อารมณ์สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของคนได้จริงไหม? ‘100 Humans’ – EP. 5

อารมณ์สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของคนได้จริงไหม?  ‘100 Humans’ – EP. 5

ตอนนี้ก็เดินทางมาเกินครึ่งทางแล้วสำหรับ รายการเรียลลิตี้ ‘100 Humans’ ของ Netflix โดยรายการได้รวมผู้คนกว่า 100 คน ทั้ง ผู้ชาย และ ผู้หญิง มาทดลองให้เห็นความแตกต่างของพฤติกรรมมนุษย์ จากการตั้งสมมุติฐานขึ้นมา ตอนนี้มาถึง Episode ที่ 5 เกี่ยวกับ อารมณ์ ความรู้สึก ที่มีผลต่อ พฤติกรรม นั่นเองค่ะ

สำหรับ  EP.5 เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้สึกด้านลบ และ ด้านบวก ที่มีผลต่อจิตใจ  ซึ่งการทดลองนี้ จะทำให้เห็นอารมณ์สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของคนให้มีความสุขหรือความทุกข์ได้ เมื่อรายการได้ตั้งสมมุติฐาน หรือโจทย์ออกมาให้ผู้ทดลองแสดงปฏิกิริยาต่างๆ เพื่อพิจน์ว่าการตั้งสมมุติฐานเป็นจริงหรือไม่ ปลื้มจะมาเล่าให้ฟังค่ะ

คำถามที่ 1 : คนต้องการเลี่ยงความเจ็บปวดจนรู้สึกเจ็บปลอมจริงหรือไม่?

จากคำถามอาจจะฟังดูงงๆ ว่าหมายความว่าอย่างไร ซึ่งมันคือการทดลองโดยการหลอกผู้ทดลองว่าพวกเขากำลังจะเจ็บตัว แต่จริงๆ แล้วไม่ได้เจ็บตัวอะไรเลยค่ะ เพื่อที่จะทดลองว่าสมองจะทำให้พวกเขารู้สึกเจ็บไหม 

โดยวิธีการทดลองจะเป็นการสร้างบรรยากาศที่น่ากลัว มาพร้อมกับเครื่องทรมานปลอม ใต้แสงเลเซอร์ที่ทำอะไรไม่ได้เลย นอกจากส่งเสียงน่ากลัว รวมถึงทีมงานก็พยายามจะบิ้วให้พวกเขารู้สึกกลัวเหมือนกัน เมื่อผู้ทดลองเข้ามาจะต้องเอามือมาวางไว้ที่เครื่อง 1 ข้าง เครื่อง ส่วนอีกข้างจะถูกรัดไว้ เพื่อให้พวกเขาจินตนาการว่ามันน่ากลัวจริง ๆ จากการทดลองข้อนี้ส่งผลไปยังการตั้งสมมุติฐานข้อต่อไป ว่าถ้าหากเป็นความสุขล่ะ ทุกคนจะคิดไปเองเหมือนกันหรือเปล่า

คำถามที่ 2 : คนเรารู้สึกถึงความสุขปลอม ๆ ได้ง่ายกว่าหรือไม่?

เป็นการทดลองต่อเนื่องมาจากสมมุติฐานข้อที่แล้ว ว่าถ้าเปลี่ยนจากความเจ็บปลอม ๆ เป็นความสุขปลอม ๆ คนจะปฏิกิริยาอย่างไร

คำถามที่ 2 : คนเรารู้สึกถึงความสุขปลอมๆ ได้ง่ายกว่าหรือไม่ ?

เป็นการสร้างฉากขึ้นมาเหมือนกันแต่ต่างกันที่รอบไม่มีเครื่องทรมาน แต่เป็นเครื่องทำสปาสุดฟิน ซึ่งเจ้าเครื่องนี้ก็ปลอมเหมือนกัน โดยทีมงานก็หลอกว่าเครื่องจะทำให้ผ่อนคลาย จากการใช้เลเซอร์ส่องไปที่ฝ่ามือเพื่อนวดบำบัด 

สำหรับผลทดลองทั้ง 2 ข้อ คือคนไม่รู้สึกถึงความเจ็บเลย ซึ่งตรงข้ามกับรู้สึกถึงความสุข ที่คนกลับเชื่อว่าเครื่องดังกล่าวสามารถทำให้ผ่อนคลายได้จริง ทำให้รู้ว่าคนไม่สามารถปลอมความเจ็บได้ แต่คนสามารถรู้สึกความสุขปลอม ๆ ได้ ซึ่งมันก็คล้าย ๆ กับการทานยาหรือวิตามินบางอย่าง ที่มีคนบอกว่ามีประโยชน์มาก ๆ พอเราทานไปก็จะรู้สึกว่าได้รับประโยชน์จากมันขึ้นมาเลย 

สิ่งนี้นักการตลาดสามารถประยุกต์ใช้ได้นะคะ อย่างเรื่องการโน้วน้าวใจลูกค้า คือการที่มีคนพูดเยอะ ๆ ว่าสินค้านี้ดี ใช้แล้วได้ผล ทำให้พวกเขารู้สึกว่าสิ่งนี้ดี สิ่งนี้มีประโยชน์ ควรซื้อมาหรือควรไปใช้บริการ ซึ่งปัจจุบันหลายแบรนด์ได้ใช้ Influencer ในการสื่อสารแทนแบรนด์ เพื่อให้ผู้บริโภครู้สึกตามไปด้วยนั่นเองค่ะ

คำถามที่ 3 : คำชม กับ คำติ อย่างไหนได้ผลดีกว่ากัน?

ในข้อนี้ทีมงานได้ทดลองโดยการให้คนมาสอนเล่นหมุนจานบนอากาศ และให้ผู้ทดลองฝึกซ้อมไปพร้อมกัน หลังจากจะมีการประเมินและให้คะแนนการหมุนจานรายบุคคล 

คำถามที่ 3 : คำชม กับ คำติ อย่างไหนได้ผลดีกว่ากัน?

ซึ่งขั้นตอนการให้คะแนนจะให้ครูฝึกพูดชมและพูดติจากการจับลูกบอลสีขึ้นมา เช่น ถ้าหากหยิบลูกบอลสีแดง เท่ากับว่า เมื่อผู้ทดลองขึ้นมาโชว์ถึงแม้ว่าเขาจะทำดีแค่ เล่นเก่งแค่ไหน ก็ต้องติพวกเขา แต่ถ้าหากจับได้สีน้ำแข็ง ครูฝึกก็จะต้องชมผู้ทดลองคนนั้นถึงแม้ว่าเล่นได้แย่แค่ไหนก็ตามค่ะ

โดยการทดลองนี้จะแบ่งเป็นสองครั้ง จากหลังติหรือชมไปแล้ว รอบที่ 2 พวกเขาต้องโชว์การหมุนจานอีกครั้ง เพื่อดูพัฒนาการของคนที่ถูกชมว่าเขาจะทำดีขึ้นหรือเปล่า หรือกลุ่มคนที่โดนติ พวกเขาจะเก็บคำดูถูก กลับมาซ้อมให้ดีกว่าเดิมจะได้ไม่ต้องโดนว่าเหมือนครั้งแรกหรือเปล่า

สำหรับผลการทดลองข้อนี้ คนที่โดนครูฝึกชมในรอบแรก ในรอบที่สองพวกเขาสามารถทำผลงานได้ดีกว่าเดิม ส่วนกลุ่มที่ถูกติ กลับทำได้แย่ลงในรอบถัดมา นั่นแสดงให้เห็นการใช้คำพูดแรง ๆ ไม่ได้ทำให้คนอยากพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นได้ แต่มันเป็นการสร้างบาดแผลให้กับอีกคนหนึ่งมากกว่า

ข้อนี้สามารถปรับใช้กับองค์กรได้นะคะ เปลี่ยนจากคำพูดลบ ๆ เป็นสร้างกำลังใจจะกว่า เช่น ถ้าพนักงานทำงานออกมายังไม่ดีพอ อาจจะใช้พูดประมาณว่า ‘คุณทำดีแล้ว แต่ถ้าเพิ่มเติมตรงนี้อีกหน่อยมันจะดีกว่านี้มากเลยนะ ‘ คำพูดของคุณของสร้างพลังบวกและทำให้เขาอยากจะทำให้ดีขึ้นอีกในครั้งต่อไป

นอกจากนี้ปลื้มคิดว่าผลการทดลองดังกล่าวส่งผลเป็นลูกโซ่ จะเห็นได้ชัดเจนจากร้านอาหาร หรือร้านค้าประเภทบริการต่าง ๆ เมื่อเจ้านายใช้คำพูดที่รุนแรงกับลูกน้อง ลูกน้องก็จะแสดง อารมณ์ ที่ไม่ดีกับลูกค้า ลูกค้าก็จะไม่เข้าร้าน เท่ากับยอดขายของร้านก็ลดลง ดังนั้นเราจึงต้องระวังการใช้คำพูดที่จะทำให้เกิดผลกระทบตามมาค่ะ  

จากการทดลอง ‘100 Humans’ เหล่านี้เป็นผลกระทบจากอารมณ์ และ ความรู้สึกของคนจะเห็นได้ว่าพฤติกรรมของคนสามารถเปลี่ยนได้ทันทีไม่ว่าด้านลบหรือด้านบวก คนเราจะจินตนาการจากความคิดและรู้สึกส่งผลให้เกิดเป็นอารมณ์ที่แสดงออกมา อย่างเช่น ถ้าคุณกำลังลดความอ้วน แต่คุณอยากดื่มน้ำหวาน ทั้งที่คุณกำลังเครียดคุณก็จะอารมณ์ดีขึ้นมาทันที เมื่อกลไกบางอย่างในสมองคุณทำงานว่า ฉันก็สั่งหวานน้อยสิ คุณก็จะรู้สึกสบายใจว่ากินแล้วไม่อ้วน ซึ่งจริง ๆ แล้วมันเป็นเพียงความรู้สึกเท่านั้น

นี่ก็ยังเป็นเพียงส่วนหนึ่งใน Episode 5 สำหรับรายการ ‘100 Humans’ ของ Netflix เท่านั้น ใครที่เพิ่งมาอ่านสามารถย้อนไปอ่านตั้งแต่  EP.1 และ EP.อื่นๆ กันได้เลยนะคะ ปลื้มขอย้ำอีกครั้งว่าผลการทดลองมีความเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับการตั้งข้อสันนิฐานและทำการทดลอง ที่จะทำให้เราสามารถได้เข้าใจ พฤติกรรม อารมณ์ ของคนได้มากขึ้น ถ้าใครอยากให้ปลื้มมาเล่า Episode ถัดไป รอติดตามในเพจการตลาดวันละตอน  รวมถึง Twitter และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนได้เลยค่ะ

Yoswimol

🎡PLEUM | Data Research Executive ในเครือการตลาดวันละตอน | สนใจเรื่องการตลาด ชอบดูการแข่งขันทางการตลาด และเป็นทาสตลาด... ทุกบทความตั้งใจเขียนมาก ขอบคุณที่เข้ามาอ่านกันนะคะ มันเป็นกำลังใจที่ทำให้อยากเขียนต่อไปเลย☺️

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน