การตลาดแบบรู้ใจ ให้คุณหารสที่ชอบ อาหารที่ใช่ ในรูปแบบ Digital

การตลาดแบบรู้ใจ ให้คุณหารสที่ชอบ อาหารที่ใช่ ในรูปแบบ Digital
Flavor Print

ในโลกที่โลกหมุนไปอย่างรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ไม่ว่าอะไรก็ล้วนแล้วแต่ถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นรูป และเสียง เราสามารถเปลี่ยนเป็นดิจิทัลได้ด้วยวีดีโอ ภาพถ่าย หรือเพลงบนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง ส่วนกลิ่นก็เคยเปลี่ยนกลิ่นให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล โดยทำเป็นเครื่องปลุกด้วยกลิ่นเบคอน จนเป็นข่าวฮือฮาไปเมื่อหลายปีก่อน

แต่หนึ่งในประสบการณ์ทั้งหมดที่ยากจะถูกเปลี่ยนมาเป็นดิจิทัลได้ก็คือ “รสชาติ” 

แน่นอนว่าแม้การจะสัมผัสรสชาติในรูปแบบดิจิทัลจะทำได้ยากแค่ไหน แต่มาวันนี้รสชาติที่ต้องใช้ลิ้น ถูกทำให้เป็นดิจิทัลบนเวปไซต์และอยู่ในสมาร์ทโฟนของทุกคนจากบริษัทเครื่องเทศเครื่องปรุงรสที่จะมาเปลี่ยนรสชาติให้กลายเป็นดิจิทัล แล้วมันจะออกมาเป็นยังไง มาลองดูไปพร้อมกันครับ

ค้นหารสชาติใหม่ที่ถูกใจในแบบดิจิทัล

โดยปกติแล้วคนเราส่วนใหญ่มักจะทำอาหารแบบเดิมๆ กินเสมอ แต่ถึงอย่างนั้นคนเราก็มีความชอบในรสขาติอาหารที่ต่างกันพอสมควร ทำให้การลงมือทำอาหารเมนูใหม่ๆ ที่มีเป็นล้านๆ เมนูจากตำราในอินเตอร์เน็ตนั้นไม่ต่างอะไรจากการเสี่ยงดวง ว่าจะเจอเมนูที่ใช่กับลิ้นตัวเองหรือไม่ 

บริษัท McCormick ที่ขายเครื่องเทศเครื่องปรุงรสมามากกว่า 100 ปี เกิดมีแนวคิดที่อยากจะปฏิวัติการทำธุรกิจด้วยดิจิทัล ที่ไม่ใช่แค่การเปิดร้านขายบนออนไลน์ แต่เป็นการนำรสชาติทั้งหมดมาสร้างเป็นฐานข้อมูลบนดิจิทัล ให้ใครๆ ก็สามารถเข้ามาค้นหารสชาติใหม่ๆ ที่ตัวเองชอบได้

ทำการตลาดแบบรู้ใจด้วยการเรียนรู้พฤติกรรมของคนหมู่มาก

ทาง McCormick ที่มีความรู้เรื่องรสชาติอาหารมากว่า 125 ปี ก็เลยเปลี่ยนความคิดว่าอยากจะทำให้คนได้มาลอง Test รสชาติที่ตัวเองชอบบน platform ของตัวเอง จากนั้นเมื่อพอรู้แล้วว่าคนนี้ชอบรสขาติแบบไหน ก็จะแนะนำให้ลองทำเมนูใหม่ๆ ในรสชาติที่ตัวเองยังคงน่าจะชอบอยู่ได้

ด้วยหลักแนวคิดก็คล้ายๆ กับ Netflix แหละครับ เพราะ Netflix เรียนรู้จากพฤติกรรมของคนหมู่มากที่มีแนวโน้มไกล้เคียงกับเราว่า คนที่ชอบดูหนังเรื่องนี้ น่าจะชอบดูหนังเรื่องไหนต่อ 

การเรียนรู้จากพฤติกรรมแบบนี้ทำให้คนส่วนใหญ่สามารถนอนดู Netflix ได้ทั้งวันทั้งคืน ผิดกับสมัยก่อนต้องเสี่ยงเลือกเอาเองว่าหนังหน้าปกดีๆ นั้นในแผ่นจะสนุกเหมือนที่คิดไว้หรือไม่

เลยออกมาเป็น platform ดิจิทัลที่ชื่อว่า FlavorPrint ก็คล้ายๆกับ FingerPrint แหละครับ ที่แต่ละคนมีลายนิ้วมือไม่เหมือนกัน รสชาติความชอบก็ย่อมต่างกันไปเช่นกัน

ใช้เทคโนโลยีกระตุ้นความสนใจเพื่อเพิ่มยอดขาย

การทำงานของมันคือ FlavorPrint จะให้เราตอบคำถามง่ายๆ เลือกเมนูที่เราชอบมาไม่กี่ข้อ มันก็จะแนะนำเมนูใหม่ๆ ที่เราน่าจะชอบให้เราไปเลือกทำได้ต่อ ยิ่งผู้ใช้ยอมเสียเวลามากขึ้นในการบอกความชอบในรสชาติของตัวเองมากเท่าไหร่ ระบบก็จะยิ่งแนะนำเมนูได้ดีมากขึ้นเท่านั้น และเมนูเหล่านั้นก็หนีไม่พ้นที่จะต้องใช้เครื่องปรุงที่หลากหลายของ McCormick ไปพร้อมกัน 

และที่สำคัญมากสำหรับ McCormick คือนอกจากจะขายเครื่องปรุงของตัวเองได้มากขึ้นแล้ว ยังได้เรียนรู้พฤติกรรมการกินของลูกค้าได้แบบทันทีมากขึ้นอีกด้วย เพื่อจะได้ปรับปรุงสินค้าให้ออกมาได้ตรงกับความต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น

ลองคิดดูซิว่าสมัยก่อนเราต้องออกไปทำ Research ถามคนจากความคิด แต่วันนี้เราเปิดระบบให้คนเข้ามามอบข้อมูลจริงๆ ของเค้าเองโดยไม่ต้องเสียเงินค่าทำ Research ซักบาท

เป็นอีกหนึ่ง  การตลาดวันละตอน  ที่น่าสนใจไม่น้อยเลยใช่มั้ยล่ะครับ

ส่วนใครที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์การทำตลาดในรูปแบบอื่นๆ แนะนำให้ไปอ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่ ในบทความหน้าผมจะมีอะไรมาอัปเดตอีกบ้าง สามารถติดตามได้ผ่านเพจการตลาดวันละตอน รวมถึง Twitter และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนนะครับ

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่