Contextual Marketing การตลาดแบบใส่ใจ ทางรอดนักการตลาดยุค Privacy PDPA

Contextual Marketing การตลาดแบบใส่ใจ ทางรอดนักการตลาดยุค Privacy PDPA

Contextual Marketing คืออะไร? คงไม่ต้องอธิบายมากเพราะหนังสือเรื่องนี้ผมก็ทำการเขียนให้เรียบร้อยแล้ว (สั่งซื้อออนไลน์ได้ที่นี่) เพราะเมื่อการใช้ Personal Data นั้นไม่สะดวกสบายเหมือนที่เคยเป็นมา ส่งผลให้เทรนด์การตลาดทุกวันนี้ เริ่มย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นของการตลาดออนไลน์ นั่นก็คือการหันกลับมาเน้นยัง Contextual Strategy ให้มากขึ้น

Contextual Strategy ประกอบด้วยอะไรบ้าง?

  • เลือกกลุ่มเป้าหมายที่ใช่
  • หาบริบทที่ใช่
  • ทำการตลาดที่ใช่

จะว่าไปก็คล้ายกับคำว่า Put the right man to the right job on the right time แต่เอามาประยุกต์เป็น Put the right marketing to the right man on the right time in the right place ครับ

ตัวอย่างแคมเปญการตลาดที่ฉลาดเล่นกับบริบทรอบตัวมาเพิ่มโอกาสขายของไทยครับ

Case Study Contextual Marketing Strategy – Kirei Kirei Caring Alert

จากเนื้อหาวิดีโอถ้าคุณดูจนจบจะเห็นว่า แทนที่จะทำการตลาดแบบหว่าน Mass Marketing เหมือนเดิมไปแล้วลุ้นว่าใครจะ Convert กลับมาเป็น Customer บ้าง พวกเขาก็เลือกจะใช้กลยุทธ์การตลาดแบบ Contextual Marketing Strategy ว่าเราจะทำการตลาดตามบริบทของแต่ละพื้นที่ได้อย่างไร

สิ่งที่ Kirei Kirei เลือกทำคือการมอบส่วนลดตามความเสี่ยงของแต่ละจังหวัด เมื่อดูจาก Public Data ที่ได้จากสาธารณะสุขแล้ว ก็เอามาประยุกต์ใช้กับการทำ Marketing Campaign แบบง่ายๆ ด้วยการ Customized Promotion แบบพื้นที่ไหนเสี่ยงเยอะก็ลดมาก พื้นที่ไหนเสี่ยงน้อยก็ลดน้อยหน่อย

ด้วยบริบทของการแพร่ระบาดหนักในช่วงปี 2020 และ 2021 ส่งผลให้หลายคนตื่นเช้ามาต้องเช็คก่อนว่าวันนี้จังหวัดเรามีจำนวนคนติดเท่าไหร่ ทาง Kirei Kirei จึงเอาจุดนี้มาประยุกต์ใช้กับ LINE Official Account ของตัวเอง ด้วยการส่งแจ้งเตือนไปหาลูกค้าที่ติดตามอยู่ทุกเช้า หรือเปิดให้คนทักเข้ามาถามแล้วค่อยส่งข้อความกลับไปทุกวัน (วิธีการหลังก็จะประหยัดเงินค่า Broadcast ข้อความกว่ามากครับ) หลังจากคนได้ Information การติดที่ตัวเองต้องการแล้ว ก็ทำการส่งส่วนลดไปให้แบบ Contextual Marketing ตามบริบทความเสี่ยงของแต่ละพื้นที่ครับ

เมื่อดูจาก Banner ด้านบนจะเห็นว่า พื้นที่เสี่ยงมากที่จัดเป็นพื้นที่สีแดง ก็จะได้ลด 25% ส่วนพื้นที่จังหวัดสีเหลือง ที่เสี่ยงกลางๆ ก็จะได้ลดน้อยหน่อย 15%

ส่วนผลลัพธ์ก็ตามท้ายคลิปวิดีโอเคสแคมเปญการตลาดนี้ว่าไว้ เป็นอย่างไรครับกับการตลาดแบบฉลาดฉวยโอกาสรอบตัวมาเป็นยอดขาย Contextual Marketing Strategy ที่ใครๆ ก็ทำได้ แต่ต้องคิดให้ออกก่อนคู่แข่งเท่านั้นเอง

สรุป Contextual Marketing หรือ Contextual Targeting กลยุทธ์การตลาดยุค Privacy PDPA

ทั้งหมดนี้จะเห็นว่า Kirei Kirei นั้นไม่ได้เอา Data มาจากไหนไกล แต่เลือกหยิบเอา Public Data ที่ใครๆ ก็เข้าถึงได้ แต่กลับคิดในสิ่งที่ยังไม่มีใครคิดได้มาก่อน เอามาฉวยทำการตลาดตามบริบทของความเสี่ยงแต่ละพื้นที่แบบง่ายๆ ด้วยวิธีการที่ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องประดิษฐ์อะไรมาก แต่มองให้ออกว่าบริบทแบบนี้ควรทำการตลาดอย่างไร บริบทแบบไหนที่เราอาจไม่จำเป็นต้องทำอะไรด้วยครับ

ในยุคที่ใครๆ ก็หวงแหนความเป็นส่วนตัว ในวันที่ผู้บริโภคหวง Personal Data ยิ่งกว่ายุคสมัยใดที่เคยเป็นมา ผมอยากให้เราทุกคนมองให้ออกว่า มี Context หรือบริบทแบบไหนบ้างที่กลุ่มเป้าหมายเราอยู่ หรือบริบทแบบนี้เราควรทำการตลาดแบบไหนออกไปครับ

อ่านบทความการตลาดแบบฉวยโอกาส หรือ Contextual Marketing ในการตลาดวันละตอนเพิ่มเติม > https://www.everydaymarketing.co/?s=contextual+marketing

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่