3As – หลักการพัฒนา Google AI Tech ที่แชร์โดยอากู๋เอง

3As – หลักการพัฒนา Google AI Tech ที่แชร์โดยอากู๋เอง

ภายในงาน Marketing Oops Summit 2020 – Customer Experience & MarTech อากู๋ Google เองก็มาแชร์หลักการพัฒนาเครื่องมือ AI Tech ที่เรียกว่า Model 3As โดย session นี้ถูกนำมาเล่าโดยคุณ Mike Jittivanich หรือ Head of Marketing ของ Google ประเทศไทยและเวียดนามค่ะ ส่วนใครที่ไม่ได้ไปงาน ไม่ทัน session นี้หรือจดไม่ทัน การตลาดวันละตอนรวบรวมใจความหลัก 3As และ Case ดีๆ มาให้แล้วค่ะ

หลัก 3As หรือ Google Assistant, Google AR และ Accelerate with Google

Google 3As Model ที่ว่านั่นประกอบไปด้วย

  • Assist: หรือการใช้ AI Tech ให้ชีวิตของคนเราง่ายขึ้น
  • Augment: หรือการใช้ AI Tech ให้ชีวิตของคนเราดีเพิ่มมากขึ้น
  • Accelerate: หรือการใช้ AI Tech ให้ชีวิตของคนเราแก้ปัญหาได้เร็วมากยิ่งขึ้น

1. Assist ให้ชีวิตคนง่ายขึ้น

ต้องบอกว่าทุกวันนี้เหตุผลหลักๆ ที่มนุษย์พยายามคิดค้นเทคโนโลยีต่างๆ ขึ้นก็เพื่อให้ชีวิตของเราง่ายขึ้นเนี่ยแหละค่ะ โดยส่วนมาก AI Tech ของ Google จะถูกพัฒนาจากการคิดว่า Technology เดิมที่ช่วยให้ชีวิตง่ายอยู่แล้วง่ายขึ้นไปอีกได้อย่างไรบ้าง

อย่างทุกวันนี้ เราเข้า Google กันก็เพื่อพิมพ์หาสิ่งตัวเองอยากรู้ แล้วภายในคลิกเดียว เราก็สามารถเรียนรู้สิ่งนั้นได้แล้ว แต่วันนี้ Google ไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้นค่ะ เพราะเขามอง Existing Tech ของเขาที่เป็น Search Engine ว่าสามารถต่อยอดยังไงให้ชีวิตคนดีกว่านี้ได้อีกบ้าง โดยลูกเล่นต่อมาที่ Google คิดคือ Voice Recognition หรือการสั่งงานด้วยเสียงนั่นเองค่ะ จนสุดท้ายมันก็คือต้นกำเนิดของเจ้า Google Home Assistant หุ่นคล้ายลำโพงตัวเล็กที่แค่เพียงพูดว่า OK Google เท่านั้น เราก็สามารถสั่งให้มันช่วยค้นหาข้อมูลให้เราได้เลย แถมยัง Seamless สุดๆ ไม่ต้องพิมพ์อีกแล้ว และถ้าหากคุณต่อมันเข้ากับอุกปรณ์ IoT อื่นๆ ในบ้านละก็ ชีวิตคุณเมื่อเข้าบ้านมานี่แทบจะไม่ต้องทำอะไรอีกแล้วค่ะ ให้เจ้า Google Home เนี่ยแหละช่วยได้เลย เปิดปิดไฟ เปิดเพลง เปลี่ยนเพลงอะไร แค่เพียงใช้เสียงของคุณเท่านั้นก็พอ 

Speech Recognition Accuracy ของ Google มีความแม่นยำสูงมาก รองรับหลายภาษาและสำเนียง

พอมีการใช้งานด้วยเสียงเกิดขึ้น ปัญหาต่อมาคือเรื่องของสำเนียง ภาษาต่างๆ ที่ต่างออกไปกลายเป็น Challenge ต่อมาของ Google เลย ซึ่งทางอากู๋เอง ก็ใช้ AI + Machine Learning ในการพัฒนาสำเนียงอังกฤษรูปแบบต่างๆ และภาษาต่างๆ จนปัจจุบัน Google เคลมเลยว่า เจ้า Google Home เนี่ย สามารถเข้าใจคำพูดจากหลากหลายสำเนียงด้วยความแม่นยำถึง 95%แล้ว ไม่ว่าจะเป็นศัพท์แสลงหรือสำนวนการพูดแบบชาวบ้านท้องถิ่นเองก็ตาม 

นี่ยังแอบคิดว่า หลังจากนี้งานของ Google ก็จะเริ่มยากขึ้นอีกแล้วละค่ะ เพราะนี่เชื่อว่าอีกสักพักคนก็คงต้องการอะไรที่มากกว่าแค่เสียงแล้ว ขนาดนี่ยังคิดเลยว่าเมื่อไรจะมี Technology ที่เอาความคิดของเราออกมาได้เลยบ้าง เพราะขนาดทุกวันนี้ใช้แค่เสียงได้แล้ว ยังขี้เกียจพูดสั่งการเลยด้วยซ้ำ เรียกได้ว่าขี้เกียจเข้าเส้นเลยละค่ะ

Case study ของ hagglebot และ Flipkart ให้คนอินเดียต่อราคาก่อนซื้อของ ที่ได้ Google AI Tech มาช่วย

นอกจากนี้ Google ก็ยังยกเคสในอินเดียของ Hagglebot และ Flipkart หรือเว็บ e-commerce ที่ร่วมมือกับ Google ในการทำ AI สำหรับต่อรองราคาออกมา เพราะ Insight ของ AI ต่อราคาตัวนี้เกิดมาจากการที่คนอินเดียชอบต่อรองราคาซะเหลือเกิน และถ้าหากไม่ได้ต่อ ก็ไม่อยากจะซื้อ ทำให้การซื้อของออนไลน์ยากเย็นมากๆ พอ AI ตัวนี้ออกมา ผลปรากฏว่าคนอินเดียใช้เวลาต่อราคากับ AI Bot ตัวนี้เฉลี่ยต่อคนที่ 6 นาทีเลยละค่ะ (โดยเรื่องนี้ การตลาดวันละตอนก็เคยแชร์ Full Case Study ไปแล้ว หากใครอยากอ่านเพิ่มเติม สามารถตามไปอ่านได้ที่นี้เลยค่ะ)

และอย่างที่บอกว่าวันนี้แค่เสียงก็อาจจะไม่พอแล้ว แต่ก่อนที่เราจะข้ามขั้นไปถึงเทคโนโลยีที่สามารถสั่งงานด้วยความคิด วันนี้ Google Assistant กับแบรนด์เสื้อผ้าชื่อดังอย่าง Levi ใช้ท่าทางหรือ Gesture ที่เป็นอีกหนึ่ง Communication tools ของมนุษย์ในการสั่งงานแล้วค่ะ

ด้วยเทคโนโลยี Jacquard ของ Google ที่พัฒนาออกมาในรูปแบบ tag รีโมตอันเล็กในเสื้อแจ็กเกตของ Levi ทำให้เราสามารถเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนของเราผ่าน App และสั่งงานมันด้วยการปัดมือไปมาบนเสื้อแจ็กเกตได้เลย ไม่ว่าจะเป็นการรับสายโทรศัพท์ เปลี่ยนเพลง ถ่ายรูป หรือแม้กระทั่งหากคุณลืมมือถือไว้ที่ไหน จะมีไฟสีแดงขึ้นมาที่เจ้า Tag Jacquard ที่ปลายแขนเสื้อด้วยค่ะ ใครที่มีเสื้อตัวนี้แล้วก็ระวังอย่าไปปัดนู้นปัดนี่คนเดียวอยู่ข้างนอก เพราะคนอื่นอาจคิดว่าคุณกำลังวาดสเต็ปการเต้นอยู่ก็ได้นะคะ

เห็นแบบนี้แล้ว นี่เชื่อว่าในไม่ช้าเราก็คงได้เห็นอะไรอีกหลายๆ อย่างที่เราสามารถสั่งงานได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องพึ่ง External device ชิ้นที่ 3 อีกแล้ว อย่างโซฟาเปลี่ยนช่องทีวี หรืออาจจะเป็นกำแพงที่เราสามารถปัดขึ้นลงเพื่อเปิดปิดไฟตรงไหนของกำแพงก็ได้เป็นต้นค่ะ

2. Augment ให้ชีวิตดีเพิ่มขึ้น

คนถ่ายภาพมากขึ้น ไม่ใช่แค่เก็บความทรงจำแต่เพื่อบันทึกความรู้ หรือสิ่งที่อาจจะลืม

AI Tech จะช่วยให้คนเราง่ายขึ้นไม่พอ มันต้องมีชีวิตที่ดีเพิ่มขึ้นด้วย อย่างทุกวันนี้ต้องบอกว่าแทบทุกคนไม่ได้ถ่ายรูปเพื่อเก็บความทรงจำอย่างเดียว แต่หลายๆ ครั้งมันคือการที่เราถ่ายไปเพื่อ Take Note อย่างช่องจอดรถที่เราไปจอด หรือสไลด์อาจารย์ที่กำลังสอนตรงหน้า และจากพฤติกรรมเหล่านี้ ทำให้ Google เองนำมาต่อยอดกับ Existing Tech ตามเคยค่ะ จนกลายเป็น Google Lens / Google Shopping ต่างๆ ที่ช่วยให้คนเราสามารถหาข้อมูลจากภาพได้เลย

อย่างเจ้า AI Tech ของ Google Shopping ที่เพียงแค่ยกมือถือไปที่ภาพสินค้า คุณก็สามารถส่องดูรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับสินค้านั้นๆ ได้เลย ไม่ต้องไปหาเพิ่มอีกแล้ว ง่ายชนิดที่ว่า ไม่รู้ว่าต่อไปมนุษย์เราจะได้ขยับร่างกายกันอีกไหมนะคะ และข้อมูลที่สามารถดูได้นั้น ไม่ได้มีแค่ราคา สถานที่ซื้อ แต่ยังมีรีวิวที่คนชอบมองหาก่อนซื้อสินค้าด้วย

Google AI Tech พัฒนามากขึ้นใน Google Maps หรือ GPS ออกมาเป็น Google AR

อีกหนึ่งการใช้งานของ AR ที่ Google เอามาใช้ด้วยก็คือตัว GPS ค่ะ เพราะต่อไปนี้เราจะไม่ต้องเปิด Maps ขึ้นมาเวลาเราหลง แล้วหมุนตัวแบบเต้นบัลเล่ต์เพื่อหาทิศอีกแล้ว เราแค่ยกมือถือขึ้นมาส่องถนนหรือสี่แยกข้างหน้า ลูกศระ AR ก็จะ Pop-up ขึ้นมา เพื่อบอกคุณเลยว่าถนนข้างหน้าคือเส้นไหน แล้วคุณต้องเลี้ยวไปทิศทางใด เอาเป็นว่าต่อไปนี้ถ้าคุณโผล่ออกจากรถไฟฟ้าดินแล้วหลงทิศ หลงเส้นถนน แค่ยกมือถือเอาก็พอแล้วค่ะ

3. Accelerate แก้ปัญหาได้รวดเร็วขึ้น

ในปี 2018 ที่ผ่านมา Google ได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลราชวิถี แผนกจักษุ เพื่อใช้ AI ของ Google ในการตรวจจับผู้เสี่ยงป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตา เพราะโรคนี้หากรู้เร็วสามารถรักษาได้ แต่หากรู้ตัวช้าจะพาไปสู่ปัญหาตาบอดได้ จาก Pain Point ที่ประเทศไทยมีจำนวนประชากรที่มีความเสี่ยงเป็นโรคนี้ประมาณ 4-5 ล้านคน แต่กลับมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้เพียง 1,400 คนเท่านั้นในไทย ทำให้ AI ของ Google ที่เข้ามานั้นสามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วขึ้นค่ะ โดยความแม่นยำในการตรวจของ AI และ Machine Learning ของ Google นั้นมีความแม่นยำสูงถึง 97% เมื่อเทียบกับความแม่นยำของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพบว่ามีเพียง 74% เท่านั้น เห็นแบบนี้แล้ว อีกหน่อยเวลาไปโรงพยาบาล คนไข้ต้องเรียกร้องขอตรวจกับ AI ก่อนไปถึงมือหมอแน่ๆ ค่ะ

Abu Qader และการใช้ Google AI Tech ในการพัฒนาเครื่องตรวจมะเร็งเต้านมความแม่นยำสูง

นอกจากเคสของโรงพยาบาลราชวิถีแล้ว ยังมีอีกหลายๆ เคสที่ใช้ AI Tech และ Machine Learning ของ Google จนสามารถแก้ไข้ปัญหาได้เร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีของเด็กวัยรุ่นอย่าง Abu Qader ที่เขียนโปรแกรม AI บนอากู๋จนสำเร็จออกมาเป็นเครื่องมือช่วยเหลือแพทย์ในการตรวจจับและวินิฉัยก้อนเนื้อที่เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมได้ หรือกรณีของ Google AI Tech ที่ช่วยตรวจจับดาวเคราะห์ได้เพิ่มขึ้น เอาแบบที่เรียกว่า NASA เองก็ยังหาไม่เจอเลยค่ะ

ทั้งหมดนี้ก็คือ Model 3As ของ Google ที่นำเอา AI และ Machine Learning มาใช้ให้เป็นประโยชน์ ประเด็นสำคัญคือเราต้องทำให้เทคโนโลยีเหล่านี้อยู่กับมนุษย์เราได้อย่างเป็นธรรมชาติมากที่สุด และระวังอย่าให้เราจมลงไปอยู่กับเทคโนโลยีพวกนี้ แต่กลับกันคือ เราต้องให้เทคโนโลยีเหล่านี้จมเข้ามาในชีวิตของเราแทนค่ะ ถ้าเราใช้ AI หรือ Tech พวกนี้ดีๆ เราก็จะได้เห็น Experience ใหม่ๆ ที่มนุษย์อย่างเดียวมองไม่เห็นเลยค่ะ

อ่านเรื่องอื่นๆ >> จากงาน Marketing Oops Summit 2020 โดยการตลาดวันละตอน

Source: Google AR จาก https://arvr.google.com/ar/

Plearn Wisetwongchai

Marketing Strategic Planner ในเครือการตลาดวันละตอน | A Creator สาวพลัสไซส์ @Fabfatkid | A Travel Lover ที่หมดเงินเกือบ 80% ไปกับการเดินทางแบบแมสๆ | An Instagrammer @theplearn ที่ชอบเล่น Story เป็นชีวิตจิตใจ | สุดท้ายคือ Data Researcher ทั้ง Social และ Search Data etc. ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่