Green Light Signal แคมเปญที่ใช้ Real-time Data ลดโลกร้อน

Green Light Signal แคมเปญที่ใช้ Real-time Data ลดโลกร้อน

อากาศร้อน ๆ แบบนี้ไม่มีแคมเปญไหนเหมาะสมไปกว่า Green Light Signal ซึ่งเป็น The winner ในหมวดหมู่ Use of Real-time Data คว้ารางวัลจาก Cannes Lions เพราะโลกเราร้อนขึ้นทุกวัน ภาวะโลกร้อนก็คืบคลานเข้ามาทุกที เตยจึงนำแคมเปญนี้มาแชร์เป็นไอเดียให้กับผู้อ่าน เป็นแคมเปญที่ไม่ซับซ้อน เข้าใจง่าย แต่ช่วย ลดโลกร้อน ได้จริงค่ะ

จาก Data ที่มีสู่ไอเดียช่วย ลดโลกร้อน

แคมเปญนี้มาจาก National Grid บริษัทที่ทำหน้าดูแลระบบไฟฟ้าของประเทศอังกฤษที่เล็งเห็นถึงประเด็นเรื่องโลกร้อน จึงริเริ่มหันมาใช้ประโยชน์จาก Data ที่มี อย่างข้อมูลการผลิตไฟฟ้า วันนี้ผลิตไปเท่าไหร่ ผลิตจากแหล่งไหน (ฟอสซิส, เชื้อเพลิงถ่านหินและก๊าซ, ลมหรือพลังงานแสงอาทิตย์) ใช้ไปเท่าไหร่ คนเปิดปิด ใช้ไฟฟ้ากันตอนไหน เป็นต้น

ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ปกติแล้วไม่ได้ถูกนำมาปรับใช้หรือเผยแพร่ให้กับประชาชนแบบเรา ๆ กันมากซะเท่าไหร่ หรือเปิดเผยแล้วแต่เราอาจไม่สนใจ ไม่ว่าจะทางไหนก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนขึ้นมาอยู่ดี แต่ไม่เป็นไรค่ะ หากเราไม่รู้ก็ว่าสามารถทำให้รับรู้ได้ว่าพลังงานที่เราใช้ตอนนั้นมันมาจากแหล่งผลิตไหน

และเพื่อประโยชน์ของส่วนร่วมและสภาพความเป็นอยู่โลกในอนาคต National Grid จึงตัดสินใจนำข้อมูลเหล่านี้ มาปรับใช้ผ่านนวัตกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีอยู่ทุกบ้าน นั่นก็คือ ‘หลอดไฟ’

แสงเขียว สัญญาณบ่งบอกถึงพลังงานสะอาด

Green Light Signal แคมเปญที่ใช้ Real-time Data ลดโลกร้อน

โดยหลอดไฟที่ว่าจะเป็นหลอดไฟที่ปกติแบบที่เราใช้กัน ไม่ได้พิเศษหรือมีรูปร่างที่แปลกตาไปจากเดิม แต่ความพิเศษของเจ้าหลอดไฟตัวนี้คือ ‘แสงสีเขียว’ ที่จะเกิดขึ้นเมื่อในช่วงเวลานั้น ๆ ไฟฟ้าที่ถูกส่งมาให้ใช้เป็นไฟฟ้าที่มาจากแหล่งผลิตธรรมชาติ เช่น ลมหรือพลังงานแสงอาทิตย์

ทำให้เราได้รู้ว่า ตอนนี้ไฟฟ้ามันมาจากแหล่งพลังงานธรรมชาตินะ แหล่งพลังงานที่ไม่ได้ผ่านการผลิตที่ทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมหาศาลเช่นรูปแบบพลังงานอื่น ๆ เพื่อทำให้คนใช้เป็น ‘ตัวเลือก’ ในการตัดสินใจว่าควรจะใช้ไฟตอนไหนหรือจากแหล่งพลังงานไหนดี

เพราะเอาจริง ๆ แล้ว การที่จะลดโลกร้อนได้เราต้องช่วยกันทุกภาคส่วน และเราก็ปฎิเสธไม่ได้จริง ๆ ว่า มนุษย์คือหนึ่งในต้นตอการทำให้เกิดโลกร้อน ดังนั้น Green Light Signal จึงเข้ามาเป็นตัวช่วย ผลักดันทำให้คนเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยแก้ไขปัญหากันมากขึ้นนั่นเองค่ะ

Real-time Data ต้นตอของแสงเขียวแห่งความยั่งยืน

Green Light Signal แคมเปญที่ใช้ Real-time Data ลดโลกร้อน

หลายคนอาจมีคำถามว่า เอ…ข้อมูลที่ทำให้เกิดแสงเขียวมาจากไหน ง่าย ๆ คือ มาจาก Data ที่เกิดขึ้นทุกวันและมีการจัดเก็บทุกวันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลการผลิต ผลิตที่ไหน แหล่งพลังงานจากอะไร แต่ละแหล่งก่อคาร์บอนไดออกไซด์หรือสารที่ไม่เป็นกับโลกมากน้อยแค่ไหน

แล้วเชื่อมข้อมูลเหล่านั้นกับหลอดไฟที่แต่ละบ้านลงทะเบียนผ่าน application โดยใช้ API เป็นสะพานข้อมูลในการส่งต่อ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็น Real-time Data เมื่อไหร่ที่ไฟฟ้ามาจากแหล่งพลังงานธรรมชาติ แสงเขียว จะติดขึ้นมาทันที พร้อมส่งสัญญาณบอกว่าเวลาแห่งการ ลดโลกร้อน มาถึงแล้วนั่นเองค่ะ

Green Light Signal แคมเปญที่ใช้ Real-time Data ลดโลกร้อน
ที่มา: nationalgrid

และต้องบอกอีกว่ามีคนมากกว่า 1.1 ล้านคนที่หันมาใช้หลอดไฟแสงเขียวนี้ รวมถึงบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรในขณะนั้น ก็หันมาใช้หลอดไฟแสงเขียวและติดตั้งไว้ที่บ้านเลขที่ 10 ถนนดาวน์นิ่ง หรือที่เรารู้จักกันดีในนามของที่พักของนายกรัฐมนตรี

แสดงให้เห็นว่ามนุษย์เราก็พร้อมที่จะช่วยโลกไม่ได้ใช้พลังงานไปวัน ๆ โดยไม่คำนึงถึงอะไร และภาครัฐก็พร้อมสนับสนุน ให้ความสำคัญกับประเด็นโลกร้อน

สรุป Green Light Signal แคมเปญที่ใช้ Real-time Data ลดโลกร้อน

ถ้าจะให้เปลี่ยนแหล่งผลิตไฟฟ้าให้มาจากพลังงานธรรมชาติทั้งโลกคงเป็นไปได้ยาก (หรือในอนาคตอาจไม่แน่ที่จะเปลี่ยนได้) ซึ่งจะเห็นได้ว่าแคมเปญนี้เป็นหนึ่งในแคมเปญที่ ลดโลกร้อน ได้ตรงจุด ไม่ยัดเยียดให้เกิดความลำบากใจ

แถมยังเป็นแคมเปญที่ทำให้เราได้รับรู้และทำให้เราได้เป็น ‘ผู้เลือก’ ว่าจะใช้ไฟจากแหล่งพลังงานไหน อย่างน้อยก็ส่งผลต่อจิตใจ ทำให้เราภูมิใจกับตัวเองได้เล็ก ๆ ว่าเรากำลังช่วยโลกโดยการใช้พลังงานธรรมชาติอยู่ เตยมองว่านี่เป็นอะไรที่ดีต่อใจและดีต่อโลกแบบยั่งยืนมาก ๆ

หวังว่าตัวอย่างเหล่านี้จะเป็นประโยชน์และสร้างไอเดียใหม่ ๆ ต่อผู้อ่านทุกคนนะคะ แล้วพบกันใหม่บทความหน้าค่ะ

สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม หรือข่าวสารการตลาด สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ

Source: https://www.edelman.com/work/national-grid-green-light-signal

Toey Waritsa

ใบเตย หรือเรียกว่าเตยก็ได้ค่ะ ทำ Data Research Insight เป็นอาชีพเสริม อาชีพหลักเลี้ยงแมว ทุกบทความเขียนออกมาด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจเพื่อหาเงินเลี้ยงแมวค่ะ😺🫶🏻

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *