กลยุทธ์ SUSHIRO ใช้ AI & Data tech ‘CI Tag’ จับเวลาซูชิบนสายพาน

กลยุทธ์ SUSHIRO ใช้ AI & Data tech ‘CI Tag’ จับเวลาซูชิบนสายพาน

กลยุทธ์ SUSHIROใช้ AI & Data tech ‘CI Tag’ จับเวลาซูชิบนสายพาน

เวลานี้ใคร ๆ ก็รู้จัก SUSHIRO แบรนด์ซูชิสายพานชื่อดัง ที่มียอดขายอันดับ 1 ในญี่ปุ่น เข้าไทยมาได้ซักพักแล้ว และได้รับเสียงตอบรับดีมาตั้งแต่แรกจนปัจจุบัน 

แล้วอะไรคือกลยุทธ์เบื้องหลังความสำเร็จ ที่เป็นจุดสำคัญที่พา SUSHIRO มาถึงจุดนี้ได้ล่ะ? มากกว่าความแปลกใหม่ที่เสิร์ฟซูชิบนสายพาน หรือมีรถไฟจิ๋วเสิร์ฟแบบด่วน ๆ ให้แต่ละโต๊ะแล้ว การควบคุมคุณภาพวัตถุดิบผ่านเทคโนโลยีที่น่าสนใจค่ะ และการพัฒนา Consumer Experience เพื่อให้บริการลูกค้าอย่างเท่าทันยุคสมัย เราลองมาวิเคราะห์ไปพร้อม ๆ กันนะคะ

ใช้เทคโนโลยี CI TAG และ Big Data บริหารร้านในเครือ

การบริหาร จัดการร้านให้สามารถเสิร์ฟซูชิได้สดใหม่ และมีคุณภาพ คือการใช้ CI Chip ควบคุมระยะเวลาที่จานอยู่บนสายพานค่ะ นุ่นได้ขออ้างอิงบทวิเคราะห์จากคุณเต่า @bongtao มาเพิ่มเติมเพื่อให้นักการตลาดได้อ่านข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วนมากขึ้นด้วยค่ะ มาเริ่มกันเลย

เจ้า CI Tag ตัวนี้ถูกฝังอยู่ใต้จาน ทุกจานในร้านเลยค่ะ และจะทำหน้าที่เป็นตัวเช็กข้อมูลว่ามีซูชิวิ่งบนสายพานกี่จาน โต๊ะใดหยิบไปแล้วบ้าง หยิบไปกี่จาน ที่สำคัญคือหากซูชิอยู่ยนสายพาน ร้านจะสามารถรู้ระยะเวลาที่น้องค้างอยู่ได้เลยค่ะ หากจานหมุนไปเกิน 350 เมตรก็จะถูกดีดออกตามในภาพ เพื่อรักษาความสดใหม่

นอกจากนี้ข้อมูลจาก IC Tag จะส่งเข้าไปที่ระบบ Supply Instructions System ในครัว เพื่อวิเคราะห์และทำนายล่วงหน้าได้ว่า ตอนนี้เมนูไหนขายดี ต้องส่งไปเพิ่มในสายพานกี่จาน รวมไปถึงการเดาลูกค้าว่าถ้ากินซูชิอย่างนึงแล้ว คำต่อไปควรจะเป็นหน้าอะไร

อันนี้ว้าวจริงค่ะ… หมายความว่าซูชิที่เราเห็นกัน และกินกันอยู่ในร้านไม่ได้คาดเดาแบบมั่ว ๆ นะ เค้าใช้สถิติข้อมูลมาแล้วค่ะว่าควรปั้นอะไรเสิร์ฟลงสายพาน ทำแบบนี้ร้าน SUSHIRO จึงสามารถลด food waste ลงไปได้จาก 10% จนเหลือแค่ 4% ถือว่าน้อยมากในการเสิร์ฟอาหารแบบนี้ค่ะ

คุณเต่ายังวิเคราะห์ไว้เพิ่มเติมอีกว่า “ซึ่งด้วยจำนวนซูชิที่ Sushiro ขายได้รวมกันหลายล้านจานในแต่ละปี ข้อมูลที่ได้จาก IC ใต้จานนั้นมหาศาลเป็น big data ของแท้ infrastructure ที่รองรับข้อมูลนี้ เป็นของค่าย Amazon Web Service นี่เอง

ถือเป็นการใช้ Tech เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นที่นุ่นหยิบมาเล่า เชื่อว่าหลังบ้านยังมีอะไรเจ๋ง ๆ เกี่ยวกับการบริหารและขนส่งวัตถุดิบที่แข็งแกร่งของ Sushiro ที่เรามองไม่เห็นอีกแน่นอน เชื่อว่านักการตลาดคงมองภาพการใช้ Big data จากเทคที่ปรับใช้กับอุปกรณ์ภายในร้าน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การบริหาร ให้มีความยิ่งยืน จนขึ้นเป็น No.1 ในญี่ปุ่นได้

ทั้งนี้ปลายทางที่สำคัญไม่แพ้กันคือการนำข้อมูลมาปรับใช้ต่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดเรื่อย ๆ ทุกสาขา และทุกประเทศด้วยค่ะ

Application จองคิวเพื่ออำนวยความสะดวกลูกค้า

สิ่งหนึ่งที่นุ่นชอบเมื่อเข้าไปเยี่ยมชม Website ของ Sushiro คือการมีปุ่มจองคิว เพื่อแก้ปัญหาลูกค้ารอหน้าร้านนาน ๆ แล้วมี Application รองรับค่ะเป็น กลยุทธ์ Sushiro เพื่อเอาใจลูกค้า บริการไม่ให้เสียลูกค้าที่ไม่มีเวลามานั่งรอนาน ๆ ให้จองล่วงหน้าได้เลย

หากแบรนด์ใดที่ยังไม่พร้อมให้บริการแอปด้วยตัวเอง ลองใช่ระบบตัวกลางจากเจ้าอื่น ๆ ที่ให้บริการอยู่ เหมือนกับร้าน ปิ้งย่างของชาว Introvert และคนชอบ Fast Casual :​ Yakiniku Like ที่ใช้ระบบ QuqQ ค่ะ

ส่อง Social Media content SUSHIRO THAILAND

อีกนิดนึงเกี่ยวกับ Social Media content ของ SUSHIRO THAILAND ที่ทำออกมาได้ดีและน่าสนใจ คือมีกินเมนูซูชิตามวัน เสริมดวงความเฮง 2566 สำหรับลูกค้าที่เป็นสายมู และไม่มู ต่างก็เห็นแล้วอมยิ้มนิด ๆ ค่ะ

กับแบรนด์หรือสินค้าอื่น ๆ ก็เล่นได้ ลองเอาไปใช้ดูนะคะ

ส่อง Crisis ล่าสุดที่แบรนด์เจอ

เมื่อไม่นานมานี้ Sushiro เจอปัญหาอย่างหนักผ่านการเล่นแปลก ๆ ของชาวนักคอนเทนต์ญี่ปุ่นค่ะ เป็นช่องโหว่ของการมีของให้ใช้ร่วมกัน ไม่ใช่แค่กับซูชิโร่ แต่อาจจะเกิดขึ้นได้กับทุกร้านเลย แม้ล่าสุดจะมีการประกาศทำความสะอาดและเปลี่ยนขวดโชยุแล้ว หุ้นก็ยังล่วงหนักค่ะ และร้านยังได้ปรับให้ลูกค้าต้องไปหยิบแก้วที่จุด ที่กำหนดไว้เท่านั้นค่ะ

ลูกค้าที่มาใช้บริการมีการขอตะเกียบใหม่จากพนักงานโดยตรง และบริษัทยังยืนกรานที่จะดำเนินคดีตามกฏหมายกับนักคอนเทนต์ที่มาป่วนร้าน

นุ่นคิดว่าไม่นานหากลูกค้ายังไม่สบายใจอยู่อาจต้องหักดิบ เปลี่ยนจากโชยุขวด เป็นแบบซอง ถ้าจะขอแก้วก็ให้พนักงานเป็นคนเอามาให้เองเหมือนร้านอื่น ๆ แล้วเก็บ Service Charge ทางลูกค้าก็น่าจะเข้าใจค่ะ

กลยุทธ์ SUSHIROใช้ AI & Data tech ‘CI Tag’ จับเวลาซูชิบนสายพาน

ทั้งหมดนี้คือ กลยุทธ์ SUSHIRO และ Crisis ล่าสุดมาพูดคุยกับนักการตลาดค่ะ ใครมีมุมมองอยากแชร์ สามารถคอมเมนต์เข้ามาใต้โพสต์ได้เลยนะคะ ยินดีพูดคุยและแลกเปลี่ยนมาก ๆ เพราะเป็นอีกแบรนด์ที่ทานบ่อยค่ะ

และอย่างที่เราทราบกันว่าความเจ๋งของ IC Tag ที่จะเป็นตัวสำคัญ รวบรวม Big Data ให้แก่ร้าน ส่งข้อมูลเข้าไปที่ระบบ Supply Instructions System ในครัวเพื่อวิเคราะห์เมนูให้พ่อครัวล่วงหน้า ไม่แค่ลด Food waste ที่เป็นตัวลดกำไรให้ธุรกิจร้านอาหาร แต่ยังทำให้อาหารบนสายพานตรงใจคนกินโดยยึดหลักความสดใหม่ของวัตถุดิบค่ะ

หวังว่าทุกคนจะสนุกกับ Case Study จาก SUSHIRO ในวันนี้นะคะ บทความหน้าอยากอ่านแบรนด์ไหนแวะมาแปะกันในคอมเมนต์ได้เลยน้า

บทควาทที่แนะนำให้อ่านต่อ

source

source

Noon Inch

นุ่น Business Data Research Analyst Specialist | Martech 🙋🏻‍♀️💻ใช้ชีวิตอยู่กับ Social Listening Tools เกือบทุกวันมาร่วม 6 ปี 🙋🏻‍♀️📈ทำงานด้าน Social Data Research ให้กับหน่วยงานรัฐและแบรนด์เอกชน 6 ปี 🙋🏻‍♀️✈️ชอบทำงานและชอบใช้เงิน แล้วก็เป็น K-POP🇰🇷 & Salmon Lover 🍣

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน