การใช้งาน GPTZero & Tools: ตรวจจับบทความที่เขียนโดย Generative AI [ChatGPT]

การใช้งาน GPTZero & Tools: ตรวจจับบทความที่เขียนโดย Generative AI [ChatGPT]

สวัสดีค่ะ 😊🧐 หลังจากที่บทความก่อนหน้าที่นิกพาทุกท่านไปรู้จักกับ Generative AI ว่าสามารถช่วยสร้างอะไรได้บ้าง? และการใช้งานสำหรับนักการตลาดและ Content creator กันแล้ว วันนี้เรามาลองจับโป๊ะ/ตรวจจับบทความที่ถูกเขียนโดย Generative AI ด้วย GPTZero และ Tools ต่างๆ กันบ้างดีกว่าค่ะ

ซึ่งจากการทดลองใช้งานให้ ChatGPT หรือ Generative AI ต่างๆ ลองสร้างคอนเทนต์ หรือแม้แต่ช่วยเขียนบทความแล้ว ต้องยอมรับเลยค่ะว่า น้อง ChatGPT ค่อนข้างมีความเนียนพอสมควรทั้งในภาษาอังกฤษ และภาษาไทยในเนื้อหาที่มีการถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางจนน่าตกใจ !!😱😱

แต่ในความเนียนนั้น แน่นอนค่ะว่าย่อมต้องมีความแตกต่างจากสิ่งที่สร้างจากมนุษย์อย่างเราๆ อยู่ (ก็เพราะ result ของ Generative AI ได้จากการคำนวณ ดังนั้นก็จะมีลักษณะค่อนข้างเป็น pattern ที่สามารถตรวจจับได้)

ทำไมเราถึงพยายามตรวจจับสิ่งที่ Generative AI สร้างขึ้นมา?

จากปัจจุบันที่มีการใช้งาน Generative AI อย่างกว้างขวางเพื่อสร้างงานต่างๆ ออกมา ยกตัวอย่างเช่นการสั่งงาน ChatGPT ได้โดยการพิมพ์สิ่งที่ต้องการ Prompt ทำให้เราได้ไอเดียใหม่ๆ ในการใช้เขียน Contents หรือใช้ในการช่วยหาข้อมูลที่เราสนใจพร้อมสรุปมาให้ ซึ่งก็ปรากฎว่าทำได้ดีไม่แพ้ Search Engine รวมไปถึงสามารถช่วยเขียนบทความ แม้กระทั่งการทำการบ้านส่งอาจารย์ ซึ่งประเด็นนี้นี่เองค่ะ ที่เป็นปัญหา!! เมื่อนักเรียน/นักศึกษา หรือใครก็ตามที่ควรคิดงานเองกลับใช้ ChatGPT ในการทำงาน

เลยเป็นที่มาของ Generative AI Detector Tools ต่างๆ ค่ะ 🧐😎 เมื่อมีคนใช้งาน AI ในการสร้างบทความออกมา คนตรวจงานก็ใช้ AI ในการตรวจเช่นเดียวกัน^^

credit: TechBite.tech

วันนี้นิกเลยจะแนะนำทุกท่านให้รู้จักกับ Tools ในการตรวจจับบทความที่เขียนจาก Generative AI เริ่มตั้งแต่ตัวยอดฮิตจากค่าย Princeton อย่าง GPTZero ต่อด้วย Originality.ai ที่ถึงแม้จะไม่ฟรี ก็ยังมีผู้ใช้งานกว้างขวาง ตามด้วย GPT-2, Grover และ Writer.com ค่ะ^^

GPTZero ตรวจจับบทความจาก ChatGPT:
https://gptzero.me

GPTZero เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้ตรวจจับว่าบทความหรือข้อความที่เราสนใจอยู่นี้ ถูกเขียนโดย มนุษย์หรือ ChatGPT ค่ะ ซึ่งผู้ที่สร้าง GPTZero ขึ้นมาคือนักศึกษาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลับ Princeton ชื่อ Edward Tian โดยตัวโมเดล GPTZero ใช้การตรวจสอบค่าที่สำคัญ 2 ค่าได้แก่

  • ค่า Perplexity หรือก็คือค่าความเป็นงงของคำ
  • ค่า Burstiness ที่หมายถึงค่าความถี่หรือค่าความล้น

โดยที่ GPTZero จะพิจารณาว่ามนุษย์จะมีการเขียนประโยคที่มีความซ้ำซ้อนกว่า ประโยคที่ถูกสร้างจาก Generative AI โดยที่หากมีค่า Perplexity และค่า Burstiness มากๆ แสดงว่าผู้เขียนต้องเป็นมนุษย์แน่ๆ (เพราะมีทั้งความงงๆ และความล้นๆ ของคำค่ะ🤣😆) ทั้งนี้ตัว AI นั้นจะมีลักษณะของข้อความที่เป็น Pattern มากกว่า ซึ่ง GPTZero ใช้ open source GPT-2 มาเป็น Base โมเดลในการตรวจจับข้อความ (GPT-2 เป็น pretrain model ใน root เดียวกันกับ ChatGPT)

credit: AICoffeeBreak

โดยที่แพลตฟอร์ม GPTZero มีขั้นตอนการใช้งานง่ายๆ เพียง 3 ขั้นตอน ดังนี้ค่ะ

  1. เข้าไปที่เว็บไซต์ https://gptzero.me
  2. นำข้อความ หรือบทความที่ต้องการตรวจสอบว่าสร้างจาก ChatGPT หรือไม่ มาใส่ในช่องว่างได้เลย (จะใช้เป็นไฟล์ pdf, doc หรือ txt ก็ได้นะคะ)
  3. กดปุ่ม Get Results แล้วรอดูผลลัพธ์ได้เลยค่ะ

ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ออกมาก็จะอยู่ในรูปแบบของข้อสรุปว่าส่วนไหนของบทความบ้างที่เขียนโดย AI (ตาม Highlight สีเหลือง) พร้อมกับบอกคะแนนความงง และความล้นออกมาค่ะ 🤣😁

Originality.ai ไม่ฟรีแต่มี Plagirism report ให้:
https://originality.ai

และอีกแพลตฟอร์มหนึ่งที่ถึงแม้ว่าจะมีค่าใช้จ่าย แต่ก็มีผู้ใช้งานจำนวนมาก โดยเน้นไปที่การตรวจสอบบทความทางวิชาการค่ะ เพราะตัว originality เองสามารถตรวจสอบได้ทั้ง ข้อความจาก Generative AI และสามารถตรวจสอบได้ทั้ง Plagirism (การ Copy ผลงาน)

ซึ่งก็มีการใช้งานที่ง่ายมากๆ อีกเช่นเคย เพียงแค่ Start New Scan แล้วใส่บทความหรือข้อความที่เราต้องการตรวจสอบ หลังจากนั้นก็ Scan แล้วรอรายงานได้เลยค่ะ^^

โดยรายงานที่ได้ออกมาจะเป็นลักษณะของการบอก AI Detect Score และ Plagirism Score (ซึ่งค่าใช้จ่ายในการใช้งานจะอยู่ที่ 0.01 USD/100 คำ) นอกจากนี้ความพิเศษของ Originality คือสามารถตรวจสอบได้หลายบทความ และเก็บบทความที่เราทำก่อนหน้าไว้บนแพลตฟอร์มได้ อีกทั้งสำหรับสาย dev ยังสามารถเขียน API เข้าไปเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์ม (retutrn ค่าเป็น json) ได้ด้วยค่ะ 😎🤓

Result from originality.ai

GPT-2 ตรวจจับบทความจาก ChatGPT:
https://openai-openai-detector.hf.space

สำหรับตัว GPT-2 จากค่าย OpenAI เองก็สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก (อันนี้ง่ายสุดๆ ง่ายแบบตะโกนเลยค่ะ) ด้วยการแค่เข้าไปที่ link https://openai-openai-detector.hf.space แล้วเอาข้อความที่เราอยากตรวจสอบ Paste ลงไปที่กล่องสี่เหลี่ยมในหน้าเว็บนั้น =>> แล้วใช่ค่ะ ได้ผลลัพธ์ทันที

และสำหรับข้อดีมากๆ ของน้อง GPT-2 คือ สามารถรองรับบทความที่ยาวมากๆ ได้ เหมาะกับการเอาไว้เรียนรู้ เพราะมี Code ให้ด้วย และใช้งานง่ายมาก แต่!!!! (คหสต.) ความแม่นยำของเขายังอ๊องๆ อยู่นะคะ จากที่นิกลองใส่ข้อความจาก ChatGPT ดู ปรากฎว่า GPT-2 ให้ % ความจริงสูงเฉยเลย

Example of GPT-2 Usage

Grover ตรวจสอบ Fake News จาก AI:
https://grover.allenai.org/detect

เป็นแพลตฟอร์ม GROVER ก็เป็นอีกหนึ่ง AI generated dotection tool ที่ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน และใช้งานได้ฟรีค่ะ (ซึ่งจากการลองดูแล้ว GROVER มี Accuracy ในระดับกลางค่อนไปทางดี) โดยสามารถเข้าไปใช้งานได้จาก link: https://grover.allenai.org/detect และนำข้อความที่ต้องการตรวจสอบไปวางในช่อง Text: แล้วกด Detect Fake News ได้เลย

Example of Grover Machine detector

Writer.com AI Content Detector:
https://writer.com/ai-content-detector/

และสำหรับ Platform สุดท้ายของบทความนี้ที่นิกจะแนะนำให้ทุกท่านรู้จักก็คือ writer.com ซึ่งเป็นสายใช้งานง่ายอีกเช่นเคย (แต่ความถูกต้องของเขายังไม่ค่อยโอเคสำหรับนิกนะคะ) โดยการใช้งานก็เพียงแค่เข้าไปที่ link: https://writer.com/ai-content-detector/ แล้วจะพบกับหน้าต่างของหน้า WRITER พร้อมคำอธิบายว่าเป็น AI Content Detector จากนั้นให้เราใส่บทความหรือข้อความที่ต้องการตรวจสอบในช่อง Add some text แล้วกด Analyze text แล้วดูผลลัพธ์ว่าเป็น Human-Generated หรือ AI-Generated แบบบอกเป็น % ได้เลยค่ะ 🤗✨

Result from writer.com ai content detector

Last but not Least,,

สำหรับในบทความนี้นิกคิดว่าหลายๆ ท่านน่าจะได้ประโยชน์แบบสนุกสนานจากการนำ Generative AI Detection Tools ทั้ง 5 Tools ไปลองใช้กันค่ะ ซึ่งสำหรับท่านไหนที่ใช้ AI ในการช่วยสร้าง Content หรือแม้แต่ทำการบ้านส่งอาจารย์ 555+ ก็ลองนำข้อความหรือบทความที่ได้มาจาก AI หรือ ChatGPT มาลองตรวจสอบ แล้ว Edit ให้เป็นเวอร์ชันของตัวเองก่อนส่งงานกันดูนะคะ^^

ท้ายสุด,,,,สำหรับเพื่อนๆ ท่านใดที่ต้องการอ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Generative AI Tools สามารถเข้าไปที่ link นี้ได้เลยค่ะ => https://www.everydaymarketing.co/business-and-marketing-case-study/generative-ai/

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics รุ่นที่ 20 วันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม 2023 ค่าเรียนคนละ 9,900 รับจำกัด 20 คน อ่านรายละเอียดและลงทะเบียนได้ที่ลิงก์นี้ค่ะ https://bit.ly/sociallistening20

Panaya Sudta

Hi, I am Nick,,,,Panaya Sudta (●'◡'●) Engineer during the daytime. Researcher at night. Reader in spare time. (❁´◡`❁) วิศวกร/นักวิจัย และเป็นน้องใหม่ของการตลาดวันละตอน ในการทำ Market research ค่ะ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้แชร์มุมมองกันนะคะ

One thought on “การใช้งาน GPTZero & Tools: ตรวจจับบทความที่เขียนโดย Generative AI [ChatGPT]

  1. กลัวว่าจะเป็นปัญหาในอนาคตในกรณีที่การตรวจจับใช้วิธีที่เป็นปัจจุบัน เพราะในอนาคตคนรุ่นหลังๆวิธีการสื่อสารจะเปลี่ยนไปอีก หากไม่ใช่การที่สืบหาตัวข้อความในตัว AI ผมว่าไม่น่าเชื่อถือเท่าไรนัก และได้ทดลองให้ GPT4 สร้างข้อความมาชุดนึง แล้วให้ผู้ทดสอบทำ โดยส่งข้อความต้นฉบับและของผู้ทดสอบด้วยกันเสมอ ข้อความที่จับได้มักจะมาจากการแก้ไขที่ง่ายๆ ส่วนข้อความที่จับไม่ได้ …คิดว่าซับซ้อนแหละ พูดถึงแล้วปวดหัวกับวิธีการลอกงานนั้น

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *