถ่ายทอดสดเอาค่ะ นอกเหนือจากนั้นจำนวนคนที่เข้ามาฟังเพลงยังมากกว่าที่เคยด้วย เพราะมีคนเข้า YouTube เพื่อฟังเพลงเฉลี่ยที่ 2 พันล้านคนต่อเดือน เพื่อฟังเพลงค่ะ

คนเข้า YouTube เพื่อฟังเพลงเฉลี่ยที่ 2 พันล้านคนต่อเดือน

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีคนเข้ามาที่ Platform อย่าง YouTube บ่อยครั้งขนาด 2 พันล้าน นักการตลาดหลายๆ คนก็ยังไม่ค่อยกล้าลงทุนกับการทำ YouTube สิ่งที่เราเจอส่วนมากก็คือการยิง Ads ทั่วไป ซึ่งหลายๆ ครั้งนักการตลาดหรือเจ้าของแบรนด์มักจะคิดว่า มันไม่ได้ไม่คุ้มเสีย กับการสื่อสารผ่าน YouTube เพราะมันไม่ Drive Action ให้เกิด Conversion ต่างจาก Social Media อื่นๆ ทั่วไปค่ะ วันนี้เราจะมาดู 4 ข้อที่นักการตลาดมักเข้าใจผิดและควรเข้าใจใหม่ จะได้คุยและแนะนำลูกค้าได้ถูกต้อง แม่นยำมากขึ้นค่ะ

สิ่งที่คนเข้าใจผิดข้อ 1: แพลตฟอร์มฟังเพลงไหนๆ ก็เหมือนกันหมด

สิ่งหนึ่งที่เรามักเข้าใจผิดก็คือ การที่เราคิดไปเองว่า Platform Streaming เพลงไหนๆ ก็เหมือนกันทั้งนั้น แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เลย ข้อนี้เราอาจจะลองถามตัวเองดูก็ได้ค่ะ เพราะอย่างเพลินเอง เวลาจะเข้า Spotify ก็จะฟังตอนเดินทาง ฟังไหลๆ ยาวๆ ไป แต่ถ้าทำงาน หลายๆ ครั้งก็จะมีสลับมาฟัง YouTube บ้าง เพราะจะเข้ามาฟังเพลง Covers เป็นต้นค่ะ

ซึ่ง YouTube วันนี้ เค้ามีเพลงจำนวนสูงกว่า 70 ล้านแทร็คไปแล้ว ไหนจะมีทั้งการเข้ามาชม LIVE Events และ Concert อื่นๆ อีกจึงทำให้ Purpose ของการเข้ามาฟังเพลงบนแต่ละ Platform มันต่างกัน นอกจากนี้แล้ว หลายคนยังเข้ามาฟังเพลงบน YouTube เพื่อที่จะฟังเวอรืชั่น Covers โดยเฉพาะด้วย ทำให้หลายๆ ศิลปินดังๆ ก็มีการเปิดช่องของตัวเองเพื่อคัฟเวอร์เพลงดังจากศิลปินด้วยกันเองทั้งนั้นค่ะ

ถ้าเห็นแบบนี้ ต้องบอกว่า การทำยิงโฆษณาอย่างเดียว มันเก่าไปแล้ว และเหมาะกับเป้าหมายการตลาดเฉพาะเพิ่ม Awareness อย่างเดียว แต่อยากได้ Engagement หรือ Attention ให้ไปหาต่อ คงจะต้องพึ่ง Music Marketing เพิ่มชึ้น อย่างเคสของ Nestcafe กับเพลงดีดี๊ที่ดังเป็นพลุแตก หรือจะเป็นเคสของ Maybelline Thailand กับเพลง Make it happen แบบนี้ก็ได้เช่นกัน

สิ่งที่คนเข้าใจผิดข้อ 2: คนชอบเสพ Content รูปแบบอื่นมากกว่าเพลง

เวลาเราทำ Content Strategy เดือนต่อเดือนหรือปีต่อปี เราก็มักจะคิดถึงแต่…Social Content ที่เป็นภาพ แคปชั่นธรรมดาทั่วไป ที่ต้องมีเอาไว้เลี้ยงเพจไม่ให้เหงา ถ้าใครมีงบหน่อยก็เริ่มทำภาพ Motion บ้าง มี Video content บ้าง แต่คนไม่ค่อยคิดถึงเพลงหรือ Music Content เลย เพราะเข้าใจผิด คิดว่าคนไม่ค่อยเสพและไม่ค่อยนิยมเนื้อหารูปแบบนี้ แต่จริงๆ แล้ว เพลงบน YouTube กว่า 85% นั้น ถูกเล่นอยู่บน Foreground หรือเบื้องหน้าแบบตั้งใจชมเลยด้วยซ้ำ

หลายคนคิดว่าทำวิดีโอง่ายๆ เพราะคิดว่าสุดท้ายก็ถูกฟังอยู่เบื้องหลังบน YouTube แต่อย่างที่บอกค่ะ มันไม่จริง เพราะคนที่เลือกฟังเพลงผ่าน YouTube อย่างฟังและชมไปพร้อมๆ กัน หากเค้าอยากฟังอย่างเดียว ก็จะสลับไปใช้งาน Music Streaming บนแพลตฟอร์มอื่นๆ แทนค่ะ

โดยที่น่าสนใจมากกว่านั้นก็คือ 60% ของคนที่รับชม Music Video นั้นรับชมผ่านมือถือเป็นหลัก ซึ่งแน่นอนว่าการฟังแบบ Background นั้นไม่สามารถทำได้ ปิดแอปก็เท่ากับปิดเพลง ดังนั้นเราจะเห็นได้เลยว่า คนเข้ามาเพื่อชมและฟังเพลงจริงๆ กับยูทูปค่ะ 

อย่างไรก็ตาม หากนักการตลาดหรือเจ้าของแบรนด์ยังคิดว่า คนก็ฟังเพลงบน YouTube แบบ Background อยู่ YouTube เค้าก็มีฟีเจอร์ Audio Ads หรือรูปแบบโฆษณาแบบเสียง ที่คล้ายๆ กับ Jingles ตามวิทยุ ควรค่าแก่การ Target กลุ่มคนที่ชอบเปิดเพลงใน YouTube เพื่อทำงานหรือกวาดบ้าน เป็นต้นค่ะ

สิ่งที่คนเข้าใจผิดข้อ 3: ทำโฆษณาบน Music Content ก็ไม่มีผลอะไรเกิดขึ้น

อย่างที่เพลินบอกไปในข้อ 1 ค่ะ ก่อนที่เราจะคิดไปเองว่าการลงทุนบน YouTube ไม่ดี ไม่คุ้ม เราต้องเข้าใจการใช้งานของ Users ในแต่ละ Platform ก่อนว่าเค้าใช้งานมันยังไง เล่นมันยังไง ไม่ใช่สักแต่จะปล่อยเนื้อหาของเราเข้าไปตามเป้าหมายการตลาดที่วางไว้ ถ้าเราอยากเล่นในอุตสาหกรรมเพลง แล้วไม่ได้อยากลงทุนสร้าง Ads แบบ Video เป็นล้านเพื่อเอามายิงแค่โฆษณาบน YouTube ละก็ … เราก็ต้องเข้าใจพฤติกรรม Audience บนแพลตฟอร์มค่ะ

ดังนั้น Music Marketing จึงเป็นอะไรที่ตอบโจทย์มากที่สุด ถ้าอยากลงมาเล่นในตลาดเพลง อาจจะเป็นการจ้าง Covers เก่งๆ มาร้องแทนศิลปินชื่อดังก็ได้ เพื่อสอดคล้องกับแนวทางการเสพเนื้อหาของคนบนยูทูป แต่ถ้าเนื้อหาแบบเพลงไม่เข้าเลย ก็ลอง Explore แนวมทางที่ใช่ ไม่ว่าจะเป็น Video Content Hub อย่างการดูย้อนหลัง หรือไลฟ์สด คอนเสิร์ต พอตแคส เป็นต้นค่ะ สุดท้ายถ้าเราสร้างเนื้อหาได้ตรงตาม พฤติกรรมการฟังเพลง หรือเสพเนื้อหาในแต่ละแพลตฟอร์ม เราก็จะสามารถกระตุ้นให้เกิดความสนใจ ภาพจำ รวมไปถึง Engagement หรือ Search ต่อได้ด้วยค่ะ

ทั้งหมดนี้ก็คือความเข้าใจผิดหลักๆ 3 ข้อที่เพลินสรุปมานักการตลาดวะตอนแล้ว ลองนำไปปรับใช้ให้ตรงกับรูปแบบธุรกิจของตัวเองดูนะคะ เพราะอย่างที่เรารู้กันว่า วันนี้ Video Content เป็นอะไรที่นิยมมากที่สุด โดยเฉพาะแพลตฟอร์มอย่าง YouTube ที่ความนิยมไม่ลดลงเลย 

นอกจากนั้น ก็อย่าลืมการ Cross-platform ดูบ้าง ปล่อยเพลงใน YouTube ไป Stir ต่อให้เปรี้ยงบน TikTok ชวนคนจาก Instagram ไปเล่น ใคร Cover ได้ดี เอามาแชร์ต่อบน Facebook จับดาราหรือคนมีชื่อเสียงเป็น Magnet ดึงกระแสต่อ เพื่อให้คนจำเพลง จำแบรนด์ของเราให้ได้ด้วยค่ะ ลองดูนะคะ

Source: https://www.thinkwithgoogle.com/marketing-strategies/video/music-industry-changes/ 

Plearn Wisetwongchai

Marketing Strategic Planner ในเครือการตลาดวันละตอน | A Creator สาวพลัสไซส์ @Fabfatkid | A Travel Lover ที่หมดเงินเกือบ 80% ไปกับการเดินทางแบบแมสๆ | An Instagrammer @theplearn ที่ชอบเล่น Story เป็นชีวิตจิตใจ | สุดท้ายคือ Data Researcher ทั้ง Social และ Search Data etc. ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่