Market Research Trends 2023 ทำรีเสิร์ชอย่างไรในยุคดาต้าฉบับอัปเดต

Market Research Trends 2023 ทำรีเสิร์ชอย่างไรในยุคดาต้าฉบับอัปเดต

ห่างหายกันไปสองปี บทความวันนี้นุ่นมา Update Market Research Trends ฉบับ 2023 ให้นักการตลาดกันอีกคร้ังแล้วค่ะ เพราะเป็นขั้นตอนแรก ๆ ที่สำคัญไม่น้อย การทำความเข้าใจตลาด และผู้บริโภค และนักการตลาดต้องอัปเดตอยู่เสมอ

จริง ๆ แล้วความสำคัญของ Market Research แต่ละประเภทคงไม่ต้องขยายความกันเยอะแล้วใช่ไหมคะ นุ่นจะพาไปเจาะเทรนด์และความสำคัญกันเลยค่ะ บอกได้เลยว่าทุกคนสามารถนำไปเริ่มต้น ประยุกต์ใช้ได้กับหลายธุรกิจแน่นอน

หลังอ่านบทความนี้ ที่รวบรวมจากแหล่งอ้างอิงต่าง ๆ นักการตลาดอาจจะเจอวิธีที่สามารถลดระยะเวลางานจากเดิม แต่เพิ่มประสิทธิภาพขึ้นหลายเท่า เรียลไทม์ สามารถปรับและเทียบกับวีธีเก่าที่ส่งต่อมาจากรุ่นสู่รุ่น

ทุกคนทราบไหมคะว่าการทำ Market Research ตอนนี้เพิ่มความท้าทาย และสนุกสนานมากกว่าปีก่อน ๆ ขึ้นเรื่อย ๆ อย่าปล่อยให้เทคโนโลยีนำหน้าแต่เราหยุดนิ่งค่ะ สิ่งที่เราต้องทำคือเรียนรู้ที่จะใช้งานมัน ทำยังไงจะให้เทคใหม่ ๆ สร้างความคุ้มค่าให้เราได้สูงสุด

เพราะประโยชน์ของการทำวิจัยตลาดนอกจากจะทำให้ได้เห็นว่าใครจะเป็นลูกค้าเรา มีโอกาสทางธุรกิจที่เรามองไม่เห็นหรือไม่ ลิสต์ความเสี่ยงที่เราต้องรู้และป้องกันได้ล่วงหน้า ที่สำคัญคือการเข้าใจ Insight ของคนในตลาด จากประสบการณ์ที่เขียน Data Research Insight ซึ่งเป็นหนึ่งในเทรนด์ที่กำลังจะเล่าในบทความนี้ เรามักเจอสิ่งที่คาดไม่ถึง หรือช่วยซัพพอร์ตไอเดียต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น ไม่ต้องนั่งเถียงกับทีมนาน เพราะ Data ก็โชว์อยู่ต่างหน้าค่ะ

จะมีเทรนด์อะไรน่าสนใจบ้างในปี 2023 นี้ ซึ่งนุ่นเลือกมาเป็นน้ำจิ้มเบื้องต้นแล้ว 5 เทรนด์ หากอยากอัปเดตเพิ่มอีกก็สามารถคอมเมนต์ขอเข้ามากันได้เยอะ ๆ เลยนะคะ รออ่านเมนต์ตลอดเลย

#1 Artificial Intelligence (AI) Software

การทำรีเสิร์ชแบบ Traditional ต้องอาศัย manual process และใช้เวลามากจนไม่ทันสำหรับการออกสินค้าใหม่ ๆ ให้ทันเลยใช่ไหมคะ เพื่อประหยัดเวลามากขึ้น และสะดวกขึ้น AI Software เป็นตัวช่วยหนึ่งที่บริษัทควรลงทุนค่ะ

อย่างที่นุ่นบอกว่า อย่ากลัว AI แต่ให้เรียนรู้ที่จะคั้นประสิทธิภาพจาก AI ค่ะ ซึ่งมีความแตกต่างจากเทคโนโลยีที่ผ่าน ๆ มา สำหรับการใช้งานรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ AI นั้นทำได้ดีค่ะ เพราะการเรียนรู้ NLP และปรับปรุงข้อมูลเชิงลึก เชิงคุณภาพจากการวิจัยตลาดต่าง ๆ

ประโยชน์ของ AI หลัก ๆ คือ

  • น้องจะช่วยให้การทำ Data organize และ manage ความมหาศาลของดาต้าจากแหล่งต่าง ๆ ได้ดี และเสริมในสิ่งที่เราอาจมองข้ามได้
  • AI ช่วยได้ทั้งเชิงปริมาณ (quantitative) และ เชิงคุณภาพ (qualitative assessments)

ระหว่างเทคโนโลยีกับสมองมนุษย์เป็นสิ่งที่ถ้าอยู่ด้วยกันถูกที่ถูกเวลาอะไรก็ฉุดไม่อยู่แน่ ๆ เลยค่ะ

ตัวอย่างที่ตอนนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง :

ChatGPT: Chatbot AI ล้ำๆ ที่สามารถตอบคำถาม และสื่อสารกับมนุษย์ได้ด้วยภาษาที่เป็นธรรมชาติ(อย่างมาก) จนสะเทือนทุกวงการในยุค Digital Marketing จนเกิดคำถามที่ว่า ChatGPT เองจะมาช่วยงาน หรือแย่งงานไปจากเรา!!

Panaya Sudta

วิธีสมัคร OpenAI ChatGPT แบบเสียเงิน > อ่านต่อที่นี่ค่ะ

#2 Mobile-first online surveys

Market Research Trends
credit gapscout.com

กราฟด้านบนแสดงถึงผลสำรวจว่า Survey แบบไหนที่นักการตลาด ผู้ประกอบการ และ Market Researcher ชอบใช้ค่ะ ผลออกมาว่าการทำ Online Survey บน Mobile มีความคุ้มค่าและเข้าถึงลูกค้าได้ดี

นอกจากนี้แบบสำรวจยังเผยให้เห็นว่าโทรศัพท์มือถือมีผลกับการดึงคนให้เข้าชมเว็บไซต์ประมาณ 68% ทั่วโลกในปี 2020 เนื่องจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวนมากขึ้นต้องการสมาร์ทโฟนเพื่อออนไลน์ ความแพร่หลายของแบบสำรวจบนมือถือก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

และจากสรุป 11 Data & Insight การใช้มือถือของคนไทย จาก Digital Stat 2022 ยังบอกอีกว่าคนไทยที่มีมือถือเข้าถึงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สาย หรือ 3G, 4G และ 5G 100% แล้ว! ดังนั้น ถ้าจะการออกแบบแบบสำรวจ อาจจะเน้นที่เหมาะกับเปิดในโทรศัพท์ง่าย ๆ เป็นอันดับแรกเลยค่ะ

#3 Social Listening Tools

เกี่ยวกับ Market Research Trends โดยใช้ Social Listening ดึงข้อมูลการพูดถึงบนออนไลน์มาวิเคราะห์ต่อได้ลึกเท่าที่จะทำไหวเลยค่ะ แฟนเพจการตลาดคงได้เห็นคอนเทนต์จากการตลาดวันละตอนอยู่ไม่น้อยเลยใช่ไหมคะ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการใช้ Tools จากหัวข้อที่กำลังเป็นกระแส Data Research Insight หลายสิบบทความ หรือทริคต่างๆ ในการใช้ Social Listening 

Data Research Insight สำรวจตลาด ครีมซอง โดย Social Listening

นอกจากจะสามารถดูข้อมูลย้อนหน้า ย้อนหลังได้แล้ว ข้อมูลยังเป็นโพสต์ที่ผู้คนพิมพ์ถึงแบรนด์ หรือคำที่เกี่ยวข้องกับสินค้า แม้กระทั่งการพูดถึงแบรนดืคู่แข่งที่เป็นประโยชน์ต่อแผนการตลาดอีกด้วยค่ะ เจ้าที่ให้บริการก็มีให้เลือกตามจุดประสงค์การใช้งาน ลองเปิดใจศึกษา Social Listening ดูนะคะ คุณจะได้รีเสิร์ชที่เรียลไทม์ และต่อยอดได้อย่างแน่นอน เพราะมันคือข้อมูลที่คนคิดและพิมพ์ออกมาจริง ๆ

#4 Longitudinal tracking ยังได้ผลดีกับบางอุตสาหกรรมอยู่

questionpro.com

Longitudinal tracking คือการติดตามพฤติกรรม ความคิด ความรู้สึกต่อแบรนด์ แต่ติดตามตั้งแต่ GenZ – GenY เป็นต้นค่ะ และในภาพตัวอย่างยังอธิบายการทำ Longitudinal tracking เมื่อเปรียบเทียบกับ Cross-sectional study ถ้านักการตลาดสามารถทำให้แบรนด์ได้ ก็จะได้ผลลัพธ์การวิจัยตลาด/ผู้บริโภค จาก 1 กรุ๊ป แต่ในช่วงเวลาที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ จากปี 1 ถึงตอนเริ่มทำงานมีพฤติกรรมการซื้อสินค้าประเภทเดียวกับแบรนด์แบบไหน มีพฤติกรรมอะไรที่แบรนด์สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้บ้างค่ะ

scribbr.com

มีตัวอย่างหลายแบรนด์ที่ใช้ Longitudinal Tracking Research เพื่อศึกษาพฤติกรรมหรือแนวโน้มของผู้บริโภค ลองมาดูกันเลยค่ะ

  1. Coca-Cola: ใช้ longitudinal tracking เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มและพฤติกรรมของผู้บริโภคเกี่ยวกับการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแคลอรี่สูง โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจตลาดและการติดตามผู้บริโภคในช่วงเวลายาวนาน
  2. Procter & Gamble: ใช้ longitudinal tracking เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด โดยติดตามผู้บริโภคในช่วงเวลายาวนาน เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงของการใช้ผลิตภัณฑ์ในช่วงเวลานั้น ๆ ค่ะ
  3. Nestle: ใช้ longitudinal tracking เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม โดยติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มในการซื้อและการบริโภค
  4. Unilever: ใช้ longitudinal tracking เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด โดยติดตามและวิเคราะห์การใช้ผลิตภัณฑ์ในช่วงเวลายาวนาน เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงของการใช้ผลิตภัณฑ์

#5 DIY in-house research บน IG

sproutsocial.com

Research ในแบบของแบรนด์เราเอง เริ่มจากมองไปยังแพลตฟอร์มที่เรามีอยู่ ภาพด้านบนเป็นตัวอย่างของแบรนด์ที่มีแพลตฟอร์ม Instagram และกำลังใช้ IG Story ทำแบบสอบถามโดยใช้ฟีเจอร์ที่มีให้ฟรี เป็นสิ่งที่ทำได้เลยและไม่เสียเงิน แถมได้คำตอบจากลูกค้าเราหรือคนที่กำลังติดตามเราอยู่แล้วค่ะ

แนะนำสำหรับนักการตลาด ทุกวันนี้ลูกค้าไม่ชอบอะไรที่ซับซ้อนเสียเวลาเท่าไหร่ค่ะ แต่ละแบรนด์คงมีเอกลักษณ์เกี่ยวกับสินค้า และแพลตฟอร์มที่ใช้เป็นหลักอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้ IG Story ทุกแบรนด์นะคะ อาจจะใช้เป็นเกมหรือลูกเล่นอื่นตามสไตล์ที่บ่งบอกเอกลักษณ์ของแบรนด์ให้มากที่สุด สำคัญคือเน้นความเป็นตัวเอง เรียลไทม์ก็ได้อย่าไปคิดให้ซับซ้อน จิ้มง่าย ๆ แบบในตัวอย่างเลยยิ่งดีค่ะ

หากนักการตลาดอยากเรียนรู้การทำ Research บน IG อย่างละเอียด นุ่นแนะให้ตามไปที่บทความ เคล็คลับในการ Research กลุ่มเป้าหมายบน Instagram ต่อได้เลยค่ะ

5 Market Research Trends 2023

5 เทรนด์นี้น่าจะมีทั้งวิธีที่นักการตลาดเคยใช้ และไม่เคยใช้ อย่างเช่นน้อง AI ที่จะมาช่วยให้การทำรีเสิร์ชเชิงปริมาณ (quantitative) และ เชิงคุณภาพ (qualitative assessments) ของนักการตลาดมีประสิทธิภาพมากขึ้น และการทำ Online Survey บน Mobile มีความคุ้มค่าและเข้าถึงลูกค้าได้ดี นักการตลาด ผู้ประกอบการ และ Market Researcher เลือกให้เป็นวิธีที่ป๊อปที่สุด

ต่อเนื่องด้วยการทำ Data Research Insight กวาดข้อมูลบน Social Media โดยการใช้ Social Listening ดึงข้อมูลการพูดถึงบนออนไลน์มาวิเคราะห์ต่อได้ลึกมาก ไม่ทิ้งแบบเก่าอย่างวิธี Longitudinal tracking คือการติดตามพฤติกรรม ความคิด ความรู้สึกต่อแบรนด์ต่อเนื่อง ๆ ถ้าเลือกให้ดีก็เป็นเทรนด์ เหมาะกับบางสินค้าอยู่ค่ะ

ปิดท้ายด้วย DIY in-house research บน IG อย่างการใช้ฟีเจอร์โพลหรือตอบคำถาม ปรับใช้ให้ Follower ทำแบบสอบถาม เป็นสิ่งที่ทำได้เลยและไม่เสียเงิน แถมได้คำตอบจากลูกค้าเราหรือคนที่กำลังติดตามเราอยู่แล้วค่ะ นุ่นว่าอันนี้แหละที่ลุยได้เลย

หวังว่าทุกคนจะได้พัฒนาสิ่งที่เคยทำแล้วให้ดีขึ้น และเรียนรู้เทรนด์ใหม่ ๆ ที่ไม่เคยลองนะคะ ใช้แล้วเป็นอย่างไรอย่าลืมกลับมาเล่าให้ฟังน้า แล้วพบกับใหม่ในบทความหน้าค่ะ ╹◡╹

source source

Noon Inch

นุ่น Business Data Research Analyst Specialist | Martech 🙋🏻‍♀️💻ใช้ชีวิตอยู่กับ Social Listening Tools เกือบทุกวันมาร่วม 6 ปี 🙋🏻‍♀️📈ทำงานด้าน Social Data Research ให้กับหน่วยงานรัฐและแบรนด์เอกชน 6 ปี 🙋🏻‍♀️✈️ชอบทำงานและชอบใช้เงิน แล้วก็เป็น K-POP🇰🇷 & Salmon Lover 🍣

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่