สัมผัสทั้ง 5 มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค จริงหรือไม่ ? ‘100 Humans’ – EP. 7

สัมผัสทั้ง 5 มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค จริงหรือไม่ ? ‘100 Humans’ – EP. 7

นี่ก็เป็น Episod 7 ของรายการเรียลลิตี้ ‘100 Humans’ แล้วค่ะ จากตอนที่ผ่านๆ มา มีการทดลองให้เห็นความแตกต่างของพฤติกรรมมนุษย์มากมาย ซึ่งใน Episod นี้ก็เช่นกัน มีเนื้อหาเกี่ยวกับ สัมผัสทั้ง 5 ของคนกับการตัดสินใจ โดยที่รายการได้ตั้งสมมุติฐานไว้ เพื่อให้เห็นว่าจริงๆ แล้ว สิ่งที่เราคิดกับสิ่งที่คนอื่นคิด จะตรงกันไหม?

Episode 7 สัมผัสทั้ง 5 มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค จริงหรือไม่ ? เป็นการทดลองเกี่ยวกับการดมกลิ่ม การมองเห็น การได้ยินเสียง การสัมผัส และการรับรส ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีความสอดคล้องหรือผลส่งอย่างไรกันบ้าง มาดูกันค่ะ

คำถามที่ 1 : คนแก่หรือผู้สูงอายุมีกลิ่นตัวแปลกๆ จริงหรือ?

ใครว่ากลิ่นเดาง่ายบ้างๆ จากข้อนี้ ทีมงานได้จัดคนมา 2 กลุ่ม ด้วยกัน นั่นก็คือกลุ่มวัยรุ่น และ วัยชรา มาให้ผู้ทดลอง 100 คน ได้ดมกลิ่นตัวของทั้งสองฝ่าย แล้วให้เดาว่ากลิ่นไหนเป็นของคนกลุ่มไหน

ซึ่งได้ทดลอง 2 รอบ เพราะกลิ่นอาจจะไม่แรงพอให้คนดมรับรู้ได้ จึงให้พวกเขาออกกำลังกายให้กลิ่นออกมามากขึ้นในรอบที่ 2 แล้วดมกันอีกครั้ง จะได้เห็นผลการทดลองชัดเจนขึ้น

สำหรับผลการทดลองข้อนี้ในรอบแรก มีเพียงผู้ทดลองส่วนหนึ่งเท่านั้นที่แยกกลิ่นได้ถูกต้อง แต่ยังไม่เห็นความแตกต่างมากพอ จึงมีผลการทดลองรอบ 2 เกิดขึ้น และผลก็แตกต่างกันชัดเจนมากว่าคนสามารถแยกกลิ่นระหว่างคนวัยชรากับวัยรุ่นได้มากถึง 92%

ในข้อนี้นักการตลาดสามารถนำไปปรับใช้ได้ อย่างเช่น การสร้างบรรยากาศในร้าน ถ้าหากคุณมีหน้าร้าน เพราะ กลิ่น ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย แล้วสามารถแยกได้ว่าคนที่จะเข้าร้านของคุณเป็นคนกลุ่มไหน 

จากข้อมูลทำให้ปลื้มนึกถึงหลายๆ แบรนด์ เวลาเดินห้าง แต่ละร้านจะมีกลิ่นเฉพาะ อย่าง H&M / Uniqlo หรือ Zara ก็จะมีกลิ่นที่ให้ความรู้สึกเวลาที่ไปเลือกซื้อเสื้อผ้าที่ต่างกัน ไม่รู้ว่าปลื้มคิดไปเองหรือเปล่า ว่ามันจะกลิ่นความสนุก กลิ่นความสบาย ผ่อนคลาย ที่ทำให้เราชอปเพลิน และมีส่วนทำให้ตัดสินใจซื้อเพิ่มขึ้นค่ะ

คำถามที่ 2 : เสียงส่งผลต่อพฤติกรรมของเราได้หรือไม่?

โดยการทดลองข้อนี้ ทีมงานได้แบ่งผู้ทดลองเป็น 2 ฝั่ง ฝั่งที่ 1 เปิดเพลงเศร้า ฝั่งที่ 2 เปิดเพลงสนุกสนาน แล้วจากนั้นก็ให้แต่ละคนออกมาทดสอบความกล้ากันกับนักปามีดที่มีความแม่นถึง 99% มาวัดใจว่าพวกเขาจะยอมเสี่ยงเป็นเป้าหรือไม่ แต่จริงๆ แล้วไม่การปามีดใส่คน เป็นแค่การจัดฉากขึ้น เพราะขีดจำกัดของนโยบายในรายการเรื่องประกันภัยความรับผิดชอบชีวิต จึงเลี่ยงความเสี่ยงทั้งหมด

สำหรับผลการทดลอง ปรากฏว่าเสียงส่งผลต่อพฤติกรรมของเราได้จริงๆค่ะ กลุ่มคนที่ฟังเพลงสนุกสนาน กล้าที่จะเสี่ยง กล้าที่เล่น แต่กลุ่มที่ฟังเพลงเศร้า กลับไม่กล้าที่จะลองเสี่ยง Say No กับการวัดใจในครั้งนี้ ซึ่งผลการทดลองก็มีความแตกต่างกันชัดเจนอีกด้วยค่ะ

เสียงสามารถทำให้คนเปลี่ยนพฤติกรรมได้จริงๆ สังเกตง่ายๆ จากการ การด่าทอ ต่อว่า หรือ การยกยอ ชื่นชม ใน EP. 5 เพราะเสียงทำให้คนเศร้า หดหู่ โมโห มีความสุข สนุกสนาน หรือแม้แต่การผ่อนคลาย ล้วนแล้วแต่มีอิทธิพลกับอารมณ์ของคนทั้งสิ้น

ซึ่งข้อนี้นักการตลาด ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อีกเช่นเคย พลังของเสียง กับการบริการของแบรนด์ การใช้พนักงานในการพูดคุยติดต่อกับลูกค้า จะส่งผลดีหรือไม่ดีกับแบรนด์ก็ขึ้นอยู่กับพวกเขาว่าสามารถทำให้ลูกค้าประทับใจได้มากเพียงใด ก็มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้าเช่นกัน ดังนั้น เราจึงต้องสร้างความเข้าใจกับพนักงาน ในส่วนของแบรนด์เองและการสื่อสารกับผู้บริโภคที่เหมาะสมค่ะ 

คำถามที่ 3 : เพลงมีผลต่อรสชาติหรือไม่?

สำหรับข้อนี้เป็นการทดสอบเกี่ยวกับการลิ้มรส โดยทีมงานได้แบ่งผู้ทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม 1 นั่งรับประทานอาหารพร้อมกับฟังเพลงจากเครื่องดนตรี Tuba เสียงทุ้มต่ำ กลุ่ม 2 นั่งรับประทานอาหารเช่นเดียวกันแต่ฟังเพลงจากเครื่องดนตรี Piccolo เสียงแหลมสูง และกลุ่มที่ 3 นั่งรับประทานอาหารแบบไม่มีเสียงโดยการดูการแสดงละครใบ้ 

โดยอาหารที่ได้กล่าวไปก็จะมี แครกเกอร์ น้ำแครนเบอร์รี่ และช็อกโกแลต ซึ่งทีมงาน จะให้ผู้ทดลองทั้งหมด 100 คน ประเมินรสชาติอาหารที่ทาน จากรสชาติขมไปหวาน เพื่อบันทึกผลและดูความแตกต่างที่เกิดขึ้นค่ะ

ทั้งนี้ทำให้ผลการทดลองออกมาเป็น รสชาติของอาหารแต่ละอย่างเริ่มจากแครกเกอร์ค่ะ กลุ่มที่ฟัง Piccolo รู้สึกว่าแครกเกอร์มีรสชาติหวานมากที่สุด เมื่อเทียบกับอีก 2 กลุ่ม ที่เลือกความหวานน้อยกว่า ส่วนน้ำแครนเบอร์รี่ กลุ่มที่ฟัง Tuba รู้สึกว่าน้ำมีความหวานมากที่สุด 

และสุดท้ายช็อกโกแลต เป็นข้อที่ไม่ค่อยมีผลสักเท่าไหร่ เพราะคำตอบของ 2 กลุ่มแรก อยู่ในระดับขมมากที่สุด และมีคำตอบที่เท่ากัน ส่วนกลุ่มที่ 3 ให้คะแนนช็อกโกแลตมากกว่า 2 กลุ่มแรกไปแค่ 1 คะแนนเอง แต่ทั้งหมดนี้ก็แสดงให้เห็นว่า เสียงเพลงและละครใบ้ มีผลต่อการรับรสของพวกเขา 

สำหรับข้อนี้มีผลมากกับเจ้าของธุรกิจอาหาร ที่เปิดร้านอาหาร การเปิดเพลง คลอไปในร้าน ต้องเลือกเพลงดีๆแล้วล่ะค่ะ เพื่อให้อาหารที่ทำมามีรสชาติที่ดีไปพร้อมกับเพลงที่เปิดให้ลูกค้าฟัง 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับ 3 สมมติฐานที่รายการเลือกมาจากสัมผัสทั้ง 5 นั้นมีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค แน่นอนค่ะ เพราะเวลาเลือกซื้อของ ผู้บริโภคอย่างเราก็ต้องดูสินค้าให้ดี ถึงจะตัดสินใจซื้อในที่สุด

นี่ก็ยังเป็นเพียงส่วนหนึ่งใน Episode 7 สำหรับรายการ ‘100 Humans’ ของ Netflix เท่านั้น ใครที่เพิ่งมาอ่านสามารถย้อนไปอ่านตั้งแต่  EP.1 – EP.6 กันได้เลยนะคะ ปลื้มขอย้ำอีกครั้งว่าผลการทดลองมีความเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับการตั้งข้อสันนิฐานและทำการทดลอง ที่จะทำให้เราสามารถได้เข้าใจพฤติกรรมของคนได้มากขึ้น Episode ถัดไปเป็นตอนสุดท้ายแล้ว รอติดตามในเพจการตลาดวันละตอน รวมถึง Twitter และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนได้เลยค่ะ

Yoswimol

🎡PLEUM | Data Research Executive ในเครือการตลาดวันละตอน | สนใจเรื่องการตลาด ชอบดูการแข่งขันทางการตลาด และเป็นทาสตลาด... ทุกบทความตั้งใจเขียนมาก ขอบคุณที่เข้ามาอ่านกันนะคะ มันเป็นกำลังใจที่ทำให้อยากเขียนต่อไปเลย☺️

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่