AAMI ปรับใช้ Data ลดการเกิด ‘อุบัติเหตุ’ และ ‘เคลมประกัน’ ได้ถึง 70%

AAMI ปรับใช้ Data ลดการเกิด ‘อุบัติเหตุ’ และ ‘เคลมประกัน’ ได้ถึง 70%

AAMI ปรับใช้ Data ลดการเกิด ‘อุบัติเหตุ’ และ ‘เคลมประกัน’ ได้ถึง 70%

เตยว่าต้องมีคนรู้กันมาบ้างแล้วล่ะ ว่าตอนเราทำประกันสักอันนึง บริษัทประกันจะเอาชื่อเราไปทำบุญเสริมดวง จะได้ไม่ต้องเจ็บป่วย หรือประสบอุบัติเหตุ เพื่อลดอัตราการเคลมประกัน เตยเองก็ไม่รู้ว่ามันได้ผลจริงไหม เพราะมันแลออกไปทางสายมู…จริง ๆ ก็ไม่ค่อยเชื่อเท่าไหร่ แต่พอดีเกิดราศีพิจิกเลยเชื่อ (ก็คือเชื่อว่ามันได้ผลจริงนั่นแหละ)

แต่ ๆๆๆ ในบทความนี้เตยจะขอเสนออีกแง่มุมนึงที่จับต้องได้ ที่สามารถลดการเกิด ‘อุบัติเหตุ’ และ ลดการ ‘เคลมประกัน’ ได้ถึง 70% จากการปรับใช้ Data ของบริษัทประกันรถยนต์สัญชาติออสเตรเลีย AAMI เกริ่นเยอะไปก็เสียเวลา มาเข้าสู่เนื้อหากันเลยดีกว่าค่ะ

อุบัติเหตุ ที่มาจากปัญหาจุดพักรถที่ไม่มีใครพัก

จากข้อความข้างต้น กรณีศึกษานี้มาจากบริษัทประกันรถยนต์สัญชาติออสเตรเลีย AAMI ดังนั้นประเทศที่เราจะกล่าวถึงต่อไปนี้จะเป็นประเทศออสเตรเลียค่ะ ซึ่งการเดินทางในประเทศนี้ใช้เวลานานมาก เพราะระยะทางของถนนมีระยะที่ยาวมาก แบบมากจริง ๆ สองข้างทางก็เต็มไปด้วยต้นไม้และพื้นดิน ไม่ได้มีสิ่งปลูกสร้างเร้าใจ

ตลอดเส้นทางก็จะมีจุดพักรถอยู่เป็นระยะ แต่กลับกลายเป็นว่า ไม่มีใครหยุดพักรถเลย ส่งผลให้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น จนไปถึงมีคนเสียชีวิตจากการเดินทางอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะกับกลุ่มเด็กวัยรุ่น ถึงแม้ว่าภาครัฐจะเข้ามารณรงค์ ติดป้ายขอให้หยุดพักรถทุก ๆ สองชั่วโมงบอกเป็นระยะ ๆ แต่สิ่งนี้กลับใช้ไม่ได้ผล

พาร์ทเนอร์กับแพลตฟอร์มต่าง ๆ แปลงร่างเป็นเพื่อนร่วมทางทิพย์

เพื่อแก้ไขปัญหา ทาง AAMI ก็ได้ทำการศึกษาและค้นพบวิธีที่จะลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุจากการเดินทางได้ในที่สุด โดยการพาร์ทเนอร์กับแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่กลุ่มวัยรุ่นนิยมใช้ อย่าง Instagram, Spotify, Wave และ TikTok และพัฒนาเป็นแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า Rest Towns เพื่อเป็นเพื่อนร่วมทางทิพย์ คอยเตือนให้หยุดพักรถ

นึกภาพง่าย ๆ ค่ะ ไปทริปกัน 3 คน แต่ทั้ง 3 คนไม่มีใครชวนกันหยุดพักเลย เนื่องด้วยอาจจะเกรงใจ ไม่กล้าบอก หรือ คนที่ไม่ได้ขับ นอนหลับ จึงไม่มีใครได้เตือนบอกกัน อุบัติเหตุก็จะเกิด แต่ถ้าใช้ Rest Towns เมื่อไหร่ จะมีเพื่อนร่วมทางทิพย์ที่คอยบอกให้หยุดพักรถ แบบดุดัน ไม่สนหน้าใครใดใดทั้งสิ้น

วิธีการปรับใช้ Data ฉบับบริษัท ‘ประกันรถ’

สาเหตุที่ AAMI พาร์ทเนอร์กับแพลตฟอร์ม อย่าง Instagram, Spotify, Wave และ TikTok นอกจากจะเป็นแพลตฟอร์มที่วัยรุ่นนิยมใช้แล้ว นั่นก็เป็นเพราะ

  • Instagram จะบอกให้เรารู้ว่า พวกเขาชอบอะไร
  • Spotify จะบอกให้เรารู้ว่า พวกเขาใช้ระยะเวลาขับรถนานเท่าไหร่ หรือตอนไหน เวลาไหน
  • Wave และ TikTok จะบอกเราว่า พวกเขาอยู่ที่ไหน

หลักการทำงานจะเป็นแบบนี้ค่ะ AAMI ทำการเก็บ data จุดที่มักเกิดอุบัติเหตุบ่อย ๆ และนำมาวิเคราะห์ถึงการวางเส้นทางเดินรถและตำแหน่งในการตั้ง Rest Towns ตามจุดต่าง ๆ

AAMI ปรับใช้ Data ลดการเกิด อุบัติเหตุ และ เคลมประกัน ประกันรถ ได้ถึง 70%

จากนั้นก็จะทำการโปรโมทบน Instagram ถึงการเป็นเพื่อนร่วมทาง โดยเสนอ Your 2 Hours Playlist และให้เชื่อมต่อกับ Spotify แล้วก็ให้ผู้ใช้เลือกจุดหมายปลายทางและทำการปรับแต่ง Playlist ให้ตลอดระยะเวลา 2 ชั่วโมง ทำให้รู้ได้ว่าพวกเขาขับรถนานเท่าไหร่ ระยะทางเท่าไหน จากการเลือกจุดหมายปลายทางนั่นเองค่ะ

ซึ่งเจ้าตัว Playlist นี่ไม่ได้เป็นเพียงแค่เพลงอย่างเดียวเท่านั้นนะคะ แต่จะมีการแทรกบอกผ่าน Radio เป็นเสียงเหมือน Siri บอกถึงจุดแวะพักรถ ร้านอาหาร หรือ Landmark สำคัญต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา เพื่อกระตุ้นให้เกิดการอยากพักรถนั่นเองค่ะ

AAMI ปรับใช้ Data ลดการเกิด อุบัติเหตุ และ เคลมประกัน ประกันรถ ได้ถึง 70%

และถ้ารู้สึกสนใจอยากแวะพักก็สามารถกดเพื่อขอเส้นทางจาก Wave ได้ และใน Wave ที่เป็นแพลตฟอร์มเหมือน Google map ก็จะมีจุดพักรถหรือ Rest Towns ตำแหน่งอื่น ๆ บอกอยู่ ถ้าอยากแวะพักที่อื่นก็สามารถไปได้ตามเส้นทางที่ขึ้นแนะนำ

AAMI ปรับใช้ Data ลดการเกิด อุบัติเหตุ และ เคลมประกัน ประกันรถ ได้ถึง 70%

เมื่อไปถึงสถานที่หรือจุดแวะพักเหล่านั้น มันเลี่ยงไม่ได้สำหรับกลุ่มวัยรุ่นที่จะเอาโทรศัพท์ขึ้นมาถ่ายรูป ทำคอนเทนต์ เพื่ออัพลงโซเซียลมิเดีย เช่น Instagram หรือ TikTok พร้อมด้วย #Restowns หรือ #AAMIRestowns เป็นต้น ซึ่งการกระทำเหล่านี้ก็จะทำให้เราทราบได้ว่าตอนนี้พวกเขาอยู่ที่ไหนนั่นเอง

อุดช่องโหว่ความสนใจด้วยการปรับแต่งข้อเสนอแบบ Personalization

หลายคนอาจจะเอ๊ะ ฟังดูแล้วแบบนี้มันจะไปช่วยได้ยังไง มันจะกระตุ้นให้อยากพักได้จริงเหรอ?

เตยขอบอกว่าข้อเสนอต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดการเดินทางของบริษัท ประกันรถ แห่งนี้ ไม่ได้เป็นแบบชุดเดียวแล้วปรับใช้กับทุกคน แต่เป็นการปรับแต่งข้อเสนอเฉพาะรายบุคคลต่างหากค่ะ ถามว่าบริษัทจะรู้ได้ยังไงว่าบุคคลนี้ชอบไม่ชอบอะไร

คำตอบก็คือ การกดตกลงยอมรับให้เข้าถึงข้อมูล ที่มักเป็นกล่องเล็ก ๆ ให้เราติ๊กก่อนการเข้าใช้งาน ถ้าติ๊กแล้วเท่ากับว่า คุณได้เปิดประตูบ้านให้เราได้ไปสำรวจความชอบของคุณ ในที่นี่ก็คือผ่าน Instagram นั่นเองค่ะ

AAMI ปรับใช้ Data ลดการเกิด อุบัติเหตุ และ เคลมประกัน ประกันรถ ได้ถึง 70%

พอมี data ก็จะทำให้เรารู้แล้วว่าพวกเขาชอบอะไร สนใจแบบไหน ระบบก็จะทำการประมวลผลปรับแต่ง Playlist ส่งมอบข้อเสนอที่ตรงกับความชอบ หากเปลี่ยนเส้นทางการเดินรถ ก็จะตรวจจับได้จากการใช้ระบบภูมิศาสตร์แบบ real time และปรับแต่งข้อเสนอ จุดพักรถตำแหน่งใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับความชอบขึ้นมาให้ทันที

แค่นี้ก็เป็นการอุดช่องโหว่ที่จะปฎิเสธไม่พักรถได้แล้วนั่นเองค่ะ สิ่งเร้าดึงดูดใจมาขนาดนี้ ไม่จอดยังไงไหว

นอกจาก’อุบัติเหตุ ที่ลดลง อัตราการ ‘เคลมประกัน’ ก็ลดลงอีกด้วย!

อย่างที่เตยได้บอกไปในตอนต้นว่าการปรับใช้ Data ในครั้งนี้ช่วยลดอุบัติเหตุ ทั้งยังช่วยลดอัตราการเคลมประกันได้ถึง 70% อีกด้วย(ตลอดระยะเวลาที่ทำแคมเปญนี้) เรียกได้ว่านี่คือฝันดีของบริษัท ประกันรถ โดยแท้จริง

โดยผลลัพธ์นอกจากนี้ก็จะมี การเข้าถึงแคมเปญมากกว่า 8 ล้านครั้ง จากกลุ่มวัยรุ่น , ได้รับ social impressions มากกว่า 35 ล้านครั้ง, ผลรวมของระยะทางทั้งหมดที่ได้จากการเดินทางคือ 5,466 กิโลเมตร และมีการติดตั้งจุด Road Towns ได้ถึง 52 แห่ง

สรุป AAMI ปรับใช้ Data ลดการเกิด’อุบัติเหตุ’และ’เคลมประกัน’ได้ถึง 70%

จะเห็นได้ว่าการปรับใช้ data นั่นมีประโยชน์และสามารถปรับใช้ได้หลากหลายแง่มุม ในกรณีนี้เอง นอกจากจะช่วยลดอัตราการเคลมประกันไปได้แล้ว ยังช่วยเซฟชีวิตคนได้อีกต่างหาก ถือว่า วิน-วิน กันทั้งสองฝ่าย เพราะเลือกได้ก็ไม่มีใครอยากให้อุบัติเหตุเกิดขึ้นหรอกจริงไหมคะ

เตยมองว่าไอเดียการปรับใช้ data ของ AAMI เป็นอะไรที่เจ๋งและส่งผลลัพธ์ที่ดีมาก นักการตลาดท่านใดที่ทำบริษัทประกัน หรือ ประกันรถ อยู่ ลองนำไอเดียนี้ไปปรับใช้ แต่งเติม พลิกแพลงทำกลยุทธ์ หรือ แคมเปญกันดูนะคะ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และสร้างไอเดียใหม่ ๆ ต่อผู้อ่านทุกคนนะคะ แล้วพบกันใหม่บทความหน้าค่ะ

สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาด หรือข่าวสารการตลาด แบบจัดหนักจัดเต็ม สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ

Source

Source

Toey Waritsa

ใบเตย หรือเรียกว่าเตยก็ได้ค่ะ ทำ Data Research Insight เป็นอาชีพเสริม อาชีพหลักเลี้ยงแมว ทุกบทความเขียนออกมาด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจเพื่อหาเงินเลี้ยงแมวค่ะ😺🫶🏻

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน