จะใช้ DATA ในการเพิ่มคุณค่าให้โต๊ะเก้าอี้สำนักงานได้อย่างไร ?

จะใช้ DATA ในการเพิ่มคุณค่าให้โต๊ะเก้าอี้สำนักงานได้อย่างไร ?

ถ้าคุณจะเลือกซื้อโต๊ะหรือเก้าอี้สำนักงานสักตัว คุณจะเลือกจากอะไร?

ปัจจุบันดีไซน์หรือความสวยงามไม่ใช่ปัจจัยหลักในการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์สำนักงานอีกต่อไป เมื่อหลักใหญ่ใจความในการตัดสินใจเลือกซื้อนั้นอยู่ที่ความสบายและฟังก์ชันการใช้งานเป็นหลัก

วันนี้การตลาดวันละตอนเลยเอา Case Study ของธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ Data เข้ามาเป็นส่วนช่วยในการเพิ่มคุณค่าให้โต๊ะเก้าอี้สำนักงาน มาดูกันว่าเขาทำได้อย่างไร และได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าแค่ไหน

DATA

ใช้ DATA เพิ่มคุณค่าให้เฟอร์นิเจอร์ ในแบบ Personalization 

เมื่อ DATA มาเพิ่มคุณค่าให้เฟอร์นิเจอร์สำนักงานที่เราคุ้นเคยอย่างโต๊ะทำงาน และเก้าอี้นั่งทำงาน จากเฟอร์นิเจอร์ที่มีฟังก์ชันธรรมดาทั่วไป จะต้องถูกคิดต่างและสร้างคุณค่าใหม่อีกครั้ง

เมื่อโลกของดิจิทัล เทคโนโลยี และ DATA ได้มีการนำข้อมูลจากผู้ใช้งานมาปรับแต่งให้เข้าคนแต่ละประเภทที่ไม่เหมือนกัน เช่น พนักงานคนนี้รูปร่างแบบนี้ ถ้านั่งนานๆ อาจจะปวดหลัง และอาจทำให้ประสิทธิภาพทำงานได้ลดลงโดยไม่รู้ตัว ยิ่งในระยะยาวจะยิ่งทำให้บริษัทสูญเสียโอกาสจากพนักงานคนนี้ไปด้วยการเจ็บป่วยจากโรคยอดฮิต ‘ออฟฟิศซินโดรม’ ได้

DATA

รูปแบบเฟอร์นิเจอร์สำนักงานแบบใหม่ที่เอาใจใส่ผู้ใช้งาน

บริษัท Herman Miller’s จึงได้นำเอาระบบที่ชื่อว่า Live OS มาปรับใช้งานให้เข้ากับไลฟ์สไตล์คนในปัจจุบันเป็นเทคโนโลยีที่เข้าใจผู้ใช้งานมาปรับแต่งเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้จริงของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน 

เมื่อไหร่ที่คุณนั่นทำงานนานจนเกินไป เมื่อนั้นโต๊ะและเก้าอี้ของคุณคนนั้นก็จะค่อยๆ ยืดสูงขึ้น หรือแจ้งเตือนผ่านมือถือให้คุณต้องลุกไปเข้าห้องน้ำ หรือเดินบ้างเพื่อผ่อนคลายร่างกาย เพื่อสุดท้ายแล้วคุณจะได้กลับมานั่งทำงานได้เต็มที่ยิ่งกว่าเคย

แถมรูปแบบธุรกิจของเฟอร์นิเจอร์สำนักงานใหม่ ยังไม่ใช่แค่การซื้อมาขายไปเท่านั้น แต่ระบบหรือ eco system ของเจ้าแบรนด์นี้ยังเปิดให้ subscribe เพื่อที่จะรับคำแนะนำที่ว่าเป็นรายเดือนด้วย

DATA

เพราะเทคโนโลยีไม่เคยหยุด ธุรกิจจึงต้องเร่งพัฒนาไปพร้อมกัน

เทคโนโลยียังไม่เคยหยุด แล้วทำไมรูปแบบธุรกิจถึงต้องตายตัวแบบเดิมด้วยล่ะ ถ้ามองให้ถึงแก่นจะเห็นว่า เป้าหมายของการซื้อเฟอร์นิเจอร์สำนักงานคือให้พนักงานของบริษัททำงานได้ดีอย่างที่ต้องการ แล้วถ้านี่เป็นความต้องการเดียวกันที่ลูกค้าต้องการ แล้วเราจะหยุดกับแค่การขายเฟอร์นิเจอร์ไปทำไม?

คิดดูว่า ถ้าเป็นบริษัทยางรถยนต์ ลองเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจของตัวเองดูบ้าง จากเดิมที่ให้ลูกค้ามาเปลี่ยนยางเมื่อมีปัญหา ถ้าลองเปลี่ยนมาเป็นการ Subscribe ให้ลูกค้าเลือกเปลี่ยนยางได้เมื่อต้องการเช่น ถึงหน้าฝนก็เอาเข้าไปเปลี่ยนเป็นยางที่เกาะถนนดี พอหมดหน้าฝนก็เข้ามาเปลี่ยนเป็นยางประหยัดน้ำมัน หรือถ้าพอจะวิ่งทางไกลก็เข้าไปเปลี่ยนเป็นยางสมรรถนะสูง เพราะสิ่งที่เจ้าของรถจ่ายเงินไม่ใช่เพื่อต้องการยางใหม่ แต่เป็นประสบการณ์จากการใช้ยางที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลาต่างหาก

ผมคิดว่านักการตลาดและเจ้าของธุรกิจหลายคนน่าจะพอได้ไอเดียจาก Case Study นี้บ้างแล้ว ยังไงก็ลองเอาไปปรับใช้กับธุรกิจคุณได้นะครับ แล้วรับรองว่าคุณจะเห็นผลลัพธ์ที่แตกต่างออกไปจากเดิมแน่นอน

ส่วนใครที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์การทำตลาดในรูปแบบอื่นๆ แนะนำให้ไปอ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่ 

ในบทความหน้าผมจะมีอะไรมาอัปเดตอีกบ้าง สามารถติดตามได้ผ่านเพจการตลาดวันละตอน รวมถึง Twitter และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนนะครับ

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่