กลยุทธ์ Concentric Diversification โต๊ะจีน MK ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้

กลยุทธ์ Concentric Diversification โต๊ะจีน MK ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้

กลยุทธ์ Concentric Diversification โต๊ะจีน MK ที่มีบริการมานานแล้ว แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้

นอกจากวลี กินอะไร กินอะไร กินอะไร ไปกินเอ็มเคแล้ว ร้านสุกี้ที่เป็นร้านโปรดของครอบครัวหลาย ๆ คน รวมทั้งของนุ่นด้วย ไม่ใช่แค่การหอบพ่อแม่ญาติผู้ใหญ่ไปทานที่ร้านหรือสั่งเป็นชุด Delivery ได้เท่านั้น แต่ทุกคนทราบไหมคะว่าเราสามารถจัดถวายเลี้ยงพระแบบเก๋ ๆ หรือจะใช้บริการโต๊ะจีนจากร้าน MK ได้ด้วย เราจะได้ทั้งอาหารที่ถูกปาก และพนักงานเสิร์ฟที่รู้งาน ระดับ MK Service นี่ไม่ต้องลุ้นเลยว่าจะเจอสตาฟหน้าบูด หรือลุ้นว่าเป็ดจะแข็งไหม ซึ่งบริการนี้เป็นบริการที่มีมานานแล้วนะคะ

บางท่านอาจจะมีความเห็นว่ามันก็แค่การเพิ่มอีก 1 Service Line ของร้านอาหารหนิ ไม่ถึงขนาดที่จะเรียกว่า Diversification ได้หรอกมั้ง แต่ส่วนตัวนุ่นคิดว่าเคสนี้สามารถเป็นตัวอย่าง และจุดประกายไอเดียให้แก่ธุรกิจเล็กใหญ่ในบ้านเราได้ลองศึกษาและเข้าใจกลยุทธ์นี้มากขึ้นนะคะ

Concentric Diversification Strategy

Concentric Diversification Strategy หรือกลยุทธ์กระจายตัว หรือก็คือวิธีการขยายกิจการจากจุดแข็งเดิม ทรัพยากรของแบรนด์ สู่ธุรกิจใหม่ หรือสิ่งที่เรามีดีอยู่แล้ว ขยายให้โลกรู้ในรูปแบบอื่น ๆ เพิ่ม

บางตำราได้อธิบาย Concentric Diversification ไว้ว่าต้องเป็นสินค้าใหม่และลูกค้าใหม่ แต่จริง ๆ เอ็มเคเค้าก็ขายสุกี้เหมือนเดิมนี่แหละค่ะ เพียงแต่จัดเซ็ตให้เหมาะกับรูปแบบใหม่ ๆ เลี้ยงพระ เลี้ยงเจ้าภาพ เลี้ยงแขกในงาน หรือจัดโต๊ะจีน ได้ทั้งลูกค้าประจำของร้าน MK และลูกค้าใหม่ที่ไม่เคยไปทานที่ร้านเลย

ซึ่งบทความนี้ก็มีต้นตอมาจากที่นุ่นเจอคลิปดังบน TikTok ที่ทำให้อยากหยิบมา Highlight เป็นตัวอย่าง Case Study หนึ่งของ กลยุทธ์​ MK Restaurants ในฐานะแฟนตัวยงของแบรนด์ ที่ต้องสั่งมาทานอย่างน้อยเดือนละสองครั้งผ่าน App Delivery สีเขียวด้วยแล้วล่ะก็ รู้สึกหิวและเขียนเคสอย่างสนุกมากเลยค่ะ ใครยังไม่เคยดูคลิปก็มาดูพร้อมกันได้เลยนะ

มิติใหม่ของการเลี้ยงพระ MK มาจัดให้ถึงวัด

@ernbeamthefoodie

มิติใหม่ของการเลี้ยงพระ อิ่มท้องอิ่มบุญกันไปเล้ยยย #mk #mkcatering #tiktokพากิน #ernbeamthefoodie #tiktokพากินอาหาร

♬ original sound – ernbeamthefoodie – ernbeamthefoodie

คลิปแรกจากผู้ใช้ TikTok คุณ @ernbeamthefoodie  ที่แชร์ว่าเป็น FC ตัวยงอยู่แล้ว สั่ง MK มาเลี้ยงพระที่วัด เราไม่ต้องทำอะไรเลยค่ะ เพราะเค้าขนมาหมดทั้งอุปกรณ์ อาหาร พนักงานและการบริการ ทำให้การจัดเลี้ยงพระ 30 รูป เพราะที่บ้านมีบวชพระใหม่ค่ะ ทำให้เสิร์ฟกันแบบร้อน ๆ เพราะมาปรุงสุกให้พร้อมทานที่หน้างานเลย

กลยุทธ์ MK
ตัวอย่างภาพการจัดเลี้ยงพระโดย MK kaijeaw.com

ด้านราคา เริ่มต้นการจัดเลี้ยงที่ 2,600 บาทต่อโต๊ะ ส่วนเจ้าของคลิปได้สั่งมาในราคา 2699 บาท จำนวน 5 ชุด ถ้าคิดค่าบริการและอุปกรณ์จากร้านเลยนุ่นคิดว่าคุ้มเวอร์ค่ะ และคิดว่าเราสามารถเพิ่มเติมเมนู จัดแต่งตามราคาได้เองแล้วแต่งานได้ด้วยแน่นอน

ลบภาพจำที่งานจัดเลี้ยงเจ้าภาพจะต้องหัวฟูวิ่งวุ่นไปเลยค่ะ ถือเป็นการเอาสิ่งที่ร้านขายอยู่แล้วทั้งไลน์อาหารและอุปกรณ์ อาจจะต้องมีการเทรนพนักงานเพิ่มสำหรับการจัดเลี้ยงโดยเฉพาะเพิ่มขึ้นมา แต่ถือว่า กลยุทธ์ MK นี้คุ้มค่าเพราะสามารถสร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้จริง ๆ และทำให้เกิดการใช้บริการซ้ำมากกว่า 1 ครั้งได้สำเร็จ

ทำบุญบริษัท โต๊ะจีน MK

อีกรูปแบบหนึ่งคล้ายกับเวลาเราไปทานที่ร้านเลยค่ะ เป็นโต๊ะจีน MK ที่จัดการลวกสุกี้ได้เอง แต่ไม่ต้องหอบไปที่ร้าน ให้เค้ามาบริการที่ถึงบริษัทเลย และจะเห็นว่าบรรยากาศค่อนข้างชิลมาก จัดเบา ๆ 4-5 โต๊ะภายในได้สบายเลย

สำหรับใครที่อ่านบทความนี้แล้วสนใจอยากจะลองจัดเลี้ยงสไตล์ MK บ้าง ด้วยความที่บทความนี้ไม่มีสปอนเซอร์ เขียนเพราะความหิวส่วนตัวจริง ๆ ขอแนะนำให้ทักแชทไปที่เพจหลักของ MK Restaurants และขอติดต่อฝ่าย MK Catering เพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้เลยนะคะ

ตัวอย่างกิจการระดับโลกที่ใช้กลยุทธ์ Concentric Diversification 

Amazon

Amazon ที่เริ่มต้นเป็นร้านขายหนังสือออนไลน์แต่ต่อมาได้ขยายไปสู่การขายผลิตภัณฑ์และบริการอื่น ๆ ให้ลูกค้าช้อปปิ้งอย่างจุใจ หลากหลาย จุดมุ่งหมายหลัก แน่นอนว่าเพื่อให้ลูกค้าของ Amazon ได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มีอยู่เพื่อเข้าสู่ตลาดใหม่ เช่น การค้าออนไลน์ (e-commerce)  เครื่องมือคลาวด์ (cloud computing)  บริการสตรีมมิ่ง (streaming services) และแม้กระทั่งด้านสุขภาพ

Walt Disney Company

หลายคนน่าจะทราบดีว่าบริษัทที่เก่าแก่อย่าง Disney อยู่มาตั้งแต่นักวาดต้องวาดการ์ตูนทีละเฟรมเลย เพราะเค้าเริ่มต้นเป็นสตูดิโอการ์ตูนขนาดย่อมและได้ขยายกิจการไปยังอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ สวนสนุก และผลิตภัณฑ์บริการต่าง ๆ โดยใช้ทรัพย์สินทางปัญญาและเอกลักษณ์แบรนด์ Disney ที่ทำให้ทั้งเด็กเล็กและผู้ใหญ่หลงไหล เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์และประสบการณ์ใหม่ๆ สำหรับลูกค้าที่เป็นแฟนตัวยงอยู่แล้ว และดึงดูดลูกค้าใหม่เข้ามานั่นเอง บอกเลยว่านุ่นเองก็เป็นแฟนดิสนี่ย์ค่ะ ถึงจะเกิดไม่ทันยุคแรก ๆ ก็เถอะ

แนะนำสำหรับนักการตลาด

เป็นอย่างไรคะกับการแตกกลยุทธ์ผ่านเคสน่ารัก ๆ ของ MK ที่มีต้นตอมาจากคลิปบน TikTok ซึ่งนอกจากแบรนด์จะได้รับประโยชน์จากความดังและความเรียลในการรีวิวสินค้าและบริการจาก Content Creator เองแล้ว สิ่งที่อยากแนะนำคือเราต้อง Monitoring การพูดถึงบนโซเชียลอยู่ตลอด ไม่ว่าจะมีกระแสมาจากแบรนด์เราเอง หรือแบรนด์คู่แข่ง ให้รีบมี Action กลับเพราะแบรนด์จะได้รับผลดีมากกว่าผลเสียค่ะ

อย่างเคส CHARLES & KEITH เปลี่ยนดราม่าให้เป็นโอกาสที่ดี แบรนด์สามารถต่อยอด Positive voice ได้จากไวรัลที่ไม่ได้ตั้งใจ ไม่ได้เสียเงินจ้าง แต่ได้รับประโยชน์ทั้งด้านภาพลักษณ์และยอดขายกลับมา ยิ่งเราเจอกระแสเร็ว ก็จะยิ่งดีค่ะ

จะผ่าน Social Listening หรือเครื่องมือ Social Monitoring อื่น ๆ ก็ได้ทั้งหมด หากแบรนด์ยังไม่มีงบประมาณส่วนนี้ก็อาจจะเริ่มที่การสร้างแอคเคาท์บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพราะถ้ามีไวรัล ลูกค้าจะแท็กเรียกคุณมาเองค่ะ ลองดูน้า

บทความที่แนะนำให้อ่านต่อ

Noon Inch

นุ่น Business Data Research Analyst Specialist | Martech 🙋🏻‍♀️💻ใช้ชีวิตอยู่กับ Social Listening Tools เกือบทุกวันมาร่วม 6 ปี 🙋🏻‍♀️📈ทำงานด้าน Social Data Research ให้กับหน่วยงานรัฐและแบรนด์เอกชน 6 ปี 🙋🏻‍♀️✈️ชอบทำงานและชอบใช้เงิน แล้วก็เป็น K-POP🇰🇷 & Salmon Lover 🍣

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน