LinkedIn SEO หางานที่ชอบกับ skills ที่ใช่ด้วย Data

LinkedIn SEO หางานที่ชอบกับ skills ที่ใช่ด้วย Data

ใกล้จะสิ้นปีแล้ว เชื่อว่าใครหลายๆคนก็กำลังจะหาประสบการณ์ทำงานใหม่อยู่ไม่น้อย ก็มีอัพเดท CV บ้างตามเว็บหางานต่างๆ หนึ่งในนั้นก็คือการอัพเดทโปรไฟล์เราผ่าน Linkedin นั่นเอง วันนี้ทางการตลาดวันละตอน อยากเสนอการทำ Marketing ให้เพื่อนๆ ผู้อ่านได้นำไปใช้ แต่ครั้งนี้เราไม่ได้เสนอเคสการตลาดให้กับธุรกิจ แต่เป็นการทำ Personal Branding ด้วยการนำ Data เข้ามาใช้ ทำให้ SEO ของโปร์ไฟล์เราเราให้เตะตา Recuiter นั่นเองค่ะ

SEO 101 : ทำโปรไฟล์ยังไงให้เตะตา HR

จากบทความของ Job Hunt อย่างแรกเลยคือการที่จะให้คนมาเห็นเรา หรือการสร้างตัวตนให้เหมาะกับงานนั้นๆ ซึ่งการทำ SEO นั้นจะทำให้เราสามารถใช้ Keywords ที่สามารถบอกได้ว่าเราเหมาะกับตำแหน่งนั้นมั้ย โดยส่วนประกอบที่ทำให้ Personal SEO ที่แข็งแกร่งขึ้น แบ่งออกเป็น 4 ส่วน :

Cr. Bamf

1) ชื่อ

ในข้อนี้เองเราแทบจะม่ได้เกิดปัญหากับคนไทยเท่าไหร่ เพราะส่วนใหญ่นั้นเป็นชื่อจริงเรา แต่ใน Job-Hunt ได้ยกตัวอย่างของคนที่สามารถเขียนชื่อได้หลายแบบ เช่น Mary J. Smith ใน CV แต่ใน LinkedIn กลับใช้ชื่อ MJ Smith ซึ่งก็จะทำให้ทาง HR นั้นสามารถ verify ตัวตนได้ยากขึ้นกว่าการตั้งชื่อทุกอย่างเหมือนกัน

2) Job Title

ข้อนี้เป็นส่วนสำคัญมาก เพราะเปรียบเสมือนด่านแรกในการที่จะให้ HR พบเราได้มากที่สุด ในบางครั้งงานของเราอาจจะมีหลายชื่อเรียก และแตกต่างกันในแต่ละที่ มีตัวอย่างนึงบอกว่า ผู้หญิงคนนึงกำลังจะเปลี่ยนงาน ซึ่งงานที่ทำอยู่ชื่อตำแหน่งว่า “Staff Assisant” และเธอก็ไม่ได้ถูก invite ให้ไปสมัครงาน และเธอก็ไม่ได้ถูกเรียกสัมภาษณ์จากงานที่เธอสมัครด้วยซ้ำ

เพราะฉะนั้นเราลองไปสำรวจดูงานที่มี scope งานใกล้ๆเรา ว่าเจาใช้ชื่อตำแหน่งว่าอะไรกันบ้าง เช่นงานที่ผู้หญิงคนนี้ทำอาจจะไปตรงกับคำที่คนอื่นมักใช้กันว่า คือ “Adminstrative Assistant” ลองดูตัวอย่างของผลการเสิร์ชของ LinkedIn ด้านล่าง แค่เปลี่ยนชื่อ Job Title ก็อาจจะได้รับโอกาสดีๆเพิ่มเข้ามาก็ได้

  • Administrative Assistant – 334 job postings
  • Admin Assistant – 72 job postings
  • Admin Asst – 5 job postings
  • Admin Assist – 2 job postings
  • Staff Assistant – 0 job postings

3) Skills / Tools 

นอกจากชื่อตำแหน่งงานที่จะเหมาะสมกับงานแล้ว ด่านถัดไปก็คือ Skills ที่สำคัญไม่แพ้กัน เราจะยกตัวอย่างจาก Administrative Assistant อีกครั้งนะคะ สมมติว่าในงานนี้เราใช้ Microsoft เป็นหลัก ซึ่งคนมักจะใช้คีย์เวิร์ดว่า “Microsoft Office” เแต่ถ้าหากเราลองไปรีเสิร์ชดู skills นี้นั้น มันไม่เพียงพอกับตำแหน่งนี้จริงๆ เพราะสิ่งที่เจอนั่นก็คือ 

สิ่งที่ใส่ : 

Microsoft Office – 122 job postings 

สิ่งที่ขาด :

  • Microsoft Word – 217 job postings
  • Microsoft Excel – 158 job postings
  • Microsoft Outlook – 286 job postings

ซึ่งอย่างที่เห็นว่า Microsoft ไม่ได้มีแค่ชื่อเดียว เพราะฉะนั้นแล้วการที่เราไปสำรวจความต้องการของตำแหน่งแล้ว เราสามารถนำ skills เหล่านี้ไปใส่ใน CV เพิ่ม เพื่อที่จะได้ไม่พลาดโอกาสอื่นๆด้วย

4) Location

สิ่งนี้ที่คนมักจะมองข้ามไป แต่มันก็อาจจะไม่ได้เกิดกับที่ประเทศไทยมากขนาดนั้น แต่เราอยากจะเอามาเล่าให้ฟังว่าถ้าใครที่กำลังมองหางานที่ต่างประเทศอาจจะมองข้ามข้อนี้ไปไม่ได้ค่ะ  ถ้าเกิดเรากำลังจะหางานใน Massachusetts ที่สามารถเขียนได้หลายแบบอย่าง Mass เพื่อย่อคำ หรือ MA เป็นต้น เพื่อนๆคิดว่านายจ้างจะใช้ Location ว่าอะไร? ก่อนจะไปเฉลยข้างล่างให้ลองนึกเล่นๆก่อน ซึ่งด้านล่างก็เป้นตัวอย่างที่ recuiter มักจะใช้กันค่ะ 

  • Massachusetts – 1 job posting
  • Mass – 588 job postings
  • MA – 1,000+ job postings

Key หลักทั้ง 4 ข้อที่กล่าวมานั้น อาจจะไม่ต้องใช้เทคนิคขั้นสูงเลย เพียงแค่เรานั้นรีเสิร์ชตามเว็บหางาน หรือ LinkedIn เพื่อดูว่างานที่เราสนใจนั้นเขาใช้ชื่อเรียกตำแหน่งแบบที่เราทำอยู่รึเปล่า Skills ที่เขามองหานั้นตรงกับเราแค่ไหน เพราะมันจะเป็นบันไดที่เราจะส่ง CV ให้ถึง HR ได้เร็วขึ้นค่ะ

ประสบการ์ณตรงจากผู้เขียน

เราก็เป็นเด็กคนนึงที่อาจจะไม่ค่อยให้เข้าไปอัพเดท LinkedIn สักเท่าไหร่ ตอนนั้นเราทำ Community Management อยู่ในบริษัทเกมส์แห่งหนึ่ง แต่ใน LinkedIn Profile เราใส่แค่ Assosiate ตามด้วยบริษัท แต่ทำมาได้ครึ่งปีเราเลยลองเข้าไปตั้งชื่อใหม่ว่า “Community Management” ค่ะ เชื่อมั้ยคะว่าวันต่อมาก็มี Recuiter จากบริษัทเกมส์อีกแห่งเข้ามายื่นโอกาสดีๆให้เราด้วยค่ะ แค่เปลี่ยนชื่อชีวิตก็เปลี่ยน

Keywords แบบไหนที่น่าเอามาใส่เพื่อบอก skills เรา?

นอกจากเสิร์ช JD ตามตำแหน่งที่เราทำแล้ว อีกหนึ่งวิธีเลยก็คือการเข้าไปดูใน Future of Skills ที่ทาง LinkedIn ได้เอา database ของผู้ใช้งานทั่วโลกมาแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในเวลา 5 ปี ว่าสกิลเราที่ควรจะมีในตำแหน่งนั้น จะต้องมีอะไรบ้าง? 

Future of Skills

อันนี้ตัวอย่างที่เราลองไปดูมาค่ะ เราเลือก Marketing ใน Global เพื่อดูเทรนด์ว่าตอนนี้ที่ Marketer ควรที่จะมีค่ะ เห็นชัดๆเลยว่า Affiliate Marketing มาแรงมาก ถ้าหากเพื่อนๆ คนไหนมีสกิลด้านนี้อย่าลืมใส่ลองไปในโปร์ฟล์เราด้วย อาจทำให้เราได้เปรียบมากขึ้นค่ะ

สำหรับคนที่อยากย้ายสายหรืออัพสกิลให้เก่ง

ถ้าเราค้นพบ skills ในตลาดแรงงานที่มาแรงและเหมาะกับเราแล้ว เราสามารถเข้าที่ Discover new career paths เพื่อหาจุดกึ่งกลางของ skills ที่เรามีกับงานใหม่ที่เราต้องการจะหาได้

ด้านล่างเป็นตัวอย่างจากคนที่เคยทำ Cashier มาก่อนแล้วอยากย้ายมาทำ Customer Service โดยพื้นฐานของ 2 งานนี้เป็นการทำงานที่ต้องใช้ Service Mind รวมถึงการบริหารเวลา ทำให้เราสามารถหาจุดกึ่งกลางระหว่าง หน้าที่นี้ได้อย่างลงตัว

โดยส่วนตัวแล้ว Data เหล่านี้ทำให้เราเข้าใจทั้งตัวเองและแนวโน้มในการหาคนที่เหมาะกับงาน ถือว่าเป็นการใช้ข้อมูลต่างๆให้เกิดประโยชน์มากขึ้น และสามารถให้เราพัฒนาตัวเองได้อย่างถูกจุดมากขึ้นด้วยค่ะ

ลองดูอีกตัวอย่างจริงจากในเว็บค่ะ จากคนที่เป็น Data Analyst แล้วชื่นชอบเรื่อง Business Analysis ด้วย เราสามารถใช้เว้บนี้เพื่อลองหาจุดกึ่งกลางและสามารถนำสกิลเหล่านี้ ไปใส่ในโปร์ไฟล์ เพื่อให้ SEO แข็งแรงขึ้นด้วยค่ะ

https://linkedin.github.io/career-explorer/

จากบทความที่เรานำมาเขียนเราอยากเอาทริคเล็กๆน้อยๆมาฝากเพื่อนผู้อ่านกัน โดยเฉพาะบางคนที่อาจจะกำลังหางานอยู่ เราคิดว่าการทำ LinkedIn SEO ให้โปรไฟล์เรา ก็เหมือนเราสร้าง Personal Branding ให้กับตัวเองว่าเราอยากจะพรีเซนต์ตัวเองให้ HR เห็นว่าเรามีจุดแข็งและน่าสนใจยังไงบ้างค่ะ ซึ่งการทำ SEO ของ LinkedIn สามารถใช้สกิลการทำ SEO ที่เกิดจากความเข้าใจ contenxt ที่เราจะต้องการสื่อออกไปนั้น เราสามารถประยุกต์ใช้ให้กับ platform อื่นๆได้ด้วยเหมือนกันค่ะ ไม่ว่าจะเป็น Google, YouTube, TikTok และอื่นๆอีกมากมายเลยค่ะ 

Pitchakorn Sirimonta

Freelance at Everyday Marketing.co and current social media management who has a passion for business innovation and believe in data-driven marketing.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *